logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP


“จุรินทร์” เยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ อ.วารินชำราบ มอบยา เวชภัณฑ์ ถุงยังชีพ เครื่องกันหนาว

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34660

             เช้าวันนี้ (8 พฤศจิกายน 2553) ที่จังหวัดอุบลราชธานี นาย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพร้อมด้วยนายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะ เยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ชุมชนท่าบ้งม้ง และชุมชนเกตุแก้ว อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยเบื้องต้น ครอบครัวละ 5,000 บาท พร้อมมอบยา เวชภัณฑ์ ถุงยังชีพ เครื่องนุ่งห่มกันหนาว แก่ผู้ประสบภัย  ซึ่งชุมชนแห่งนี้ประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากมีผู้ประสบภัย 900  ครอบครัว  ขณะนี้มีอยู่ 170 ครอบครัวที่น้ำท่วมสูง ประมาณ 1 เมตร ได้อพยพมาอาศัยพักชั่วคราวที่ทางเทศบาลจัดเตรียมไว้ให้  จนกว่าน้ำจะลด


                นายจุรินทร์ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมหลังน้ำลดไว้ชัดเจน และสั่งการไปยังสำนักงานสาธารณสุขทั่วประเทศที่ประสบปัญหาน้ำท่วมแล้ว โดยมี 3  แผน 11 กิจกรรมที่ต้องฟื้นฟูสภาพหลังน้ำลด ดังนี้ 1. แผนการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เยียวยาทั้งสุขภาพกายและจิตใจประชาชนที่ประสบภัย 2. แผนควบคุมโรค ป้องกันไม่ให้โรคระบาดทุกพื้นที่ต้องทำให้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ 3. แผนสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูสภาพน้ำดื่มน้ำใช้ด้วยคลอรีน ส่วนน้ำขังต้องใช้สารอีเอ็มช่วยบำบัด  ในเรื่องขยะ สิ่งปฎิกูลที่ต้องไปฉีดพ่นยา ฆ่าหนอน แมลงวันและแหล่งเพาะพันธุ์ยุง   ซึ่งทุกพื้นที่ที่น้ำลดได้เริ่มดำเนินการบูรณาการการทำงานโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกับหน่วยงานในพื้นที่


                นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า สำหรับเรื่องภัยหนาว ได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการต้านภัยหนาวด้านการแพทย์และสาธารณสุข  ที่กระทรวงสาธารณสุข  กำหนดแนวทางการทำงาน และได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขทั่วประเทศ เร่งรณรงค์ให้ความรู้ประชาชนให้ดูแลตนเองให้พ้นภัยหนาว ซึ่งในปีที่ผ่านมามีประชาชนป่วยเป็นโรคปอดบวมเกือบ 1,000  ราย เสียชีวิต 340 ราย จากปอดบวมในช่างฤดูหนาว ปีนี้ตั้งเป้าลดจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตลงให้ได้มากที่สุด  โดยให้ออกรณรงค์ให้ความรู้ แจกอุปกรณ์เครื่องนุ่งห่มกันหนาวร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


                 รวมทั้งออกคำเตือนความเข้าใจผิดของประชาชนหลายเรื่องในการดูแลตนเองช่วงฤดูหนาว นำไปสู่การเจ็บป่วยและเสียชีวิต เช่น การดื่มเหล้า  ที่คิดว่าจะช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น แต่ในที่สุดจะตรงกันข้าม เพราะช่วยให้รู้สึกดีในช่วง 2-3 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นจะปัสสาวะบ่อย ทำให้ร่างกายขาดน้ำ เมื่ออาการหนาวจัดนำไปสู่การเสียชีวิตได้  การจุดไฟนอนในเต้นท์ เมื่อเผลอหลับไปไม่รู้ตัว ไฟที่จุดไว้จะทำให้เกิดกาซคาร์บอนไดออกไซค์ในเต้นท์  หลับไปแล้วทำให้เสียชีวิตได้   หรือการออกมานอนผิงไฟ โดยไม่มีเครื่องนุ่งห่มกันหนาว เมื่อไฟมอด อาจหนาวตายได้เช่นกัน

9 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์” สรุปความเสียหายจากน้ำท่วมของกระทรวงสาธารณสุขประมาณ 310 ล้านบาท

< Previous post ประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาโครงร่างงานวิจัย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด