logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สปสช.ผนึกกำลังม.อ.วสร้างสุขภาพเชิงรุก

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=420&contentID=99044

          โรคอ้วนและเบาหวาน คือภัยเงียบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนไทย ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการบริโภคของคนในปัจจุบัน และการไม่สนใจในการดูแลสุขภาพ จนสุดท้ายทำให้กลายเป็นผู้ป่วยด้วยโรคอ้วน เบาหวานเรื้อรัง ซึ่งจากสถิติล่าสุดคนไทย     3 ล้านคน ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โดยองค์กรอนามัยโลกประมาณการว่า ในปี พ.ศ. 2573 จะมีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน 366 ล้านคน โดยเฉพาะประเทศไทย รัฐต้องทุ่มเงินงบประมาณปีละกว่า 8 หมื่นล้านบาท เพื่อรักษาโรคป่วยเรื้อรัง จากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไร้ประโยชน์และไม่ดูแลสุขภาพของตนเอง
   
         ผศ.นพ.อุทัย เก้าเอื้อน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ประธานคณะ กรรมการโครง การสงขลานครินทร์ มหา วิทยาลัยสุขภาพ เปิดเผยว่า ได้ร่วมมือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สาขา พื้นที่จังหวัดสงขลา จัดโครงการเสริมสร้างสุขภาพแก่บุคลากร รวมทั้งประชาชนทั่วไป เพื่อให้ตระหนักในการสร้างเสริมและป้องกันสุขภาพ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการดูแลสุขภาพ ซึ่งจากการสำรวจพบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของบุคลากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และอีกร้อยละ 30 ที่มีอายุระหว่าง 30-40 ปี คนเหล่านี้หากไม่มีการดูแลสุขภาพให้เหมาะสม จะมีโอกาสเป็นโรคต่าง ๆ เช่น      โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเครียด โดยเฉพาะโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด ที่พบเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย
   
        สำหรับโครงการนี้จะมีกลวิธีแผนกิจกรรมดังนี้ 1. สำรวจคัดกรอง ประเมินปัจจัยเสี่ยง สภาวะสุขภาพ โดยภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ และหน่วยบริการปฐมภูมิ 2. ตรวจสมรรถภาพทางกาย โดยภาควิชาสรีรวิทยา 3. ประเมินสภาวะปัญหาและความเสี่ยงด้านชีวอนามัย โดยคณะทันตแพทยศาสตร์และหน่วยอาชีวอนามัย 4. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในบุคลากร 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และกลุ่มบุคคลทั่วไป โดยจะบรรยายให้ความรู้ สร้างความตระหนัก จัดอบรม พัฒนาแกนนำด้านสร้างเสริมสุขภาพ จัดกิจกรรมสนับสนุนหน่วยงานเสริมสร้างสุขภาพ ทั้งการออกกำลังกาย การพัฒนาสุขภาพจิตและปัญญา การบริโภค การลดความอ้วน ที่เกิดจากการกินที่ไม่เหมาะสมกับสุขภาพ เช่น กิจกรรม “ผักครึ่งหนึ่ง อย่างอื่นครึ่งหนึ่ง” สร้างความเข้าใจในเรื่องอาหารมังสวิรัติและคุณค่าทางโภชนาการของผักและ “ไม่อยากใกล้โรค ต้องโกรธอาหารขยะ”
   
        นอกจากนั้นจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนนำพฤติกรรมสำหรับผู้มีและไม่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น จัดค่าย “เปลี่ยนชีวิต พิชิตพุง” และจัดการแข่งขันยกน้ำหนักแบบรายบุคคลทีมละ 5 คน จัดทีมคัดกรองและแนะนำด้านสุขภาพไปยังวิทยาเขตต่าง ๆ จัดให้ผู้มีโรคได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่องสม่ำเสมอ รณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม การลดปริมาณขยะ การนำมาใช้ซ้ำ   การแยกขยะโดยกองอาคารสถานที่ และคณะต่าง ๆ
   
        นอกจากกิจกรรมดังกล่าวแล้ว ยังมีการนำหลักในการเปลี่ยนพฤติกรรมด้วย 3 อ. คือ ออกกำลังกาย อาหาร อารมณ์ เพื่อพิชิต ความอ้วน ภัยโรคเงียบ ได้แก่ 1. มีความ  มุ่งมั่นที่จะพิชิตความอ้วน 2. อารมณ์ดีไม่เครียด 3. ตั้งเป้าหมายของน้ำหนักที่จะลดอย่างเหมาะสมและเป็นไปได้ 4. ควบคุมพลังงานโดยค่อย ๆ ปรับ หากกินน้อยกว่าเดิม 500 กิโลแคลอรี น้ำหนักจะลดครึ่งกิโล กรัมภายในหนึ่งสัปดาห์

   
       ผศ.นพ.กอปรชุษณ์ ตยัคคานนท์ เลขานุการโครงการสงขลานครินทร์ มหา วิทยาลัยสุขภาพ ได้ยกตัวอย่างกิจกรรมที่ทำได้ผลดี เช่น “ค่ายเปลี่ยนชีวิตพิชิตพุง” ที่บุคลากรตระหนักรู้ และมีทักษะ ในการจัดการตนเองให้สามารถลดและควบคุมน้ำหนัก และการควบคุมอาหาร การออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งสามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ โดยเฉพาะการชนะใจตนเอง 
   
       ด้าน นางอัจฉรา ทิพย์สุเนต เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ กล่าวว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการ มีน้ำหนัก 66 กิโลกรัม หลังจากกลับจากค่าย ก็ลดน้ำหนักตามที่ได้รับคำแนะนำ โดยการลดอาหารในแต่ละมื้อ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกาย ท้ายที่สุดลดน้ำหนักได้ 4 กิโลกรัม ทำให้รู้สึกกระฉับกระเฉง ทำงานด้วยความคล่องตัว เสื้อผ้าที่เดิมซึ่งใส่ไม่ได้ เริ่มกลับมาใช้ใหม่ได้อีกที่สำคัญสุขภาพดีขึ้น โรคประจำตัวคือ หืด หอบ ทุเลาลงจนเกือบหาย เห็นชัดว่า โครงการนี้เป็นวิธีที่ดีมาก
   
       จะเห็นได้ว่า ถ้าเราทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพให้ถูกสุข อนามัย แค่เปลี่ยนพฤติกรรมตามใจปาก กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากร่างกายจะแข็งแรงห่างไกลโรคภัยเงียบและโรคเรื้อรัง เช่น ความอ้วน ความดัน โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นโรคฮิตติดอันดับของประเทศแล้ว ยังสามารถช่วยกันประหยัดงบประมาณของรัฐ   ที่ใช้ในการรักษาพยาบาล
ได้ปีละจำนวนมหา ศาลอีกด้วย.

20 ตุลาคม 2553

Next post > “จุรินทร์” ตรวจเยี่ยมน้ำท่วมที่โรงพยาบาลชัยภูมิ

< Previous post สธ.เตรียมถกปัญหา รพ.ขาดสภาพคล่อง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด