logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ. แนะผู้ใจบุญส่งของช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม เลือกเมนูอาหารที่ไม่เสี่ยงโรคจู๊ด

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34282

         โฆษกกระทรวงสาธารณสุข แนะผู้ใจบุญที่ต้องการส่งอาหารไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ให้เลือกอาหารกระป๋อง อาหารปรุงสำเร็จหรืออาหารกล่องที่เก็บได้นาน บูดเสียช้า เช่น ไข่ต้ม อาหารที่ไม่มีกะทิ อาหารแห้ง เพื่อลดความเสี่ยงผู้ประสบภัยทุกข์ซ้ำเติมจากโรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ  ย้ำหากเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรังป่วย ให้รีบพาไปพบแพทย์หรือแจ้งอสม.ที่อยู่ใกล้

                 

         นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมาโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุข มีความเป็นห่วง เรื่องอาหารบริจาคผู้ประสบภัยน้ำท่วมซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาหารกระป๋อง อาหารปรุงสำเร็จหรืออาหารกล่อง อาจเสี่ยงโรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ จากการรับประทานอาหาร และมีโอกาสเกิดขึ้นสูงในช่วงน้ำท่วม ในการลดความเสี่ยงผู้ประสบภัยได้รับความทุกข์ซ้ำเติมจากโรคดังกล่าว หากเป็นไปได้ควรประกอบอาหารแจกจ่ายประชาชนที่จุดอพยพน้ำท่วมจะดีที่สุด เพราะจะได้รับประทานอาหารที่ร้อน สุกใหม่ ส่วนอาหารที่ปรุงสำเร็จรูปหรือข้าวกล่อง ควรปรุงใหม่ ๆ และแยกกับข้าวใส่ถุงพลาสติกไว้ต่างหาก ไม่เป็นอาหารที่ปรุงจากกะทิเพราะจะบูดเสียง่าย

                

          เมนูอาหารที่เหมาะในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไม่บูดง่าย ได้แก่ ไข่ต้ม ไข่เค็ม น้ำพริกต่าง ๆ กุนเชียงทอด หมูทอด หมูแผ่น หรือเป็นข้าวเหนียวนึ่งธรรมดา ข้าหลามที่ไม่ใส่กะทิ ขนมปังกรอบ จะเก็บไว้ได้หลายวัน หลีกเลี่ยงการบริจาคขนมปังปอนด์เพราะมีอายุสั้นประมาณ 5-7 วัน และขึ้นราง่าย ผู้ประสบภัยบางราย โดยเฉพาะเด็กอาจไม่สังเกต หรือฉีกเฉพาะส่วนที่ขึ้นราทิ้ง กินเฉพาะส่วนที่ยังไม่ขึ้นราซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจแจกผลไม้ เช่น กล้วยน้ำว้า ส้ม ฝรั่ง ชมพู่ ให้ผู้ประสบภัย และแจกนมกล่องยูเอชทีให้เด็ก ก็จะช่วยให้ผู้ประสบภัยได้รับสารอาหาร วิตามินครบถ้วนยิ่งขึ้น ช่วยเสริมภูมิต้านทานโรค ไม่ป่วยง่าย   

          นายแพทย์สุพรรณกล่าวต่อว่า สำหรับผู้ประสบภัย ควรรับอาหารกล่องให้พอดีเฉพาะคนในครอบครัว ไม่ควรเก็บไว้มากๆเผื่อมื้อต่อไปหรือเผื่อคนอื่น ๆ เพราะอาหารกล่องจะบูดเสีย ไม่ควรเก็บนานเกิน 4-6 ชั่วโมง ส่วนอาหารกระป๋องขอให้ดูวันหมดอายุ กระป๋องอยู่ในสภาพดีไม่บุบ หรือบวม พองและสังเกตลักษณะของอาหารในกระป๋องก่อนรับประทานทุกครั้ง สำหรับครอบครัวที่มีเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ขอให้ดูแลให้คนกลุ่มนี้ได้รับประทานอาหารก่อน เนื่องจากสภาพน้ำท่วมอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจ ทำให้ร่างกายที่มีภูมิต้านทานต่ำกว่าคนทั่วไป อ่อนแอลง เจ็บป่วยง่าย หากพบว่ามีอาการไข้ ท้องเสีย หรืออาการผิดปกติต่างๆ ขอให้รีบพาไปพบแพทย์หรือแจ้ง อสม.ที่อยู่ใกล้ที่สุด

 

22 ตุลาคม 2553

Next post > “จุรินทร์”ทีมแพทย์ พยาบาล ลงเรือตรวจรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

< Previous post สปสช.แจง สพศท.จ่ายเงินตาม DRG ที่ผ่านคณะทำงานจาก สธ.

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด