logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
“การกำหนดกรอบการตัดสินใจเพื่อการลงทุนด้านสุขภาพในประเทศไทย”

“การกำหนดกรอบการตัดสินใจเพื่อการลงทุนด้านสุขภาพในประเทศไทย”

       เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2552 ภญ.ศิตาพร ยังคง นักวิจัย HITAP ในฐานะนักวิจักหลักในโครงการ จัดการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อกำหนดเกณฑ์การตัดสินใจ โครงการวิจัย “การกำหนดกรอบการตัดสินใจเพื่อการลงทุนด้านสุขภาพในประเทศไทย” โดยได้เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในเชิงนโยบาย ได้แก่ นพ.วินัย โชควิวัฒน ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการคุ้มครองวิจัยในมนุษย์  ศ.ดร.อัมมาร์ สยามวาลา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข คุณสุวิภา สุขวณิชนันท์ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานค่าตอบแทนและสวัสดิการ กรมบัญชีกลาง คุณกุลเศขร์ ลิมปิยากร นักวิชาการคลัง สำนักมาตรฐานค่าตอบแทนและสวัสดิการ  ดร.นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ  พล.ต.ต.นพ.ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์ คณะกรรมการการแพทย์ เข้าร่วมพิจารณาและกำหนดเกณฑ์ที่สำคัญสำหรับการตัดสินใจเพื่อการลงทุนด้านสุขภาพในประเทศไทย

ปัจจุบันนวัตกรรมด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นยา เครื่องมือแพทย์ หัตถการ การบริการทางด้านสุขภาพและนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (Health interventions) ที่ทันสมัยและหลากหลายเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความต้องการของคนก็มีเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ทรัพยากรด้านสุขภาพที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้นไม่สามารถรองรับความต้องการทั้งหมดที่มีเพิ่มขึ้นได้ จึงมีความจำเป็นที่การตัดสินใจเพื่อการลงทุนด้านสุขภาพในประเทศไทยควรมีความสมเหตุสมผลและเป็นไปตามลำดับความสำคัญของเทคโนโลยีและการบริการด้านสุขภาพ

การพิจารณว่า เทคโนโลยีและการบริการด้านสุขภาพใดที่รัฐควรจัดให้บริการแก่ประชาชนคนไทย จัดได้ว่าเป็นการลงทุนด้านสุขภาพที่สำคัญของประเทศ ทั้งนี้ในการพิจารณาความสำคัญของเทคโนโลยีและนโยบานด้านสุขภาพนั้น ไม่ควรใช้เกณฑ์หรือหลักฐานใดเพียงหลักฐานหนึ่งมาใช้ในการตัดสินใจ แต่ควรจะใช้เกณฑ์หรือหลักฐานอื่นๆ ที่หลากหลายประกอบการตัดสินใจด้วย และที่ผ่านมาการตัดสินใจในประเด็นเหล่านี้ในประเทศไทยยังไม่ชัดเจน ดังนั้นงานวิจัยโครงการนี้จึงมีขึ้นเพื่อพัฒนากรอบการตัดสินใจที่ประกอบด้วยเกณฑ์ที่หลากหลายร่วมกันเพื่อใช้ในการคัดเลือกเทคโนโลยีและการบริการด้านสุขภาพเข้าสู่ระบบสุขภาพของประเทศไทย ซึ่งโครงการวิจัยนี้ไม่ได้พิจารณาเพียงกลุ่มผู้กำหนดนโยบายเท่านั้น แต่จะพิจารณามุมมองของประชาชนทั่วไปด้วยว่าประชาชนทั่วไปคิดอย่างไรถ้าเขามีสิทธิ หรือสามารถที่จะตัดสินใจในเรื่องนี้ได้

สำหรับเกณฑ์การตัดสินใจที่ผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอในที่ประชุมประกอบด้วย ผลลัพธ์ด้านสุขภาพ (ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ) จำนวนผู้ที่ได้รับประโยชน์ การติดต่อ/แพร่ระบาดของโรค ความรุนแรงของโรค กลุ่มเป้าหมายที่เปราะบาง คุณภาพของข้อมูลที่ใช้ ความคุ้มค่า (ในระดับประเทศ) ผลกระทบเชิงงบประมาณ และความเป็นไปได้ของการนำไปปฏิบัติ ซึ่งเมื่อได้เกณฑ์แล้วนักวิจัยจะนำมาออกแบบสอบถามในการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มผู้กำหนดนโยบายและกลุ่มตัวแทนประชาชนต่อไป

14 กันยายน 2552

Next post > นักวิจัย HITAP ลงพื้นที่เก็บข้อมูลโครงการ “ประเมินผลสัมฤทธิ์และปัจจัยที่มีผลต่อการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smears และ Visual Inspection with Acetic (VIA)” ที่จ.เชียงใหม่

< Previous post การประเมินนโยบายการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด