logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ. ตั้งศูนย์บัญชาการกู้วิกฤติด้านการแพทย์ที่โคราช สำรองยาช่วยเหลือน้ำท่วม 1 ล้านชุด

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34217

        วันนี้ (19 ตุลาคม 2553) นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในวันนี้ได้ประชุมรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข รองอธิบดีทุกกรม และสาธารณสุขนิเทศก์เพื่อติดตามการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งทุกจังหวัดได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่บริการผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง เมื่อวานนี้ได้จัดส่งยาสามัญประจำบ้านไปให้จังหวัดนครราชสีมา 30,000 ชุด ลพบุรี 10,000 ชุด และราชบุรี 5,000 ชุด โดยได้สั่งสำรองยาสามัญประจำบ้านเพื่อนำไปแจกจ่ายชาวบ้านเพิ่มอีก 1 ล้านชุด 


        สำหรับจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งวิกฤติสุดที่โรงพยาบาลมหาราช จากการประเมินระดับน้ำท่วมขังอาจจะนาน 15 วัน ขณะนี้น้ำยังทรงตัวสูงกว่า 1 เมตร เดินทางเข้าออกโรงพยาบาลโดยทางเรือ ต้องขอชื่นชมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุกคนที่เสียสละร่วมกันดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างดี แม้ต้องเดินทางเข้าออกด้วยความลำบาก ปัญหาเร่งด่วนขณะนี้คือ ที่โรงพยาบาลมหาราชจะต้องจัดการเรื่องการดูแลผู้ป่วยหนัก การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการเคลื่อนย้าย รวมถึงระบบไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องมือแพทย์ ในวันนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขด้านการแพทย์ขึ้นอีก 1 ชุดในพื้นที่ประสบปัญหา โดยมีนายแพทย์ทนงสรรค์ สุธาธรรม รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน และมีกรรมการประกอบด้วย นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา นายแพทย์สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย นายแพทย์ธวัชชัย กมลธรรม นายแพทย์คำรณ ไชยศิริ นายแพทย์นิทัศน์ รายวา กองแบบแผนและกองวิศวกรรมการแพทย์ ศูนย์บัญชาการชุดนี้จะทำหน้าที่บริหารจัดการด้านการแพทย์ โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลมหาราช ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


       นอกจากนี้ได้มอบหมายให้รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดูแลงานเป็นรายภาค ภาคเหนือมอบนายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ภาคอีสานมอบนายแพทย์ทนงสรรค์ สุธาธรรม    ภาคกลางมอบนายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ และภาคใต้มอบนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านสุขภาพ


        นายแพทย์ไพจิตร์กล่าวต่อไปว่า สำหรับการขนย้ายผู้ป่วยหนักไปรักษาที่รพ.ขอนแก่น และรพ.ศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในวันนี้กระทรวงสาธารณสุขได้สำรองรถพยาบาลฉุกเฉินพร้อมทีมแพทย์พยาบาลจากจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ 30 คัน เพื่อเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหนักต่อจากโรงพยาบาลมหาราชฯ ซึ่งต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังที่สุด และได้จัดสำรองทีมแพทย์ พยาบาลเพื่อออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่อีกประมาณ 10 ทีม พร้อมเดินทางไปในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาเพื่อช่วยผู้ประสบภัยและบรรเทาภาระทีมแพทย์ พยาบาลในจังหวัดนครราชสีมาด้วย โดยมีโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นเป็นจุดประสานงาน        


       ทางด้านแพทย์หญิงสุวรรณี ตั้งวีระพงษ์ รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา กล่าวว่า วันนี้มีผู้ป่วยที่พักรักษาตัวอาการดีขึ้นแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ประมาณ 300 ราย คงเหลือผู้ป่วยนอนรักษาประมาณ 1,000 ราย มีผู้ป่วยหนักประมาณ 90 ราย โดยเตรียมส่งไปอีก 17 ราย ประกอบด้วย ที่โรงพยาบาลขอนแก่น 13 ราย และโรงพยาบาลค่ายสุรนารี 4 ราย ยังไม่มีผู้ป่วยในรายใหม่เพิ่มหลังจากที่โรงพยาบาลได้ตั้งจุดให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกที่โรงเรียนสุรนารีและที่โรมแรมพีกาซัส ส่วนใหญ่เจ็บป่วยเล็กน้อย

20 ตุลาคม 2553

Next post > “จุรินทร์” ตรวจเยี่ยมน้ำท่วมที่โรงพยาบาลชัยภูมิ

< Previous post สธ.เตรียมถกปัญหา รพ.ขาดสภาพคล่อง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด