logo
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
หาหมอที่บ้าน หยุดโรค (โลก) ร้อน ระบบสาธารณสุข การเดินทางไปหาหมอ เรากำลังทำโลกร้อนอยู่หรือเปล่า?

ในเดือนที่ร้อนที่สุดของปีแบบนี้ โรคภัยต่าง ๆ ก็เข้ามาสุมรุมตัวทุกท่านไปหมด ปัญหาในยุคปัจจุบัน เรื่องของโรคภัยไข้เจ็บนั้นพัฒนาเกินไปมากกว่าคำว่า โรคที่เกิดเพราะความร้อน และ หากครอบคลุมไปถึง ภาวะโลกร้อน ที่ได้เข้ามาเกี่ยวข้อง แล้ว ‘โรค’ กับ ‘โลกร้อน’ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร อยากชวนให้ทุกท่านได้มาหาคำตอบไปพร้อมกับ HITAP ในบทความฉบับนี้

 

โรค (โลก) ร้อน

หน้าร้อนเวียนมาถึง อากาศก็ร้อนขึ้นทุกปี ๆ ชนิดที่หลายคนไม่อยากจะก้าวออกจากบ้านถ้าไม่จำเป็น แต่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังก็ยังต้องออกไปหาหมอ และเสี่ยงที่จะเป็นโรคที่เกิดจากอากาศร้อน เช่น ฮีทสโตรก (heat stroke) ไปอีก บริการหนึ่งในโลกยุคดิจิทัลที่เกิดขึ้น และ ผู้คนได้ใช้กันมากมายในยุค โควิด19 ได้แก่บริการ การแพทย์ทางไกล ถ้าบริการนี้สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ มันจะดีแค่ไหน ที่ใคร ๆ ก็สามารถหาหมอจากที่ไหนก็ได้

หาหมอที่บ้าน

อาจจะไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝัน หรือเกินจริง เพราะ จากช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ทุกคนล้วนผ่านบริการนี้มาแล้ว หรือ ระบบในโรงพยาบาลก็มีการประสานการใช้การแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine เข้ามาในกระบวนการจ่ายยา เพื่อให้ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางออกจากบ้าน ลดความเสี่ยงในการกระจายเชื้อ และ รับเชื้อ

ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ผู้ป่วยที่ใช้การแพทย์ทางไกลเข้ามาร่วมด้วยมากที่สุด ได้แก่โรคต่อไปนี้

นอกจากนี้ ขณะนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยังเริ่มโครงการนำร่องให้ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้บริการการแพทย์ทางไกลได้ใน 42 กลุ่มโรคและอาการ (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ ลิงก์)

 

ทำให้เกิดความสะดวกโดยไม่ต้องเดินทางออกจากบ้าน ประสบปัญหารถติด อากาศร้อน และเสี่ยงต่อ โรคลมแดดที่ได้กล่าวไปข้างต้นอีกด้วย

 

ในโลกของสาธารณสุข โลกร้อนจากการเดินทางของผู้ใช้บริการมากที่สุด

รู้หรือไม่ว่าในจำนวนโครงการต่าง ๆ ในสถานพยาบาล การแพทย์ทางไกล (telemedicine) อาจช่วยลดโลกร้อนได้มากที่สุด

โครงการ GREEN and CLEAN Hospital ของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้โรงพยาบาล ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจะต้องเป็นโรงพยาบาลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชน และมีกิจกรรมตั้งแต่การจัดการขยะ ลดใช้พลังงานในโรงพยาบาล ไปจนการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อลดโลกร้อน โดยทำให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเทียบเท่ากับคาร์บอนไดออกไซด์ 12 ตันต่อปี (12 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือ 12 tCO2-eq)

แต่รู้หรือไม่ว่าหากมีวิธีลดการเดินทางของผู้ป่วยมาที่โรงพยาบาลได้ อาจเป็นการช่วยลดโลกร้อนที่ตรงจุดที่สุด เพราะงานวิจัยของ HITAP พบว่า “การเดินทางไปโรงพยาบาลของผู้ป่วยและญาติ” คือกิจกรรมที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด

แหล่งกิจกรรมหลักที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสถานพยาบาลในประเทศไทยปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาลระดับใด ก๊าซเรือนกระจกกว่าครึ่งก็เกิดจากการเดินทางของผู้ใช้บริการทั้งสิ้น ก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นแค่ส่วนน้อย โดยเฉพาะในสถานพยาบาลระดับตติยภูมิที่มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก ก๊าซเรือนกระจก 97% เกิดจากการเดินทาง ส่วนก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานไฟฟ้าคิดเป็นเพียง 3% เท่านั้น

 

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะช่วยกันหาทางลดการเดินทางของผู้ใช้บริการลง เพื่อรักษาให้โลกร้อน ๆ ใบนี้ยังร่มเย็นต่อไปได้อีกสักหน่อยก็ยังดี

 

ที่มา:

https://env.anamai.moph.go.th/web-upload/migrated/files/env/n532_448e22832ec79c42fbd7cf0e413bb95c_c004.pdf https://www.hfocus.org/content/2014/11/8722

 

อ้างอิง

“สปสช.เพิ่มบริการการแพทย์ทางไกล ดูแล 42 กลุ่มโรคผ่านแอปสุขภาพ นำร่องพื้นที่ กทม.” focus.org, 24 Oct. 2022, www.hfocus.org/content/2022/10/26244.

“สปสช.บริการการแพทย์ทางไกล 42 โรค นำร่อง กทม.เริ่ม 26 ธ.ค.นี้.” YouTube, 25 Dec. 2022, www.youtube.com/watch?v=Xh2tkdxwPDY.

“Policy Brief ฉบับที่ 152: บริการสุขภาพยุคใหม่ การศึกษาเพื่อสนับสนุนระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine).” www.hitap.net, www.hitap.net/documents/186238. Accessed 4 Apr. 2023.

“เอกสารแนบ 6: Policy Brief: ฉบับที่ 154: เมื่อโรคร้ายทำโลกร้อน ประเมินการ ‘ปล่อยก๊าซเรือนกระจก’ ของสถานพยาบาลในประเทศไทย.” www.hitap.net, www.hitap.net/documents/186119. Accessed 4 Apr. 2023.

28 เมษายน 2566

Next post > เลิกเหล้าได้ ไม่ต้องรอเข้าพรรษา naltrexone และ acamprosate ยาเลิกเหล้าที่เราถามหา

< Previous post ไตเขาไตเรา ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย รักษาอย่างไรได้บ้าง

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ