logo

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ.เตรียมถกปัญหา รพ.ขาดสภาพคล่อง

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000146797

      วันนี้ (18 ต.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการหามาตรการแก้ปัญหาโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องในส่วนของ สธ.ว่า หลังจากมีการหารือกันระหว่างคณะกรรมการร่วมสองฝ่ายระหว่าง สธ.และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ซึ่งเบื้องต้นทาง สปสช.ได้จัดสรรเงินให้โรงพยาบาลต่างๆ ในสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากเดิมในสัดส่วนไตรมาสแรกร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 50 หรือประมาณ 23,000 ล้านบาทจากงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวทั้งปี 46,000 ล้านบาทนั้น ขณะนี้ สธ.อยู่ระหว่างพิจารณาและรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ทางบัญชีของแต่ละโรงพยาบาล เพื่อนำมาคำนวณเป็นตัวเลขเงินในกองทุนเงินช่วยเหลือชดเชยโรงพยาบาลขาดสภาพคล่อง หรือ กองทุน CF แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป
       
       นพ.ณรงค์ กล่าวว่า เบื้องต้น สธ.เห็นว่า ควรมีเงินในกองทุนนี้ประมาณ 2 พันล้านบาท เนื่องจากน่าจะเพียงพอสำหรับโรงพยาบาลที่ประสบปัญหา แต่เพื่อความชัดเจนจำเป็นต้องได้ข้อมูลเชิงลึกในส่วนของสถานการณ์การเงินของโรงพยาบาลแต่ละแห่งก่อน ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อมูลครบบริบูรณ์และเสนอต่อ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ.พิจารณาได้ช่วงต้นเดือน พ.ย.นี้
       
       ด้าน นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า ปัญหาค่าตอบแทนเป็นปัญหาสำคัญของโรงพยาบาลขาดสภาพคล่อง เพราะเมื่อพิจารณาข้อมูลทางการเงินไตรมาส 3 ของปีงบประมาณ 2552 เทียบกับปีงบประมาณ 2553 ในไตรมาสเดียวกัน พบว่า ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่า 4,000 ล้านบาท ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้ พบว่า เป็นค่าตอบแทนในส่วนของ รพศ./รพท.กว่า 2 พันล้านบาท ขณะที่โรงพยาบาลชุมชนพบประมาณ 730 ล้านบาท บาท ดังนั้น ปัญหาค่าตอบแทนจึงเป็นเรื่องที่ต้องยอมรับ และต้องเร่งจัดสรรเงินลงพื้นที่ในปีงบประมาณ 2554 นี้ ไม่เช่นนั้นโรงพยาบาลก็จะประสบปัญหาขาดสภาพคล่องได้อีก
       
       นพ.วินัย กล่าวว่า สำหรับกรณีที่ว่าจะมีการพิจารณาเพิ่มเงินในกองทุน CF หรืไม่นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากันอยู่ แต่สิ่งที่ต้องรู้ คือ เงินกองทุน CF เป็นเงินที่มาจากงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวทั้งปี 46,000 ล้านบาท ซึ่งหากมีการกันไว้ถึง 2 พันล้านบาท ตามที่ สธ.เสนอก็จะทำให้เงินในกองทุนเหมาจ่ายรายหัวลดลงเหลือ 44,000 ล้านบาท ซึ่งตรงนี้จะส่งผลต่อหน่วยบริการต่างๆ และหากจะไปเอาเงินจากกองทุนป้องกันโรคต่างๆ เช่น กองทุนเบาหวาน ฯลฯ ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะแต่ละกองทุนมีการกำหนดงบประมาณลงตัว เรื่องนี้จึงต้องพิจารณาดีๆ

19 ตุลาคม 2553

Next post > “จุรินทร์”กำชับผู้บริหารสาธารณสุขทั่วประเทศ เร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายให้เข้มข้นต่อเนื่อง

< Previous post กรมสุขภาพจิต เปิดตัว “แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า“ใหม่ ขยายโอกาสเข้าถึงบริการรักษา

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด