logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
29 ก.ย. 2565 วันหัวใจโลก รู้เท่าทัน ‘หัวใจ’ ก่อนเสี่ยงเสียชีวิตด้วยหัวใจขาดเลือด

หัวใจถือเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายที่ทำงานตลอดเวลาเพื่อทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ และควบคุมการทำงานของร่างกาย แต่ในสังคมปัจจุบันที่มีการใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ จนผู้คนละเลยการดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง ความเครียดจากการทำงาน รวมถึงขาดการออกกำลังกาย ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้หัวใจทำงานหนักเกินความจำเป็นจนนำไปสู่โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเกิดจากไขมันและเนื้อเยื่อสะสมในผนังของหลอดเลือด โรคเหล่านี้คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับต้น ๆ  โดยประเทศไทยพบป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดกว่า 4 แสนราย และเสียชีวิตถึง 2 หมื่นรายขึ้นไป เนื่องจากเป็นโรคที่ผู้ป่วยจะไม่ทราบได้ทันทีว่าตนเองป่วยเป็นโรคนี้

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1) ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับไม่ได้ เช่น อายุ ประวัติครอบครัว และเชื้อชาติ

2) ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับได้ เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันชนิดโคเลสเตอรอลรงมสูง ระดับไขมันชนิดเอชดีแอล (ไขมันดี) ต่ำ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง โรคอ้วน และการสูบบุหรี่

นอกจากนี้ การเป็นโรคร่วมดังต่อไปนี้ ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้เช่นกัน ได้แก่ โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด atrial fibrillation โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายโต

วันหัวใจโลก จัดขึ้นโดยสมาพันธ์หัวใจโลก (World Heart Federation) เกิดจากความร่วมมือของสององค์กร คือ The International Society of Cardiology (ISC) และ International Cardiology Federation เพื่อชวนให้ทุกคนกลับมา “ดูแลหัวใจตัวเอง” ให้ความสำคัญกับโรคหัวใจและการป้องกันโรคหลอดเลือดในสมอง หันมาออกกำลังกาย เริ่มรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดโรค

นอกจากนี้ การคัดกรองสุขภาพถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยค้นหาความเสี่ยงในโรค เพื่อลดความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนจากโรค อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีการคัดกรองโรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดโดยตรง จึงเกิดแนวคิดเรื่องการตรวจสุขภาพ เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงของโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีทั้งปัจจัยที่ปรับเปลี่ยนได้ กับปัจจัยที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ โดยมีการประเมินความเสี่ยงโดยรวมที่เรียกว่า global risk score เป็นเครื่องมือช่วยประเมินปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยพร้อม ๆ กัน ว่าเรามีโอกาสเป็นโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดมากน้อยเพียงใด

สำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปควรตรวจคัดกรองหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด atrial fibrillation ตามสถานพยาบาล ถ้าคุณพบเห็นคนรอบข้างมีสัญญาณ ได้แก่ เจ็บหน้าอก ใจสั่น เหนื่อยง่ายและมีเหงื่อออก เป็นลมหรือหมดสติ ซี่งเป็นอาการของภาวะหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน ให้โทรแจ้งบริการแพทย์ฉุกเฉิน สายด่วน 1669 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่เสียค่าใช่จ่าย

ดังนั้นจึงถือโอกาสเนื่องในวันหัวใจโลก หันมาใส่ใจดูแลหัวใจตนเอง เริ่มเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม รักษาสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย และประเมินความเสี่ยง เพื่อให้สามารถรักษาโรคหัวใจได้อย่างทันท่วงที เพราะทุกคน มีหัวใจเพียงดวงเดียว

 

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง: การศึกษาเพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ด้านการคัดกรองทางสุขภาพระดับประชากรในประเทศไทย

29 กันยายน 2565

Next post > 15 ปี HITAP 15 การทำงานเด่น (part1) 5 ผลงานในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อคนไทยทุกคน

< Previous post EE ครั้งที่ 17 เปิดเคสจริงสอน โดยทีมวิทยากร ดร. นพ.ยศ “ยาแพงแต่จำเป็น” “ปรับเพดานความคุ้มค่า”

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ