logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หมอจี้ล้มกม.คุ้มครองผู้เสียหาย ใช้”คนไข้”ต่อรองตรวจ50คน/วัน ผ่าตัดเข้าคิว6เดือน ดันรพ.ศูนย์ดีเดย์1พ.ย.

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1286380523&catid=04

หลังเครือข่ายประชาชนชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลเรียกร้องให้ผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ…. เข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ภายในสมัยประชุมนี้ ขณะที่สหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.) ออกมาแสดงท่าทีตอบโต้ด้วย 3 มาตรการ ทั้งยืดเวลาตรวจ รับผู้ป่วยตามสภาพ และหยุดงาน พร้อมทั้งยังรวบรวมรายชื่อแพทย์ บุคลากรสาธารณสุขและประชาชน 20,000 รายชื่อ ยื่นต่อประธานวุฒิสภา ถอดถอนนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พ้นตำแหน่ง เพราะเห็นว่ามีพฤติกรรมส่อทุจริตต่อหน้าที่นั้น 


เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม นพ.ศิริชัย ศิลปอาชา ที่ปรึกษาสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) เปิดเผยว่า จะเสนอให้ รพศ./รพท.ที่สมัครใจติดป้ายบริเวณหน้าโรงพยาบาล เพื่อประกาศถึงรูปแบบการปรับระบบบริการตรวจดูแลรักษาคนไข้ให้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยมีใจความว่า คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) โทรศัพท์ 0-2590-2304 begin_of_the_skype_highlighting              0-2590-2304      end_of_the_skype_highlighting สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โทรศัพท์ 0-2962-2345 begin_of_the_skype_highlighting              0-2962-2345      end_of_the_skype_highlighting และกระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 0-2590-1000 begin_of_the_skype_highlighting              0-2590-1000      end_of_the_skype_highlighting มีนโยบายผลักดัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ…. โรงพยาบาลจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน ดังนี้

1.ตรวจผู้ป่วยนอก ไม่เกิน 50 คนต่อวัน ในแต่ละห้องตรวจ

2.ผู้ป่วยนอกฉุกเฉินจะต้องรอคิวตามอาการที่เร่งด่วนมากกว่า

3.ผู้ป่วยผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วน รอคิวตามมาตรฐานยุโรป 6-12 เดือน

4.ผู้ป่วยผ่าตัดเร่งด่วน จะได้รับการดูแลตามมาตรฐาน และ

5.เมื่อเตียงเต็มจะไม่รับผู้ป่วยเพิ่มเติม ให้ใช้โรงพยาบาลใกล้เคียง

และควรเริ่มถือปฏิบัติพร้อมกันทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนนี้เป็นต้น และหากไม่เห็นด้วยกรุณาแจ้งหน่วยงานข้างต้น


ขณะที่ นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ รองประธาน สผพท. กล่าวว่า ในวันที่ 7 ตุลาคม เวลา 10.00 น. ตัวแทนกลุ่มแพทย์และบุคลากรวิชาชีพสาธารณสุขจะขอเข้าพบนายจุรินทร์ที่รัฐสภา เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.คุ้มครอง พร้อมทั้งจะยื่นรายชื่อประชาชนชาว จ.ร้อยเอ็ด 12,000 ชื่อ ที่คัดค้านร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้ด้วย


น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ขณะนี้ภาคประชาชนกำลังหารือว่าจะเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในระบบบริการสาธารณสุขในวันที่ 12 ตุลาคมนี้หรือไม่ เนื่องจากเกรงว่าจะเหมือนครั้งที่ผ่านมา ที่มีกลุ่มแพทย์วอล์กเอ๊าต์อีก อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวคิดว่าไม่น่ามีปัญหา และอยากให้กลุ่มแพทย์เข้าร่วมการประชุมในวันดังกล่าวเช่นกัน ก่อนที่จะมาพิจารณาถึงมาตรการเคลื่อนไหวต่างๆ โดยเฉพาะการหยุดงาน เชื่อว่าแพทย์ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย 


ด้านนายจุรินทร์ให้สัมภาษณ์ว่า มั่นใจว่า ได้ดำเนินการทุกอย่างเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ส่วนการยื่นถอดถอนนั้น นายจุรินทร์กล่าวว่า หากจะมีการถอดถอนก็สามารถทำได้ตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ แต่ตนยืนยันว่าไม่ได้ทำผิดกฎหมาย หรือขัดกับรัฐธรรมนูญ ตามข้อกล่าวหาที่ปรากฏในข่าวแต่อย่างใด  และมั่นใจว่าตนได้ดำเนินการทุกอย่างเพื่อประโยชน์โดยส่วนรวม

 

8 ตุลาคม 2553

Next post > “จุรินทร์”พอใจบริการทางด่วนพิเศษผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด ลดการเสียชีวิตผู้ป่วยได้

< Previous post โอ๊ย! เวียนหัว ตาลาย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด