logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

กรมอนามัย ห่วงสุขภาพผู้ประสบภัยน้ำท่วม แนะวิธีกำจัดสิ่งปฏิกูลในบ้าน ป้องกันโรคท้อง

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34249

           นายแพทย์ประดิษฐ์ วินิจจะกูล รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงการจัดการสิ่งปฏิกูลในบ้านช่วงน้ำท่วม เพื่อลดปัญหาโรคระบบทางเดินอาหารในช่วงน้ำท่วม ว่า ขณะนี้หลาย ๆ พื้นที่ของประเทศกำลังประสบปัญหาน้ำท่วม โดยเฉพาะในพื้นที่ในภาคอีสาน ที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก ประชาชนต้องอยู่ในสภาพที่ขาดแคลนน้ำสะอาด เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค และเครื่องยังชีพต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องการขับถ่ายอุจจาระและการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลเหล่านี้มีเชื้อโรคปะปนอยู่ ถ้าทิ้งมากับน้ำจะทำให้เกิดโรคติดต่อ หากประชาชนนำน้ำที่ท่วมขังมาล้างอาหาร จานชามหรืออุปกรณ์ ประกอบอาหาร เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกาย ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร อาทิ โรคท้องร่วง อาหารเป็นพิษ เป็นต้น

           นายแพทย์ประดิษฐ์ กล่าวต่อไปว่า เพื่อป้องกันตนเองและผู้อื่นให้พ้นจากโรคระบบทางเดินอาหารในช่วง น้ำท่วม โดยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากอุจจาระและขยะด้วยการขับถ่ายในห้องส้วมที่ยังสามารถใช้การได้ ในกรณีที่ไม่สามารถใช้ห้องส้วมได้ขอให้ประชาชนขับถ่ายอุจจาระในถุง ถ้ามีปูนขาวหรือน้ำยาฆ่าเชื้อให้ใส่ลงในถุงอุจจาระก่อน แล้วปิดปากถุงให้แน่น หรือถ้าไม่มีปูนขาวหรือน้ำยาฆ่าเชื้อหลังถ่ายอุจจาระเสร็จให้รัดปากถุงให้แน่นแล้วรวบรวมส่งให้ทางการนำไปกำจัดต่อไป สำหรับขยะภายในบ้านก็ให้เก็บรวบรวมใส่ถุงแล้วผูกปากถุงให้แน่น แล้วรวบรวมส่งให้ทางการนำไปกำจัดต่อไปเช่นกัน ซึ่งประชาชนทุกคนต้องให้ความร่วมมือไม่ถ่ายอุจจาระและทิ้งขยะลงไปในน้ำ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรคอุจจาระร่วง

           นายแพทย์ประดิษฐ์ กล่าวต่อว่า สำหรับประชาชนที่มีความจำเป็นต้องนำน้ำที่ท่วมขังมาอุปโภคบริโภคนั้น ก่อนนำน้ำมาใช้ควรตักใส่ภาชนะ ถ้าน้ำขุ่นให้ใช้สารส้มชนิดก้อน กวนในน้ำ สังเกตตะกอนในน้ำเริ่มจับตัวนำสารส้มออก ใช้มือกวนน้ำต่อ1-2นาทีทิ้งไว้จนตกตะกอนที่ได้มาใส่คลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค ใส่คลอรีนชนิดผง ½ ช้อนชาในน้ำ 1 แก้ว คนให้เข้ากันรินเฉพาะส่วนที่ใสผสมในอัตราส่วน ต่อน้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้ 30 นาที เพื่อให้คลอรีนฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในน้ำและส่วนที่หลงเหลืออยู่สลายตัวไป ในกรณีที่จะนำน้ำมาดื่มต้องต้มให้เดือดก่อน หรือหากต้องการฆ่าเชื้อโรคในภาชนะอุปกรณ์ประกอบอาหาร เช่น จาน ชาม หม้อ กระทะให้ใช้คลอรีน 1 ช้อนชา (ผสมกับน้ำ 1 แก้ว รินเฉพาะส่วนที่ใส)ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่นาน 2 นาที ก่อนที่จะนำภาชนะเหล่านั้นมาใช้อย่างปลอดภัยเพื่อความสะดวกกรมอนามัยได้ผลิตคลอรีนชนิดน้ำ 2% (หยดทิพย์)ใช้หยดลงในน้ำ สำหรับดื่ม 1 หยดต่อน้ำ 1 ลิตรทิ้งไว้ 30 นาที

          “ทั้งนี้ สิ่งของบริจาคที่มีผู้บริจาคไม่ว่าจะเป็นอาหารแห้ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และเครื่องกระป๋อง เช่น ปลากระป๋อง ก่อนจะบริโภคควรสังเกตวันหมดอายุ หรือดูวันหมดอายุหรือดูสภาพ สี กลิ่น และภาชนะบรรจุของ น้ำดื่มและอาหารนั้น ๆ ก่อนบริโภค โดยในพื้นที่ที่สามารถปรุงประกอบอาหารได้ ก็ควรนำมาอุ่นให้ร้อนหรือผ่านการปรุงสุกเสียก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อบริโภคเข้าไปจะไม่ทำให้เกิดอาการท้องเสียหรือเกิดโรคที่เกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหาร ที่สำคัญควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังการใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด

21 ตุลาคม 2553

Next post > โรงพยาบาลชัยภูมิ ยังเปิดให้บริการตามปกติ เมื่อคืนนี้ทำคลอด-ผ่าตัด 9 ราย น้ำเริ่มลดเล็กน้อย

< Previous post รมช.สธ.เผยผู้ประสบภัยน้ำท่วมปักธงชัย 2 ใน 3 เครียด

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด