logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ยารักษาโควิด-19 WHO แนะนำอะไร ? ใช้ในกลุ่มใดบ้าง (22 เมษายน 2565)

WHO หรือองค์การอนามัยโลกมีการปรับแนวทางข้อแนะนำสำหรับการรักษาโควิด-19 โดยมีแนวทางข้อแนะนำเกี่ยวกับยาที่ใช้รักษาโควิด-19 ตามระดับหลักฐานทางวิชาการที่สนับสนุนรวมถึงข้อควรระวังสำหรับยาที่ไม่ควรใช้ ข้อมูล ณ วันที่ 22 เมษายน 2565  มีแนวทางดังนี้

1 แนะนำอย่างยิ่ง ได้แก่ ยา nirmatralvir และ ritonavir ในคนไข้ที่อาการไม่รุนแรง, ยา baricitinib ร่วมกับ corticosteroids, ยากลุ่ม IL-6 receptor blockers (tocilizumab หรือ sarilumab) และยากลุ่ม corticosteroids ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือวิกฤติ

2 แนะนำให้ใช้อย่างมีเงื่อนไข ได้แก่ ยา molnupiravir (บรรเทาการดำเนินโรคของคนไข้จากอาการป่วยก็สามารถใช้ต่อได้) ยา sotrovimab ยา remdesivir ในคนไข้ที่อาการไม่รุนแรงในเงื่อนไขเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงอย่างยิ่งที่ป่วยแล้วต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล, ยากลุ่มภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ (neutralising monoclonal antibodies) เช่น ยา casirivimab และ imdevimab ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการรุนแรงที่มีความเสี่ยงสูงอย่างยิ่งที่จะอาการหนักได้ และในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงและมีอาการวิกฤติ และมีสถานะ seronegative

3 ไม่แนะนำให้ใช้ในบางกรณี ได้แก่ ยา ruxolitinib และ tofacitinib ในคนไข้ที่มีอาการรุนแรง, ยากลุ่ม systemic corticosteroids ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ

4 ไม่แนะนำให้ใช้ ได้แก่ convalescent plasma (พลาสม่าของผู้ที่ฟื้นจากโรค) ในคนไข้ที่มีอาการรุนแรง ยกเว้นในบริบทของการทดลองวิจัย, ยา ivermectin ในผู้ป่วยโควิด-19 ยกเว้นในบริบทของการทดลอง

5 ไม่แนะนำให้ใช้เด็ดขาด ได้แก่ convalescent plasma (พลาสม่าของผู้ที่ฟื้นจากโรค) ในกลุ่มคนไข้ที่อาการไม่รุนแรง, ยา hydroxychloroquine และยา lopinavir/ritonavir ในผู้ป่วยโควิด-19 ไม่ว่าอาการระดับใดก็ตาม

ยาบางตัวที่มีการใช้ในบางประเทศเพื่อรักษาโควิด-19 แต่ไม่ปรากฏในข้อแนะนำนี้อาจเพราะมีหลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่ามีหรือไม่มีประสิทธิผลในการรักษา

อ้างอิงข้อมูล https://www.who.int/publications/i/item/WHO-2019-nCoV-therapeutics-2022.1

รับชมแบบเป็นสรุปรวมผลเป็นภาพได้ที่นี่ https://www.bmj.com/content/370/bmj.m3379

23 กุมภาพันธ์ 2565

Next post > 5 หัวข้อปัญหาน่าสนใจในการพิจารณาชุดสิทธิประโยชน์ 2565

< Previous post โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รู้เท่าทัน ป้องกัน ลดเสี่ยงได้

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ