logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ทีมนักวิจัยโครงการ “การประเมินความคุ้มค่าและความเป็นไปได้ของการใช้ยาต้านไวรัสสูตรยา 3 ตัว เป็นสูตรมาตรฐานของการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกในประเทศไทย” จัดประชุมนำเสนอผลวิจัยเบื้องต้น

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2552 ทีมนักวิจัยในโครงการ “การประเมินความคุ้มค่าและความเป็นไปได้ของการใช้ยาต้านไวรัสสูตรยา 3 ตัว เป็นสูตรมาตรฐานของการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกในประเทศไทย” ด้วยความร่วมมือจากสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยการสนับสนุนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดการประชุมเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยเบื้องต้น ณ ห้องประชุม HITAP กรมอนามัย

ทีมนักวิจัยประกอบด้วย ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ จากภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล พญ.นิตยา ภานุภาค พึ่งพาพงศ์ จากศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย พญ.นิพรรณพร วรมงคล,คุณ   นรีลักษณ์ กุลฤกษ์ จากสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย นพ.สราวุฒิ บุญสุข จากโรงพยาบาลเบญจลักษณ์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดศรีสะเกษ และนักวิจัย HITAP โดย ภญ.พิศพรรณ วีระยิ่งยง และดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ได้นำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นให้แก่ผู้เชี่ยวชาญที่มาร่วมให้ข้อคิดเห็น ทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่ดำเนินการ ได้แก่ นพ. สรกิจ ภาคีชีพ จากกองทุนเพื่อบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ป่วยวัณโรค สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นพ.สมสิทธิ์ ตันศุภสวัสดิกุล จากสถาบันบำราศนราดูร รศ.นพ.วรพงษ์ ตันติศิริรัตน์ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คุณอารีย์ ฉัตรชัยรัตนเวช จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ คุณกฤษณา  ฤทธิ์เดช จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว และคุณฉัตรพิไล เจียระไน จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล ข้อเสนอแนะและประเด็นการนำเสนอในเชิงนโยบายที่ได้รับ รวมถึงปัญหา อุปสรรคและวิธีการแก้ไขที่เกิดขึ้นในจังหวัดที่ให้สูตรยา 3 ตัวแก่หญิงตั้งครรภ์ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดสตูล หากมีการพิจารณาสูตรยา 3 ตัวเป็นสูตรมาตรฐานในประเทศไทย เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเอดส์ในแม่และเด็ก กระทรวงสาธารณสุขต่อไป

24 กันยายน 2552

Next post > HITAP จัดการอบรมเรื่อง “การวิจัยเชิงคุณภาพ” เพื่อปรับพื้นฐานความรู้และเตรียมความพร้อมทีมนักวิจัยก่อนลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานวิจัย

< Previous post นักวิจัย HITAP ลงพื้นที่เก็บข้อมูลโครงการ “ประเมินผลสัมฤทธิ์และปัจจัยที่มีผลต่อการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smears และ Visual Inspection with Acetic (VIA)” ที่จ.เชียงใหม่

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด