logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 56 หน่วยงานประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพจาก 7 ประเทศ และ NIICE international ภายใต้เครือข่าย HTAsiaLink จัดวงเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องการก่อตั้งหน่วยงานประเมินฯ ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยมีตัวแทน จาก 3 ประเทศได้แก่ จีน เกาหลี และฟิลิปปินส์ นำเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในประเทศของตน

 

วงเสวนาเริ่มจากการนำเสนอประสบการณ์ของหน่วยงาน HTA จาก 3 ประเทศ คือ China HTA Center ประเทศจีน, National Center for Pharmaceutical Access & Management ประเทศฟิลิปปินส์ และ National Evidence-based healthcare Collaborating Agency (NECA) สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีความเป็นมา และช่วงเวลาก่อตั้งที่ต่างกัน

 

สาเหตุหลักของการก่อตั้งหน่วยงานเพื่อการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพล้วนมาจากปัญหาคล้าย ๆ กัน คือการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในระบบสุขภาพของประเทศและปัญหาการใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพอย่างไม่สมเหตุสมผล ในขณะที่งบประมาณด้านสุขภาพนั้นมีจำกัด จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีระบบมาช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายตัดสินใจบนหลักฐานวิชาการที่มีมาตรฐาน โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ใช้ระบบประกันสุขภาพ (Universal Health Coverage)

 

ดร. เวอร์จิเนีย อลา จาก National Center for Pharmaceutical Access & Management, Department of Health ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งกำลังจะตั้งหน่วยงานประเมินฯในประเทศ เล่าว่าฟิลิปปินส์มุ่งมันที่จะพัฒนาระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดังนั้นการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น อย่างไรก็ดียังมีปัจจัยท้าทายอีกหลายอย่าง เช่น การจะปรับทัศนคติของผู้กำหนดนโยบายต่อการตัดสินใจโดยใช้หลักฐานวิชาการ การสร้างระบบประเมินที่มีความยั่งยืน และที่สำคัญต้องเป็นระบบที่ต้องสนองความต้องการของคนในพื้นที่อย่างแท้จริง

 

ในการนำเสนอแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าการก่อตั้งหน่วยงาน HTA ในแต่ละประเทศที่มีช่วงเวลาการเติบโตที่แตกต่างกัน ต่างก็พบปัญหาที่ต่างกัน ดังนั้นการมีเครือข่ายระหว่างกัน เป็นช่องทางที่จะทำให้แต่ละหน่วยงานสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และนำข้อมูลที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการทำงานในประเทศของตน

1 มีนาคม 2556

Next post > HITAP ร่วม Think Tank เวทีเชื่อมงานวิจัยเพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

< Previous post กูรู HTA ปาฐกถาเรื่องการสร้างสมดุลระหว่าง 'คุณภาพ' กับ 'ประสิทธิภาพ' ในระบบบริการสุขภาพของอังกฤษ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด