logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

Link: http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000151330

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

วันนี้ (27 ต.ค) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอุทกภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข (วอร์รูม สธ.) ว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยจากสถานการณ์น้ำท่วมที่เข้ามาใช้บริการทงการแพทย์ทั้งสิ้นจำนวน 122,000ราย เสียชีวิต 59 ราย เพิ่มจากเมื่อวันที่ 26 ต.ค.3 ราย ที่ จ.สระบุรี ชัยนาท และพิจิตร ในจำนวนนี้พบว่า 52 รายเสียชีวิตจากการจมน้ำถึงร้อยละ 88 ซึ่งในหลายกรณีที่มีการตรวจสอบพบว่า มีหลายรายไม่น่าเสียชีวิต หากหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ออกจากบ้านในช่วงน้ำหลาก และถูกน้ำพัดหายไป หรือกรณีอุ้มเด็กทารกฝ่ากระแสน้ำและก็หล่นจมน้ำหายไป รวมทั้งกรณีออกไปหาปลา และจมน้ำพัดหายไป กรณีเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงได้ จึงอยากฝากเตือนให้ดูแลตัวเอง อย่าพาตัวเองเข้าไปอยู่ในภาวะเสี่ยงโดยไม่จำเป็น

รมว.สธ.กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีรายงานสถานการณ์ สถานพยาบาลในสังกัด สธ.มีความเสียหายทั้งหมด 42 แห่ง ส่วน รพ.ที่เสียหายหนักคือ รพ.มหาราชนครราชสีมา รพ.ชัยภูมิ และรพ.พิมาย จ.นครราชสีมา ขณะนี้มีการเปิดบริการเป็นปกติแล้ว อย่างไรก็ตามเบื้อวต้นมีการประเมินความเสียหายในส่วนของ รพ.มหาราชนครราชสีมาเสียหาย 30 ล้านบาท รพ.ชัยภูมิเสียหาย 7 ล้านบาท รพ. พิมายเสียหาย 7 ล้านบาท รพ.จิตเวชนครราชสีมา 6 ล้านบาท อย่างไรก็ตามจะจัดทำรายละเอียดอีกครั้งและจะหารือกับสำนักงบประมาณ แต่โดยหลักการคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบเบื้องต้นในเรื่องงบประมาณดูแลแล้ว

นายจุรินทร์กล่าวว่า ในวาระเร่งด่วนที่มีการประชุมในวันนี้นั้นยังคงเน้นไปทีเรื่องยาสำหรับแจกจ่ายผู้ประสบภัย โดยขณะนี้มีการแจกยาชุดไปแล้ว 3 แสนชุดทั่วประเทศ ซึ่งยังไม่เพียงพอ และยังมีความจำเป็นต้องมีการผลิตเพิ่มเพื่อแจกจ่ายอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะยาชุดน้ำท่วมและยาแก้ปัญหาน้ำกัดเท้า ซึ่งจะเป็นชุดที่อยู่ในชุดเดียวกัน ขณะนี้หน่วยผลิตหลัก คือ องค์การเภสัชกรรม (อภ.) อัตราผลิตอยู่ที่ 25,000 ชุดต่อวัน วันนี้ได้สั่งการให้เพิ่มการผลิตวันละ 1 แสนชุด โดยภายใน 5 วันจะต้องผลิตให้ได้ 9 แสนชุด สำหรับยาชุดน้ำท่วม ประกอบด้วย ยาแก้ไข ยาสำหรับทาแก้น้ำกัดเท้า

“นอกจากนี้ยังมีเรื่องของโรคที่มากับน้ำท่วมที่จำเป็นต้องมีการประกาศเตือนประชาชนอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย 6 โรค คือ โรคทางเดินอาหาร อุจจาระร่วง ไข้หวัด ไข้เลือดออก ฉีดหนู โรคหัด และความเครียด ซึ่งในเรื่องของปัยหาความเครียดนั้นกรมสุขภาพจิตติดตามอยู่ 168 ราย ซึ่งเรามอบแนวทางปฏิบัติให้หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้ดูแลทั้งสุขภาพกายและจิตใจควบคู่กัน ได้สั่งการให้ติดตามรพ.ทุกแห่งอย่างใกล้ชิดไม่เพียงแต่รพ.ลุ่มน้ำเจ้าพระยาอย่างเดียว ซึ่ง รพ.ในพื้นที่เสี่ยงยังคงเป็น 19 แห่งเหมือนเดิม ทั้งนี้ เน้นให้แพทย์พยาบาลออกไปให้บริการผู้ป่วยถึงบ้าน ซึ่งผู้ป่วยไม่สามารถออกมาพบแพทย์ได้ รวมทั้งผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยสูงอายุ เราได้มีการดำเนินการเคลื่อนย้ายมาในที่ปลอดภัยใกล้กับแพทย์แล้ว” นายจุรินทร์กล่าว

ด้าน นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า 168 รายมีความเครียดสูงมาก บางคนเสี่ยงกับการฆ่าตัวตาย จึงต้องติดตามเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่เครียดเพราะเป็นผู้ป่วยเก่า เคยเจ็บป่วยมาก่อน สถานการณ์ทำให้เขามีอาการกำเริบขึ้น บางรายมีความยากลำบากในการมารักษาพยาบาล อสม.จะไปเยี่ยมก็ลำบากมากขึ้น จึงเป็นข้อจำกัด จึงได้กำหนดบุคคลเหล่านี้ไว้ให้หน่วยไปดูแลเป็นพิเศษไม่ให้อาการลุกลามมากขึ้น

ขณะที่ นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ได้แจกจ่ายถุงดำสำหรับการขับถ่ายอย่างถูกสุขลักษณะแก่ประชาชนไปแล้ว จำนวน 360,000 ถุงเพื่อทำสุขาชั่วคราวขึ้นใช้เอง

28 ตุลาคม 2553

Next post > จิตแพทย์แนะวิธีลดเครียด ให้ประชาชนรวมตัวช่วยกันกู้ชุมชน ก้าวผ่านวิกฤติน้ำท่วมให้ได้

< Previous post สมุนไพรในห้องครัว ยาฉุกเฉินยามน้ำท่วม

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด