logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
วัคซีนโควิด-19 ให้ผลอย่างไร ให้ใครได้ประโยชน์ที่สุด?

วัคซีนโควิด-19 ถือเป็นส่วนสำคัญหนึ่งที่ช่วยหยุดการแพร่ระบาดของโรค การวิจัยประเมินก่อนการมาถึงของวัคซีนจึงจะช่วยให้ประเทศไทยมีข้อมูลพร้อมสนับสนุนการตัดสินใจ

งานวิจัย โครงการประเมินผลกระทบและความคุ้มค่าของวัคซีนโควิดที่พึงประสงค์เพื่อใช้ในการพัฒนาและคัดเลือกวัคซีนสำหรับใช้ในประเทศไทย ช่วยให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ดังนี้

ประสิทธิผลของวัคซีนโควิด 19

1. ผลของวัคซีนโควิด-19 มีอะไรบ้าง?

องค์การอนามัยโลกจำแนกผลของวัคซีนเป็น 3 แบบได้แก่ 1. ป้องกันการติดเชื้อ 2. ลดการแพร่เชื้อและ 3. ช่วยลดความรุนแรงหากเป็นโรค

วัคซีนที่ดีที่สุดต้องให้ผลทั้ง 3 แบบคือป้องกันการติดเชื้อ ลดการแพร่เชื้อและช่วยลดความรุนแรง แต่แม้จะได้เพียงวัคซีนที่ลดการติดเชื้อ และลดการแพร่เชื่อ ก็ยังมีประโยชน์ แต่ต้องมีการจัดการเพื่อให้วัคซีนกับกลุ่มคนที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ถึงตอนนี้ (2 กุมภาพันธ์ 2564) ผลการศึกษาวัคซีนทั้งหมดมีเพียงประสิทธิภาพในการช่วยลดความรุนแรงหากเป็นโรคเท่านั้น

วัคซีนแบบไหนควรให้ใคร จึงจะได้ประโยชน์สูงสุด

2. คนกลุ่มไหนได้รับวัคซีนอย่างไรแล้วคุ้มค่าที่สุด ?

ความต้องการวัคซีนมีมหาศาลจากทุกคนบนโลก สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือในช่วงแรกวัคซีนจะไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องเลือกที่จะให้วัคซีนกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งก่อน คำถามสำคัญคือกลุ่มไหนล่ะ

2 กลุ่มแรกที่ควรได้รับก่อนคือ 1. บุคลากรทางการแพทย์เพราะทำงานใกล้ชิดและมีความเสี่ยงสูง 2. กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคที่เมื่อป่วยแล้วเสี่ยงเสียชีวิต ส่วนกลุ่มอื่นนอกจากนี้ผลจากแบบจำลองการติดเชื้อโควิด-19 พบว่า การใช้วัคซีนควรให้ตามผลของวัคซีนดังนี้

2.1 หากวัคซีนให้ผลทั้ง 3 แบบ พบว่า “กลุ่มคนอายุ 20 – 39 ปี” ควรได้รับวัคซีนเป็นกลุ่มแรก เพราะเป็นกลุ่มคนที่ติดเชื้อมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากต้องเดินทางออกจากที่อยู่อาศัย พบเจอผู้คนมาก จึงมีโอกาสติดเชื้อและแพร่เชื้อสูง ทั้งสู่คนที่พบเจอ และคนที่อยู่ในบ้านหรือที่พักเดียวกัน

โดยแบบจำลองการระบาดพบว่า หากให้วัคซีนในคน 10 ล้านคน เมื่อให้วัคซีนในกลุ่มอายุ 20 – 39 ปีจะมีผู้ติดเชื้อ 598,684 คน และผู้เสียชีวิต 16,358 คน โดยเป็นผู้สูงอายุ 750 คน ขณะที่หากให้ในกลุ่มผู้สูงอายุ 64 ปีขึ้นไปจะมีผู้ติดเชื้อถึง 7,273,512 คน และผู้เสียชีวิต 203,825 คน โดยเป็นผู้สูงอายุ 32,000 คน ภายในระยะเวลา 3 ปี

2.2 หากผลของวัคซีนช่วยลดการติดเชื้อและแพร่เชื้อ พบว่ากลุ่มที่ควรได้รับวัคซีนก่อนคือ “กลุ่มคนอายุ 20 – 39 ปี” เช่นกันเพราะมีโอกาสติดเชื้อมากที่สุด

2.3 หากผลของวัคซีนมีช่วยลดความรุนแรงหากเป็นโรค พบว่าคือ “กลุ่มผู้สูงอายุ 64 ปีขึ้นไป” เนื่องจากคนหนุ่มสาวมักไม่เป็นโรครุนแรงอยู่แล้ว ต่างจากผู้สูงอายุซึ่งมีความเสี่ยงเสียชีวิตสูงกว่า

รับชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.youtube.com/watch?v=t8r8LVdLwvk

2 กุมภาพันธ์ 2564

Next post > วัคซีนโควิด-19 ประสิทธิผล 90% ดีกว่า 70% เสมอหรือไม่?

< Previous post เผชิญโควิด-19 ต้องคิดแบบมาราธอน “ใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง” ทำครบอุ่นใจประเทศไทยคุมอยู่

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ