logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

Link : http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9530000110042

สธ. เปิดโปงการคุมคามของอุตสาหกรรมยาสูบ มุ่งขยายตลาดนักสูบบุหรี่ไปที่กลุ่มผู้หญิง โพลระบุวัยรุ่นหญิง กทม.สูบบุหรี่สูงร้อยละ10 ชี้หญิงไทยส่วนใหญ่เริ่มสูบบุหรี่มวนแรกที่สถานบันเทิง ยึดผับ-บาร์เป็นพื้นที่สูบ แถมสูบจัดกว่าปกติ 1 เท่า อ้างสูบได้ไม่ถูกตีตราเป็นผู้หญิงไม่ดี แถมสร้างอิมเมจเท่ดูดี แนะบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด

โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ วันนี้ (9 ส.ค.) ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมการยาสูบ มหาวิทยาลัยมหิดล (ศจย.) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน จัดการประชุมวิชาการ “บุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ” ครั้งที่ 9 ขึ้น โดยนพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประธานเปิดการประชุม กล่าวว่า ผู้หญิงต้องรู้เท่าทันอุตสาหกรรมบุหรี่ โดยสถานการณ์การสูบบุหรี่ของผู้หญิงประเทศไทย จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ผู้หญิงสูบบุหรี่ประมาณ 800,000 คน คิดเป็น ร้อยละ 3.1 ของจำนวนผู้หญิงไทยทั้งหมด คิดเป็นมูลค่าบุหรี่ที่ซื้อมาสูบปีละสูงถึง 1,763 ล้านบาท ข้อมูลเหล่าคงพอทำให้เห็นว่า หากขยายตลาดไปสู่ลูกค้าเพศหญิงให้มากขึ้น จะทำกำไรได้มากมายมหาศาลเพียงไร

นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย กล่าวว่า บริษัทบุหรี่ข้ามชาติที่มาจำหน่ายในประเทศไทยไม่สามารถทำการตลาดได้เหมือนที่ไปขายในประเทศอื่นๆ จึงได้หาหนทางเพิ่มยอดจำหน่ายด้วยวิธีต่างๆ โดยเฉพาะการจัดอีเวนต์ในบาร์มืดๆ ซึ่งบริษัทบุหรี่ไม่จัดการเอง แต่จ้างบริษัทจัดเหตุการณ์ดำเนินงานแทน และพบว่ามีโฆษณาในเว็บไซต์หางาน ประกาศรับสมัครหญิงสาวจำนวนมากเพื่อไปทำงานเป็นพริตตี้ให้บุหรี่ดัง ซึ่งมักเป็นหญิงสาววัยรุ่นทำงานในบาร์ โดยแขวนถาดบุหรี่เดินทักทายแขกและเชิญชวนให้ทดลองบุหรี่ยี่ห้อต่างๆ อาจมีของชำร่วยแจกหรือแถมให้ลูกค้าที่ซื้อบุหรี่ ซึ่งการกระทำเหล่านี้ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ

 

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ที่สำคัญที่สุดคือ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยกรมสรรพสามิตต้องจับกุมบุหรี่ที่ผลิตสำหรับผู้หญิงที่ยังไม่ได้รับการอนุญาตให้นำเข้า แต่มีการวางขายตามที่ต่างๆ อย่างผิดกฎหมาย เช่น ตลาดนัดจตุจักร สยามสแควร์ และสะพานพุทธ ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า วัยรุ่นหญิงจำนวนมากเริ่มติดบุหรี่ที่ผับบาร์ ตำรวจจึงต้องกวดขันการห้ามสูบบุหรี่ในผับบาร์ ไม่ใช่ปล่อยปละละเลย โดยกระทรวงสาธารณสุขต้องดำเนินคดีต่อบริษัทบุหรี่ที่ใช้พริตตี้ส่งเสริมการขายตามผับบาร์ต่างๆ รวมทั้งการจัดงานอีเวนต์แนะนำบุหรี่ยี่ห้อต่างๆ

 

นายเทวินทร์ อินทรจำนงค์ ศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน ม.อัสสัมชัญ (เอแบคโพลล์) เปิดเผยงานวิจัยเรื่อง พฤติกรรมและทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นหญิงไทย โดยสำรวจวัยรุ่นหญิงไทยอายุ 15-25 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทั่วไป 1,047 ตัวอย่าง และกลุ่มที่สูบบุหรี่ 200 ตัวอย่าง พบว่า กลุ่มวัยรุ่นหญิงที่สูบบุหรี่ มีอัตราร้อยละ 10.2 แบ่งเป็นสูบประจำ ร้อยละ 3.2 สูบเป็นครั้งคราว ร้อยละ 7 โดยสูบบุหรี่ในสถานบันเทิงมากที่สุด ร้อยละ 68.5 รองลงมาคือที่บ้าน ร้อยละ 52.0 ที่ทำงาน ร้อยละ 28.5 และสวนสาธารณะ ร้อยละ 17.0 สถานที่ที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรก คือ สถานบันเทิงมากที่สุด ร้อยละ 45.2 รองลงมาคือ ในโรงเรียน สถานศึกษาร้อยละ 24.1 และที่บ้านร้อยละ 11.1

 “กลุ่มตัวอย่างที่สูบบุหรี่ ร้อยละ 45.7 มีความคิดที่จะเลิกบุหรี่ เพราะเห็นว่าการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อร่างกาย/เสียสุขภาพ และสิ้นเปลืองเงิน ขณะที่อีกร้อยละ 54.7 ยังไม่คิดที่จะเลิกสูบ เพราะคิดว่าต้องการคลายเครียด/เพื่อความสบายใจ และเห็นว่าร่างกายยังแข็งแรงดีอยู่ ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่าง มีข้อเสนอด้านการรณรงค์ว่า ควรนำเสนอโทษและพิษภัยของบุหรี่ให้ชัดเจนขึ้น โดยร่วมมือกันทุกฝ่าย เน้นรณรงค์แก้ปัญหาในกลุ่มเด็กวัยรุ่น สื่อโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ และใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างจริงจัง” อาจารย์เทวินทร์ระบุ

ด้าน รศ.ดร.พิมพวัลย์ บุญมงคล คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล เปิดเผยงานวิจัยเรื่อง บุหรี่ในสถานบันเทิงจากนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยงานวิจัยชี้ ว่า สถานบันเทิงเป็นพื้นที่ให้ผู้หญิงสูบและติดบุหรี่ มีผู้หญิงที่สูบบุหรี่ในขณะเที่ยวสถานบันเทิงถึงร้อยละ 28 ของจำนวนนักเที่ยวที่สูบบุหรี่ทั้งหมด แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขจะได้ออกกฎหมายการห้ามสูบุหรี่ในสถานบันเทิง แต่ผู้หญิงที่เที่ยวเหล่านี้ก็ยังคงสูบบุหรี่ในสถานบันเทิง ซึ่งมีแบบแผนการสูบบุหรี่ตั้งแต่ 5 มวน ถึง 2 ซองในการเที่ยวแต่ละครั้ง ซึ่งมากกว่าการสูบในชีวิตประจำวันถึง 1 เท่าตัว โดยจะสูบบุหรี่ในผับบาร์พร้อมกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเมื่อเห็นคนข้างๆ สูบบุหรี่ สูบเพื่อฆ่าเวลาเมื่อต้องนั่งรอเพื่อนอยู่คนเดียว สูบแก้เขิน สูบเมื่อเริ่มคุยกับเพื่อนๆ สูบก่อนและหลังการกินอาหาร

รศ.ดร.พิมพวัลย์กล่าวต่อว่า ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ในสถานบันเทิงจะให้คุณค่าเชิงสังคมของการสูบบุหรี่มากกว่าการคำนึงถึงประเด็นความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพของตนเองและคนข้างเคียง เพราะการสูบบุหรี่ในสถานบันเทิงทำให้ผู้หญิงไม่ถูกตีตราจากสังคมว่าเป็นผู้หญิง “ไม่ดี” เนื่องจากสูบกันทั้งกลุ่ม อีกทั้งยังรู้สึกว่าการสูบบุหรี่เป็นส่วนหนึ่งของการสังสรรค์พูดคุย และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับเพื่อนๆ เป็นส่วนหนึ่งของการผ่อนคลาย เหตุผลที่สำคัญผู้หญิงหลายคนสูบบุหรี่ในสถานบันเทิงเพราะคิดว่าเป็นเรื่องของการสร้างอิมเมจ เป็นความเท่ ทำให้ดูดี ดูก๋ากั่น ดูแรง เป็นเด็กแนว มีความเป็นแบบฉบับ และชนิดบุหรี่ที่สูบจะถูกเลือกให้ผูกโยงกับเสื้อผ้า กระเป๋า และรองเท้าที่ใส่ ท่าทางการเต้นรำ

“สังคมจำเป็นต้องทำงานและรณรงค์เชิงความคิดกับกลุ่มวัยรุ่นหญิงที่สูบบุหรี่ สามารถ ค้นหาพฤติกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่การสูบบุหรี่ แต่เป็นสิ่งที่ช่วยเติมเต็มความต้องการของผู้หญิงที่สามารถเป็นแบบฉบับของผู้หญิงที่ได้รับการยอมรับ และสังคมให้คุณค่า ขณะเดียวกัน รัฐบาลต้อง มีมาตรการเพื่อบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้นกับสถานบันเทิงที่ยังมีผู้สูบบุหรี่ เพื่อลดพื้นที่เสี่ยงที่ผู้หญิงจะสูบและติดบุหรี่” รศ.ดร.พิมพวัลย์กล่าว

1 ธันวาคม 2554

Next post > สธ. ทุ่มงบ 290 ล้านบาท สร้างอาคารกระตุ้นพัฒนาการเด็กครบสูตรที่สุดในเอเชีย เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาในหลวง

< Previous post นักวิจัยแนะผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติปลอดภัยสูง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด