logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ.ออกประกาศต่ออายุการทำซีแอล 2 ยาต้านไวรัสเอดส์ “ อีฟาไวเรนซ์ และคาเลตตร้า” จนกว่าจะหมดสิทธิบัตร

พร้อมขยายสิทธิผู้ใช้ยาไม่จำกัดจำนวน ครอบคลุมทุกสวัสดิการ รวมทั้งบุคคลรอพิสูจน์สถานะหรือสิทธิ ตามมต

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34182

          นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า เกี่ยวกับการจัดบริการให้ยาต้านไวรัสเอดส์ให้ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยโรคเอดส์ว่า หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2553 ซึ่งมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ได้มีมติให้ต่ออายุการทำซีแอลยาต้านไวรัสเอดส์ 2 ชนิด คือ ยาอีฟาไวเรนซ์ (Efavirenz) และยาคาเล็ตตร้า (Kaletra) ซึ่งเป็นยาสูตรผสมระหว่างโลพินาเวียร์กับริโทรนาเวียร์(Lopinavir/Ritronavir) ไปจนสิ้นอายุสิทธิบัตร โดยสั่งการให้กรมควบคุมโรค ดำเนินการออกประกาศ เนื่องจากยาทั้ง 2 ชนิดใกล้ถึงวันครบกำหนดประกาศใช้ กล่าวคือ ยาอีฟาไวเรนซ์จะครบกำหนดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ตามประกาศกรมควบคุมโรคเดิมเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ส่วนยาคาเลตตร้า จะครบกำหนดในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555 ตามประกาศกรมควบคุมโรคเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2550 
        

         นายบุณย์ธีร์ กล่าวว่า ขณะนี้กรมควบคุมโรค ได้ทำการออกประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง การใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยาด้านยาและเวชภัณฑ์หรือซีแอลทั้ง 2 รายการแล้วเป็นฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2553 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา โดยให้ใช้สิทธิการทำซีแอลยาต้านไวรัสเอดส์ 2 ชนิด คือ ยาอีฟาไวเรนซ์ และยาคาเล็ตตร้า ครอบคลุมทุกรูปแบบยาและอนุพันธ์ด้วย ไปจนสิ้นอายุสิทธิบัตรหรือหมดความจำเป็นต้องใช้ยา โดยยาอีฟาไวเรนซ์ จะหมดสิทธิบัตรในวันที่ 31 มกราคม 2555 ส่วนยาคาเล็ตตร้า จะหมดสิทธิบัตรวันที่ 4 ธันวาคม 2559 
       

        นายบุณย์ธีร์กล่าวต่อว่า ในการบริการยาต้านไวรัสเอดส์ทั้ง 2 ชนิดนี้ จะครอบคลุมผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่จำเป็นต้องใช้ยานี้ทุกสวัสดิการทั้งผู้ที่มีสิทธิตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้ประกันตนตามพ.ร.บ.ประกันสังคม ผู้มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พนักงานส่วนท้องถิ่นสังกัดกระทรวงมหาดไทย พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อมีนาคม 2553 ด้วย โดยไม่จำกัดจำนวนผู้ใช้ยานี้ และการใช้ให้อยู่ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์

       ทั้งนี้ ข้อมูล จากสำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่พ.ศ.2527 จนถึงล่าสุด เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2553 มีจำนวนผู้ป่วยเอดส์สะสม รวมจำนวน 369,803 ราย เสียชีวิตแล้ว จำนวน 97,933 ราย แนวโน้มของผู้ป่วยเอดส์และผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ลดลงเรื่อยๆ ในปี 2550 เสียชีวิต 2,434 ราย ปี 2551 เสียชีวิต 1,691 ราย ปี 2552 เสียชีวิต 1,176 ราย เนื่องจากการรักษาผู้ป่วยเอดส์ด้วยยาต้านไวรัสทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาว และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


18 ตุลาคม 2553

Next post > สธ.ปรับระบบบริหารจัดการพื้นที่น้ำท่วม เริ่มทยอยย้ายผู้ป่วยหนักจาก รพ.มหาราช 40 ราย ไปขอนแก่นและรพ.ค่ายสุรนารี

< Previous post อย.ชี้ยาทำแท้งทางเว็บไซต์เป็นยาอันตราย เผยปี51-53 สั่งปิดไปแล้ว 327 เว็บไซต์

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด