logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
โย่ว และนี่คือปัญหาที่อยู่ในวัด ทุกข์ “พระ” โภชนาการ ปัญหาเร่งด่วนของโรคเรื้อรังในพระสงฆ์ที่ถูกมองข้าม

วันมาฆบูชาถือเป็นวันสำคัญที่ชาวพุทธจะนิยมออกมาทำพิธีกรรมทางศาสนาต่าง ๆ เช่น เวียนเทียน ทำบุญ ตักบาตร รวมถึงถวายปัจจัย เป็นต้น ทว่าประเด็นหนึ่งที่อาจถูกมองข้ามคือ เรื่องสุขภาพ การปฏิบัติศาสนากิจต่าง ๆ รวมถึงโภชนาการของพระสงฆ์ HITAP ขอชวนทุกท่านมองเรื่องสุขภาพของพระสงฆ์ผ่านงานวิจัยว่ามีเรื่องน่าเป็นห่วงอย่างไรบ้าง

 

พระเสี่ยงโรค NCDs ต่อเนื่อง

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases – NCDs) ถือเป็นปัญหาสำคัญในแวดวงสุขภาพระดับโลกที่องค์การอนามัยโลกพบว่า ผู้คนเริ่มเสียชีวิตด้วยโรคกลุ่มนี้กันเยอะมากขึ้น ไม่เว้นแม้ในกลุ่มพระสงฆ์ ซึ่งโรคในกลุ่มนี้ได้แก่ โรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการกิน การดื่ม การสูบบุหรี่ รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายที่น้อยเกินไป ซึ่งก็ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิต หรือไขมันในหลอดเลือด

มีการศึกษาในประเด็นเกี่ยวกับโรคในกลุ่ม NCDs ในพระสงฆ์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 จนถึงผลการสำรวจคัดกรองในปี 2561 ผลพบว่า พระสงฆ์มีปัญหาสุขภาพจากโรคในกลุ่ม NCDs อย่างต่อเนื่อง โดยโรคที่พบได้มาก ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง รวมถึงโรคอื่น ๆ ที่การคัดกรองในแต่ละพื้นที่พบแตกต่างกันไป เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคอ้วน และโรคถุงลมโป่งพอง

 

อาหารที่ “ควร” และ “งด” ถวายพระ

พฤติกรรมการบริโภคอาหารของพระสงฆ์ถือเป็นปัจจัยหลักของความเสี่ยงโรค NCDs โดยอาหารส่วนหนึ่งมาจากการใส่บาตรทำบุญของพุธศาสนิกชน ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงมีข้อแนะนำสำหรับอาหารใส่บาตรที่ควรเพิ่มหรือหลีกเลี่ยงดังนี้

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง อาหารที่มีรสจัดทั้งหวาน มัน เค็ม เช่น แกงที่มีส่วนผสมของกะทิหรือรสหวานเป็นหลัก อาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ อาหารแปรรูป รวมถึงเครื่องดื่มที่มีรสหวาน

เมนูที่แนะนำ อาหารที่คุณค่าทางโภชณาการสูง ได้แก่ ข้าวกล้อง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดไขมันและน้ำตาลในเลือด น้ำพริกอ่อง มีส่วนประกอบของมะเขือเทศช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและช่วยบำรุงสายตา แกงส้มมะรุม ฝักมะรุมช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือดและป้องกันโรคมะเร็ง ถั่วเขียวต้มน้ำขิง ช่วยขับสารพิษในตับ และขับลมในกระเพาะอาหาร ผลไม้สด ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ และควรเลือกถวายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับมาตรฐานมีเครื่องหมายการรับรองคุณภาพจาก อย.

 

 

 

เพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มสงฆ์

หากมีการถวายปัจจัยมากเกินกว่ารับประทานได้หมด การเลือกรับประทานอาหารของสงฆ์ที่มีการถวายถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อความเสี่ยงโรคที่เพิ่มขึ้น ทว่างานวิจัยกลับพบว่า พระสงฆ์เองก็มีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ยังคงจำกัดอยู่

บทความวิชาการจากวารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 9 ฉบับที่ 5 เรื่อง “สถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทย” พบว่า พระสงฆ์ส่วนใหญ่ยังไม่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยงานวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 65% มีภาวะโภชนาการเกิน ซึ่งเป็นสภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารหรือสารอาหารมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ และเมื่อใช้แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพฉบับภาษาไทย (Thai Health Literacy Assessment Instrument: Nutrition label: THLA-N) ก็พบด้วยว่า ในกลุ่มตัวอย่างเหล่านั้นมีผู้ที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพียงพออยู่ที่ 21.2% เท่านั้น การเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มพระสงฆ์จึงอาจเป็นอีกกลไกที่ช่วยป้องกันการเกิดโรค NCDs ในพระได้

 

โรค NCDs ถือเป็นประเด็นท้าทายในแวดวงสุขภาพของผู้คนทั่วโลก ไม่ใช่เพียงในกลุ่มของพระสงฆ์ หน่วยงานและองค์กรด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุ รวมถึงมีมาตรการด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะรองรับและสนับสนุนการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

อ้างอิง

https://www.facebook.com/NHSO.Thailand/posts/pfbid0cYfc6WRStm1QKb1rX7eowtZVJL3K4mJSWd3b7ZrLJcKoSoSk8PAYuX1p9b1fybddl

https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_1368979

https://www.hiso.or.th/hiso5/healthy/news.php?names=01&news_id=10433

https://www.thecoverage.info/news/content/3134

3 มีนาคม 2566

Next post > ไตเขาไตเรา ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย รักษาอย่างไรได้บ้าง

< Previous post ระบบสุขภาพของไทยยุค Y2K เป็นอย่างไร

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ