logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

แนะขมิ้นชัน-ฟ้าทะลายโจรแก้น้ำกัดเท้า

Link  : http://www.thaipost.net/news/051110/29670

แพทย์แผนไทยแนะใช้ผงขมิ้นชัน-ฟ้าทะลายโจรละลายน้ำแก้ขัด รักษาแผลน้ำกัดเท้า หลัง สธ.พบผู้ป่วยสูงสุด

     พญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดจนทำให้มีผู้ป่วยเป็นโรคน้ำกัดเท้าจำนวนมากว่า ประชาชนได้รับยาน้ำกัดเท้าจากที่องค์การเภสัชกรรมผลิตจากใบพลู (พลูทีโน่) เป็นยาที่ใช้ได้ดีอยู่แล้ว แต่สำหรับประชาชนที่ยังไม่ได้รับแจกยาน้ำกัดเท้าสามารถใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน คือ ใช้ขมิ้นชันและฟ้าทะลายโจร โดยเฉพาะในภาคใต้จะมีขมิ้นชันมาก หาก รพ.ใดมีแคปซูลขมิ้นชันและฟ้าทะลายโจรก็สามารถแกะแคปซูลใช้ผงของขมิ้นชันและฟ้าทะลายโจรมาละลายน้ำ แปะเข้าไปที่บาดแผลที่เกิดจากน้ำกัดเท้า ก็สามารถช่วยรักษาบาดแผลที่เท้าได้

     ด้าน ภญ.อัญชลี จูฑะพุทธ รอง ผอ.ถาบันการแพทย์ไทย กล่าวว่า ทั้งขมิ้นชันและฟ้าทะลายโจรเป็นสมุนไพรที่สามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย แก้อักเสบ ช่วยสมานแผล ซึ่งสามารถใช้สมุนไพรทั้งสองชนิดหรือชนิดใดชนิดหนึ่งร่วมกับดินสอพอง หากในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงที่ประสบภัยน้ำท่วมนั้นสามารถใช้เปลือกของสมุนไพรที่มีรสฝาด เช่น เปลือกมังคุด ฝนกับน้ำปูนใสใช้ทาบริเวณที่เป็นแผลได้

     ทั้งนี้ฟ้าทะลายโจรเป็นยาที่ใช้ในการแก้ฝี แก้อักเสบ และรักษาโรคบิด การวิจัยด้านเภสัชวิทยาพบว่า ฟ้าทะลายโจรสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการเป็นหนองได้ และมีการศึกษาวิจัยของ รพ.บำราศนราดูร ถึงฤทธิ์ในการรักษาโรคอุจจาระร่วงและบิด แบคทีเรีย เปรียบเทียบกับเตตราซัยคลินส่วนเหง้าของขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ และมีฤทธิ์ในการขับน้ำดี 

     นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ผลการให้บริการตรวจรักษาผู้ประสบภัยที่ อ.หาดใหญ่ เมื่อวันที่ 1 พ.ย. พบผู้ป่วยทั้งหมด 1,053 ราย เป็นโรคน้ำกัดเท้าอันดับหนึ่ง รองลงมาคือไข้หวัดและบาดแผล ส่วนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 30 จังหวัดมีผู้เจ็บป่วยรวม 318,902 ราย ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้ามากที่สุดเช่นกัน.

5 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์” ระดม 28 ทีม พ่นยาฆ่าหนอน/ ไข่แมลงวัน ตามกองขยะทั้งในและนอกเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ พร้อมสั่ง 38 จังหวัดที่น้ำลด ให้เร่งป้องกันโรคระบาดให้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ทุกพื้นที่

< Previous post สธ.ตั้งวอร์รูมดูแลสุขภาพรับอากาศหนาวจัด ลดจำนวนคนเป็นปอดบวมตาย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด