logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
เช็คสุขภาพ ก่อนสตาร์ท

วันหยุดที่ผ่านมา ขณะกำลังพักผ่อนอย่างสบายใจ พลันเสียงโครมดังสนั่นมาจากบ้านข้าง ๆ พร้อมเสียงคนตะโกนตกอกตกใจ ถามไปถามมา เกิดจากคุณลุงบ้านข้าง ๆ อายุเกือบ 70 ขับรถชนประตูบ้านพังขณะกำลังจะออกไปข้างนอก เคราะห์ร้ายซ้ำเมื่อคุณลุงพยายามเข้าไปซ่อมประตูด้วยตนเอง ทำให้ประตูหล่นทับ ต้องเข้าโรงพยาบาล เย็บหลายเข็ม โชคยังดีที่ไม่เกิดเหตุร้ายแรงกว่านี้

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจากคุณลุงอาจมองเห็นไม่ชัดเจน และการตอบสนองช้า เพราะอายุที่มากขึ้น เช่นเดียวกับคุณพ่อ-คุณแม่ของผู้เขียน ที่หลาย ๆ ครั้ง เมื่อขับรถเอง ก็ได้รอยมารอบคัน แม้กระทั่งหลับใน หลัง ๆ จึงอาสาเป็นพลขับให้ หลาย ๆ บ้านที่มีผู้สูงอายุคงประสบเหตุการณ์คล้าย ๆ กัน เนื่องจากผู้สูงอายุหลายท่านมีใบขับขี่ตลอดชีพ ที่เพิ่งจะยกเลิกการจดทะเบียนแบบนี้ไปเมื่อปี 2546 ใบขับขี่ประเภทนี้ไม่มีระบบการตรวจสภาพร่างกายของผู้ถือใบขับขี่อีกเลยภายหลังจากได้ใบขับขี่

อุบัติเหตุทางถนน เป็นหนึ่งสาเหตุของการบาดเจ็บและเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย คู่คี่ไปกับโรคไม่ติดต่ออย่าง มะเร็ง เบาหวาน ความดันเลยทีเดียว ในขณะที่โรคทางกายเหล่านั้น มีแนวทางการตรวจคัดกรองและให้การรักษาอย่างเป็นรูปธรรม แต่กลับไม่เคยมีหน่วยงานใดพูดถึงเรื่องการประเมินความพร้อมด้านสุขภาพของผู้ขับขี่ยานพาหนะ

ที่ผ่านมา การขอใบอนุญาตขับขี่หรือต่ออายุใบขับขี่แบบ 5 ปีในประเทศไทย กำหนดให้มีการตรวจคัดกรองสุขภาพและตรวจสมรรถภาพของร่างกายเบื้องต้น เช่น การทดสอบตาบอดสี การทดสอบปฏิกิริยาในการตัดสินใจ การทดสอบสายตาทางลึก การทดสอบสายตาทางกว้าง ผู้ขออนุญาตใบขับขี่ต้องยื่นใบรับรองแพทย์ แต่การขอใบรับรองแพทย์ในปัจจุบันเน้นโรคติดต่อ และโรคติดต่อน่ารังเกียจ เช่นโรคเรื้อน และโรคเท้าช้าง แต่ไม่ได้ระบุโรคที่มีผลต่อการขับขี่อย่างปลอดภัยเหมือนในต่างประเทศ

เพื่อหาข้อสรุปเรื่องนี้ HITAP ได้ทบทวนประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของนโยบายหรือมาตรการคัดกรองสุขภาพที่ใช้ในการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนนในระดับประชากร โดยรวบรวมแนวทางการตรวจสุขภาพเพื่อป้องกันอุบัติเหตุระดับประชากร และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

ผลการทบทวนพบว่า มาตรการเหล่านี้มีประสิทธิภาพ หากใช้ในตรวจคัดกรองสุขภาพเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนนในระดับประชากร
1. ตรวจคัดกรองความชัดเจนในการมองเห็นสำหรับประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในการต่ออายุใบขับขี่
2. ปรับเปลี่ยนรายการตรวจร่างกาย เพื่อประกอบการขออนุญาตใบขับขี่
3. การคัดกรองผู้มีปัญหาการดื่มสุราในกลุ่มผู้ขับขี่รถส่วนบุคคลและรถสาธารณะ
4. การตั้งด่านตรวจแอลกอฮอล์ และการนำเครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ (เครื่องมือวัดระดับแอลกอฮอล์ล็อกสตาร์ท) มาบังคับใช้กับผู้ต้องหาคดีเมาแล้วขับ
5. ศึกษาเพิ่มเติมถึงประสิทธิผลและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ของการคัดกรองภาวะตาบอดสี และมาตรการคัดกรองสุขภาพเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนนในกลุ่มวัยรุ่นและจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียชีวิตของประชากรไทย

ทั้งนี้ทั้งนั้น HITAP นำเสนอผลการศึกษาต่อ สปสช. ซึ่งส่วนหนึ่งของ โครงการ การศึกษาเพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ด้านการคัดกรองทางสุขภาพระดับประชากรในประเทศไทย ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงการพิจารณา และศึกษาความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริง เราก็หวังว่างานวิจัยชิ้นเล็ก ๆ ของเราจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสุขภาพคนไทยCarcrash

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ประสิทธิผลและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของมาตราการตรวจคัดกรองสุขภาพเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนน (2556)

วันหยุดที่ ...อ่านต่อ
18 กุมภาพันธ์ 2558

Next post > ข่าวความคืบหน้าโครงการพัฒนาศักยภาพด้าน HTA ในภูมิภาคเอเชีย และ ความเคลื่อนไหวของเครือข่าย iDSI

< Previous post การตรวจกรองและวินิจฉัยก่อนคลอด ของกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมในประเทศไทย

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ