logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

Link : http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000133930

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

หมอเมธี ออกโรงหนุน ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบ ขณะที่นัก กม.วิจารณ์ พ.ร.บ.ฉบับนี้มีจุดอ่อนหลายมาตรา เสนอคั้นเฉพาะข้อดี พ.ร.บ.ฉบับรัฐบาล-ฉบับหมอรวมกัน ด้านเอ็นจีโอ เห็นด้วย แต่ยืนกรานขอแก้รายละเอียดหลังผ่าน กมธ.

วานนี้ (23 ก.ย.) ที่ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ มีการจัดประชุุมเสวนา เรื่อง “ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ… ใครได้ ใครเสีย เหมือนต่างจากร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข” โดยมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานต่างๆเข้าร่วม อาทิ ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มธ.องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสุขภาพ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) สหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย สำนักงานอัยการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ฯลฯ

โดย นายไพศาล ลิ้มสถิตย์ นักวิชาการกฎหมาย ศูนย์กฎหมายสุขภาพฯ กล่าวว่า การจัดประชุมเสวนาในครั้งนี้มุ่งเน้นการร่วมกันพิจารณาหาข้อดีข้อเสียของ ร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับ เพื่อจะได้เป็นหนทางของการนำไปสู่การเกิดขึ้นของกฎหมายที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ที่เข้ารับบริการสาธารณสุขแล้วได้รับผลกระทบจากความผิดพลาดในบริการดังกล่าว ให้ได้รับการคุ้มครอง ช่วยเหลือและเยียวยาออย่างทันท่วงที

นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ แพทย์ศัลยศาสตร์ด้านประสาท โรงพยาบาลราชวิถี  ผู้ยกร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ..กล่าวว่า การใช้คำว่า “ผู้เสียหาย” ใน พ.ร.บ.ฉบับรัฐบาลนั้น เป็นการครอบคลุมที่กว้างเกินไป ครอบคลุมทั้งผู้เสียหายฯ จริง หรือผู้เสียหายฯจากกรณีสุดวิสัย หรือผู้เสียหายฯที่ไม่ได้เกิดจากการรับ บริการแต่กลับมาร้องเรียน ตรงนี้จะแยกไม่ได้ เพราะในมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายฯไม่ได้เปิดช่องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาทำการวินิจฉัยแยกกลุ่มดังกล่าว ดังนั้น จึงตั้งชื่อใหม่ เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข ซึ่งมีความชัดเจนกว่า และรายละเอียดอื่นๆ นั้นก็เน้นการคุ้มครองทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการสาธารณสุข แต่หากมีการวิพากษ์วิจารณ์จากนักกฎหมาย ตนก็พร้อมจะนำไปปรับปรุง

ขณะที่ ศ. นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ ที่ปรึกษากฎหมายอาวุโส ศูนย์กฎหมายสุขภาพฯ กล่าวว่า เนื้อหาในมาตรา 6 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบขัดหลักการปกครอง เนื่องจากระบุให้รัฐมนตรีออกประกาศโดยความเห็นชอบของสภาวิชาชีพ แสดงว่า มีอำนาจเหนือกว่าสภาวิชาชีพ ซึ่งไม่ใช่ เพราะสภาวิชาชีพมีกฎหมายของตนเอง และอยู่ภายใต้การดูแลของศาลปกครอง รัฐมนตรีไม่มีอำนาจในการสั่งการ  อีกทั้ง รัฐมนตรีจากกระทรวงไหนก็ไม่ได้ระบุ หากเขียนกฎหมายแบบนี้คงผ่านไม่ได้ ขณะที่มาตรา 25 ระบุไว้ว่าให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังสมทบเงินเข้ากองทุน ก็ดูเป็นเรื่องยาก  เพราะเรื่องนี้ต้องหารือหลายฝ่าย และมาตรา 44 ที่กำหนดให้ความผิดในคดีอาญาเป็นความผิดอันยอมความได้ หากเป็นความผิดอันเนื่องมาจากการให้บริการสาธารณสุข ซึ่งในความจริงแล้วความผิดตามกฎหมายอาญาแผ่นดิน อย่าง การทำให้คนเสียชีวิตเป็นกรณียอมความไม่ได้ ก็เปรียบกับผู้เสียหายฯ หากเสียชีวิตและมีการยอมความย่อมไม่ยุติธรรม เป็นแน่

นายดล บุนนาค นักกฎหมายศาล ผู้พิพากษา หัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา  กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้ดี แต่ยังมีข้อบกพร่อง  อย่างมาตรา 3  สำหรับคำนิยามของผลกระทบ ให้หมายถึงภาวะความพิการ การสูญเสียสมรรถภาพทางร่างกาย ซึ่งแสดงว่าหากเสียชีวิต หรือภาวะแท้ง จะไม่จ่ายค่าชดเชยหรืออย่างไร  มาตรา 5 ตรงนี้เห็นด้วย เพราะร่าง พ.ร.บ.ฉบับรัฐบาลไม่มี คือ ภายใต้ภาวะเร่งด่วนที่เป็นไปเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยหรือทารกในครรภ์ให้พ้นจากอันตรายต่อชีวิตหรือความพิการใดๆ หากการกระทำก่อให้เกิดผลกระทบใดๆ ผู้ประกอบวิชาชีพย่อมได้รับความคุ้มครอง

นายดล กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการพิจารณาเปรียบเทียบร่างทั้ง 2 ร่าง คือ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ฉบับรัฐบาล และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบ ฉบับของแพทย์ นั้น มีความเห็นว่า กฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้สามารถที่จะบูรณาการหลักบางข้อมาใช้ร่วมกันได้ เช่น ระบบไกล่เกลี่ยนั้นเป็นข้อดีของฉบับรัฐบาล ขณะที่ พ.ร.บ.ที่เป็นฉบับของแพทย์นั้นก็มีข้อดีของเรื่องของการเสนอแนะให้หาทางออกของยุติการฟ้องร้อง เพื่อป้องกันการจ่ายเงินชดเชยที่ซ้ำซ้อน แต่ก็ยังไม่ชัดเจนในรายละเอียด ซึ่งผมคิดว่าสามารถปรับปรุงได้ และหากมีการผสมผสานหลักการอย่างลงตัวของทั้ง 2 ร่างแล้วนำเสนอเข้าสภา ก็จะทำให้ขั้นตอนของการพิจารณาเป็นไปอย่างรวดเร็วและได้กฎหมายที่สมบูรณ์ ตรงใจของแต่ละฝ่าย ซึ่งในส่วนของข้อเสนอแนะนี้ปัญหาติดอยู่ที่หน่วยงานใดจะเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการดังกล่าว

“สิ่งหนึ่งที่น่าห่วง คือ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบฯ ที่เสนอโดยกลุ่มแพทย์นั้น ไม่ได้ผ่านกฤษฏีกาแต่เน้นการเสนอเข้าที่ประชุมสภาฯ เลย นั่นหมายความไม่มีการขัดเกลาหลักการให้เป็นไปตามภาษาทางกฎหมาย อาจจะทำให้สภาฯมีความเข้าใจผิดเพี้ยนได้” นายดล กล่าว

ด้าน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากการพิจารณาร่าง ของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบฉบับของแพทย์นั้น ก็เห็นกันชัดๆอญู่แล้วว่ามีข้อบกพร่องหลายประการตามที่นักกฎหมายจากภาคส่วนต่างๆ ได้วิพากษ์วิจารณ์กัน อย่างไรก็ตามจากข้อเสนอแนะของนักกฎหมายที่มีการเสนอให้ผสมผสานหลักการ ของทั้ง 2 ร่าง โดยรวมรวมเอาข้อดีของแต่ละฝ่ายมารวมกัน แล้วปรับปรุงเพิ่มเติม จากนั้นก็เสนอเข้าสภา ตนก็พร้อมจะดำเนินการหากทางกลุ่มแพทย์ไม่ขัดข้อง แต่ยังยืนยันเหมือนเดิมว่า ในเรื่องรายละเอียดที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมขอให้ไปคุยกันหลังผ่านชั้นกรรมาธิการ

24 กันยายน 2553

Next post > ศูนย์วิทย์ฯนครสวรรค์พบเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษในยาสมุนไพร

< Previous post หมอเตรียมสไตรค์! กดดันค้าน พ.ร.บ.คุ้มครองฯ เอ็นจีโอจวก ควรนึกถึงผู้ป่วยเป็นหลัก

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด