logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สยอง…น้ำท่วมมา ระวัง โรคห่า เวอร์ชั่นใหม่ครองเมือง?

http://www.thairath.co.th/content/life/123179

โรคห่ามัจจุราชโหดฆ่ายกเมือง

สมัยนี้คนอาจจะไม่รู้ถึงความโหดของโรคนี้ นพ.เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ บอกว่าคำว่า ห่า เป็นภาษาโบราณ ทางการแพทย์เรียกว่า อหิวาตกโรค

หลายคนคิดว่าโศกนาฏกรรมโรคห่ามีแค่ในหนัง จริงๆ โรคนี้ไม่ใช่แค่เรื่องเล่า หลายเมืองในประเทศไทยกลายเป็นเมืองร้างเพราะโรคห่า สาเหตุหลักของโรคนี้คือแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Choler เป็นโรคระบาดชนิดหนึ่งที่มีแมลงวันเป็นพาหะในการนำเชื้อโรค เช่น น้ำท่วม แล้วคนขับถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในน้ำ หรือกินอาหารสุกๆ ดิบๆ และแมลงวันจะเป็นตัวนำเชื้อมาแพร่ต่อ โดยคนที่เป็นจะมีอาการท้องร่วง อาเจียน ร่างกายจะขับน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก ระยะเวลาฟักตัวผู้ที่ได้รับเชื้อนั้นจะเกิดได้ตั้งแต่ 24 ชั่วโมง ถึง 5 วัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะเกิดอาการภายใน 1 – 2 วัน
ทั้งนี้ อาการของ โรคห่า มีหลายระดับ…ระดับ 1. เป็นอย่างไม่รุนแรงกลุ่มนี้มักจะหายภายใน 1 วัน หรืออย่างช้า 5 วัน มีอาการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ วันละหลายครั้ง แต่จำนวนอุจจาระไม่เกินวันละ 1 ลิตร ในผู้ใหญ่อาจมีปวดท้องหรือคลื่นไส้อาเจียนได้ 2. เป็นอย่างรุนแรง อาการระยะแรก มีท้องเดิน มีเนื้ออุจจาระมาก ต่อมามีลักษณะเป็นน้ำซาวข้าว เพราะว่ามีมูกมาก มีกลิ่นเหม็นคาว ถ่ายอุจจาระได้โดยไม่มีอาการปวดท้อง และที่โหดไปกว่านั้นก็คือ บางครั้งอุจจาระจะพุ่งออกมาโดยไม่รู้สึกตัวมากถึง 1 ลิตรต่อชั่วโมง และจะหยุดเองใน 1-6 วัน ถ้าได้น้ำ และเกลือแร่ชดเชยอย่างเพียงพอ แต่ถ้าได้น้ำและเกลือแร่ทดแทนไม่ทันกับที่เสียไป จะมีอาการขาดน้ำอย่างมาก ลุกนั่งไม่ไหว ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีเลย อาจมีอาการเป็นลม หน้ามืด จนถึงช็อก ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

คุณหมอที่เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้นี้แนะนำวิธีที่ผู้ประสบภัยน้ำหลีกเลี่ยง โรคห่า ด้วยว่า ให้งดอาหารที่มีรสจัดหรือเผ็ดร้อน หรือ ของหมักดอง, ดื่มน้ำชาแก่แทนน้ำ บางรายต้องงดอาหารชั่วคราว เพื่อลดการระคายเคืองในลำไส้, ดื่มน้ำเกลือผง สลับกับน้ำต้มสุก ถ้าเป็นเด็กเล็กควรปรึกษาแพทย์ และถ้าท้องเสียอย่างรุนแรง ต้องรีบนำส่งแพทย์ด่วน
สิ่งที่คุณต้องคำนึงให้จงหนักเพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นโรคห่า 1. รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ และดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก ภาชนะที่ใส่อาหารควรล้างสะอาด ทุกครั้งก่อนใช้ หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง สุกๆ ดิบๆ อาหารที่ปรุงทิ้งไว้นานๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม 2. ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนกินอาหาร หรือก่อนปรุงอาหาร และหลังเข้าส้วม 3. ไม่เทอุจจาระ ปัสสาวะและสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำลำคลอง หรือทิ้งเรี่ยราด เพื่อป้องกันการแพร่ของเชื้อโรค 4. ระวังไม่ให้น้ำเข้าปาก เมื่อลงเล่นหรืออาบน้ำในลำคลอง 5. หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นอหิวาตกโรค และ 6. สำหรับผู้ที่สัมผัสโรคนี้ ควรรับประทานยาที่แพทย์ให้จนครบ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว

ย้อนความน่ากลัวของโรคห่า

แม้ว่าทางการแพทย์แผนปัจจุบันจะยืนยันว่า โรคห่า กับ อหิวาตกโรค คือโรคชนิดเดียวกัน แต่จากการค้นหาข้อมูลลึกลงไปจะพบข้อมูลจากหนังสือเล่มหนึ่งของ สุจิตต์ วงษ์เทศ ระบุเกี่ยวกับ โรคห่า ไว้อย่างน่าสนใจว่า โรคห่า ไม่ใช่ โรคอหิวาตกโรค อย่างที่หลายคนเข้าใจ
นักเขียน นักค้นคว้าชื่อดัง เล่าถึงความเป็นมาว่า เมื่อพ.ศ. 1893 สมเด็จพระรามาธิบดี เชื้อสายละโว้-อโยธยาศรีรามเทพ ในสมัยนั้นมี โรคห่า ระบาดจริง

แต่ไม่ใช่อหิวาตกโรคอย่างที่เข้าใจ หากเป็นกาฬโรค ซึ่งถ้าพิจารณาปรากฏการณ์ของโลกแล้ว จะพบว่าช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 19 (หรือหลัง พ.ศ. 1800) เกิดโรคระบาดที่ประเทศจีน แล้วกลายเป็นกาฬโรคระบาดไปทั่วโลก เพราะหนูเป็นพาหะอาศัยไปกับสำเภาบรรทุกสินค้า เอากาฬโรคไปแพร่ตามเมืองท่าต่างๆ ที่เรือแวะจอดด้วย

สุจิตต์ ยังอ้างอีกว่า มีหลักฐานว่ากาฬโรคจากเมืองจีนระบาดไปถึงตะวันออกกลางและยุโรประหว่าง พ.ศ. 1890-1893 เป็นเหตุให้มีผู้คนล้มตายนับล้านๆ คน จนยุโรปเกือบร้าง จะเห็นว่าช่วงเวลาที่กาฬโรคระบาดจากเมืองจีนไปถึงยุโรป ตรงกับเวลาในตำนานและพงศาวดารเรื่องพระเจ้าอู่ทองหนี โรคห่า แล้วสถาปนากรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1893
โรคห่ากาฬโรคเมื่อหลัง พ.ศ. 1800 นี่เอง ทำให้คนชั้นสูงมีอำนาจที่อยู่หนาแน่นในเมืองต่างก็ล้มหายตายจาก หลังจากนั้นคนกลุ่มใหม่มีอำนาจขึ้นแทน แล้วมีรัฐใหม่ๆ เกิดขึ้น

กาฬโรคจากเมืองจีนยังแพร่กระจายในสมัยหลังอีก เช่น สมัยรัชกาลที่ 5 กรุงรัตนโกสินทร์นี่เอง มีในเอกสารเก่า (สำเนาพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ขณะทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ร.ศ.116 พิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 14 ร.ศ.116) เรื่องห้ามเรือจากซัวเถาเข้ากรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2440 ว่า

กาฬโรค (คือโรคห่า) ได้เกิดขึ้นที่เมืองซัวเถานั้น……กำปั่นลำหนึ่งลำ ใดออกจากเมืองซัวเถาและจะเข้ามาในกรุงนี้ ต้องหยุดทอดสมอที่เกาะไผ่ในกำหนดเก้าวันเต็มแล้ว และถ้าแพทย์ได้ตรวจแจ้งว่ากาฬโรค……ไม่ได้มีและได้ เกิดในเรือนั้นแล้ว จึงจะยอมให้กำปั่นลำนั้นเดินต่อไปจนถึงที่จอดในกรุงนี้ได้

อย่างไรก็ดี นอกจากข้อมูลใหม่ของสุจิตต์ แล้วยังมีผู้เชี่ยวชาญมากมายได้ตั้งข้อสันนิษฐานอีกมุมหนึ่งเกี่ยวกับ โรคห่า นี้ ไว้อย่างน่าสนใจไม่น้อยด้วยว่า โรคห่า ไม่น่าจะหมายความถึง อหิวาตกโรคแต่เพียงอย่างเดียว หมายถึง โรคระบาดร้ายแรงอย่างอื่นๆ ที่ทำให้มีคนเสียชีวิตมากๆ คนโบราณถึงได้มีสำนวนว่า “ห่าลง” และ “ห่ากิน” ซึ่งโรคนั้นอาจจะเป็นโรคฝีดาษ หรืออื่นๆ

สอดคล้องกับความหมายของ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของคำว่า ห่า เอาไว้ว่า 1 น. ชื่อผีจําพวกหนึ่งถือกันว่าทําให้เกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรงเป็นเหตุ ให้คนตายจำนวนมาก เช่น โรคลงราก (อหิวาตกโรค) กาฬโรค จึงเรียก โรคนี้ว่า โรคห่า

ห่า 2 (โบ) น. หน่วยวัดปริมาณน้ำฝนโดยกำหนดว่าถ้าตกลงมาเต็มบาตรขนาด กลางที่ตั้งรองไว้กลางแจ้ง เรียกว่าน้ำฝนห่าหนึ่ง  โดยปริยายใช้กับสิ่งที่มา หรือตกลงมาเป็นจำนวนมาก เช่น ฝนตกลงมาห่าใหญ่, บางทีก็ใช้ว่า ห่าฝน เช่น ฝูงเครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มข้าศึกเป็นห่าฝน

ที่สุดแล้ว แม้ว่าโรคห่าปัจจุบันจะมียารักษา แต่ทว่าบางทีการไม่รอบครอบของรัฐบาลที่จะเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยเชื่องช้าและไม่ทั่วถึงเท่าไหร่ โรคห่า ในความหมายความร้ายแรงขึ้นไปอีกระดับ อาจจะกลับมา ฆ่าคนไทย และเป็น โศกนาฏกรรม ครั้งยิ่งใหญ่เหมือนที่ยุคหนึ่ง โรคห่า เคยครองเมือง

1 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์” สั่งรพ.หาดใหญ่เตรียมป้องกันน้ำเข้าท่วมรพ.เต็มที่ ให้สำรองออกซิเจนเต็มอัตราใช้ได้อย่างน้อย 14 วัน

< Previous post Journal club ประจำเดือนตุลาคม

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด