logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
17 กลุ่มโรค…มีลุ้นพิจารณาร่วมรับยาที่ร้านยา ผลจากงานวิจัยสู่นโยบายที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น

ในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา นโยบายสุขภาพหนึ่งที่มีส่วนช่วยแก้ปัญหาความหนาแน่นในโรงพยาบาลทั้งยังลดความเสี่ยงการระบาดของโรคได้คือนโยบาย “รับยาที่ร้านยา”  ผลการประเมินพบว่ามีส่วนช่วยให้คนไข้ได้ใช้เวลาพูดคุยกับเภสัชกรมากขึ้น ทำให้ผลการรักษาดีขึ้น ทั้งยังลดความแออัดในโรงพยาบาลในช่วงโควิดได้อีกด้วย (อ่านผลการประเมินของHITAP ได้ที่นี่ https://www.nhso.go.th/news/2865)

ความสำเร็จของนโยบายได้รับการยืนยันผ่านการประเมินอย่างเป็นรูปธรรม จากเดิมที่นโยบายให้มีการรับยาที่ร้านยาได้ใน 4 กลุ่มโรคคือโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหอบหืดและโรคทางจิตเวช ถึงตอนนี้โรงพยาบาลวชิระภูเก็ตดำเนินการประเมินร่วมกับสปสช.เขต 11 ในฐานะผู้ดูแลพื้นที่ พบว่ามีกลุ่มโรคเรื้อรัง 17 กลุ่มโรคที่สามารถเข้าร่วมนโยบายนี้ได้ ได้แก่

โรคความดันโลหิตสูง

โรคเบาหวาน

โรคไขมันในเลือดสูง

โรคทางจิตเวช

โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด

โรคระบบทางเดินหายใจ

โรคระบบทางเดินอาหาร

โรคระบบไต

โรคระบบประสาท

โรคระบบต่อมไร้ท่อ

โรคระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์

โรคระบบภูมิคุ้มกัน

โรคระบบกระดูกและข้อ

โรคระบบตา หู คอ จมูก

โรคระบบผิวหนัง

โรคมะเร็ง

โรคระบบหลอดเลือด

งานวิจัยถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการพัฒนานโยบายด้านสุขภาพให้ดีขึ้น และงานวิจัยเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์เช่นกัน สามารถติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ได้ที่ http://ucbp.nhso.go.th/

 

อ้างอิง

https://www.hfocus.org/content/2021/12/24064

https://www.hfocus.org/content/2020/05/19243

https://prachatai.com/journal/2021/12/96634

https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/251837

21 มีนาคม 2565

Next post > #รู้จักโรคIEM ผ่านมุมมองนักวิจัยนโยบายสุขภาพ โรคพันธุกรรมเมตาบอลิก โรคหายากในทารกและเด็กเล็กที่ตรวจพบไม่ง่ายสุดท้ายอาจถึงชีวิต

< Previous post เมื่อหายป่วยจากโควิด-19 ยังมีอาการหลงเหลือ (Long COVID) นาน 1 - 3 เดือนที่ควรระวัง

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ