logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
“เขาเมาเราเจ็บ” ดื่มเหล้าไม่ใช่เรื่องของเขาคนเดียว

สิ่งหนึ่งที่มาพร้อมเทศกาลสงกรานต์คงหนีไม่พ้นตัวเลขอุบัติเหตุที่พุ่งสูง สาเหตุสำคัญหนึ่งมาจากการเมาแล้วขับ เหตุสูญเสียมากมายเกิดขึ้นกระทบถึงคนทั้งสังคม และเราทุกคนรู้ดีว่าแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุของโรคอะไรบ้าง

แต่สำหรับผู้นิยมในเครื่องดื่มสีอำพัน รักชอบในบรรยากาศแห่งการดื่ม อาจมองว่า ถ้าดื่มแล้วรับผิดชอบตัวเองได้ ไม่ขับ หรือดื่มอย่างมีสติ ไม่ให้เกินขนาดจนร่างกายผิดปกติ ก็คงไม่ได้กระทบใคร

คำถามคือจริงหรือ?

ในมุมมองของคนทั่วไปอาจจะมองว่าการดื่มเหล้าเป็นเรื่องส่วนตัว เป็นรสนิยมในการใช้ชีวิต เป็นไลฟ์สไตล์แห่งการพักผ่อน แต่รู้หรือไม่ว่า “การดื่มแอลกอฮอล์” กลับเป็น “เรื่องส่วนรวม” ที่ทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจแก่ประเทศไทยในหนึ่งปีมากกว่าแสนล้านบาท

 

ทำไมดื่มคนเดียวกระทบทั้งสังคม?

ทุกคนรู้ว่าแอลกอฮอล์มีผลกระทบหลายอย่าง ตั้งแต่ทำให้เป็นโรคตับ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ และยังมีความสัมพันธ์กับภาวะเครียดและอาการซึมเศร้า นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุ ทำให้เกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว รวมถึงอาชญากรรม ซึ่งทำให้ผู้คนจำนวนมากจากไปก่อนวัยอันควร หรืออย่างเบา แอลกอฮอล์อาจทำให้เมาค้าง ไปทำงานไม่ไหว หรือทำได้ไม่มีประสิทธิภาพด้วย

ทั้งหมดนี้ส่งผลต่อค่าใช้จ่าย ต้นทุน และการสูญเสียแรงงานของสังคม ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งคำว่าสังคมในที่นี้ นับรวมถึงค่าใช้จ่ายและต้นทุนของคนทุกคน ไปจนถึงของภาครัฐ

ทางตรงที่เห็นชัดคือต้นทุนที่เป็นตัวเงิน ได้แก่ ต้นทุนในการรักษาโรคที่เกิดจากแอลกอฮอล์ ต้นทุนจากการเสียหายของทรัพย์สิน ต้นทุนจากการบังคับใช้กฎหมายและฟ้องร้องคดี ส่วนทางอ้อม ได้แก่ การสูญเสียผลิตภาพ หรือการที่ความสามารถในการทำงานถดถอย จากการที่บุคลากรซึ่งควรจะทำงานได้ กลับทำไม่ได้ อาจเพราะความพิการ การสูญเสียโอกาสในการทำงาน และแน่นอนว่าต้องมีการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งทำให้ความสามารถในการผลิตของสังคมและประเทศลดลงตามไปด้วย

 

สังคมไทยดื่มแอลกอฮอล์มีต้นทุนรวมปีเดียวมากถึง 156,105

การดื่มแอลกอฮอล์ในแต่ละประเทศก็ย่อมมีความแตกต่างจากบริบทที่ไม่เหมือนกัน ครั้งหนึ่ง HITAP เคยคำนวณความสูญเสียเหล่านี้ออกมาเป็นตัวเลข ว่าประเทศไทยมีต้นทุนจากการดื่มเหล่านี้เท่าไหร่กันแน่ ซึ่งก็พบตัวเลขที่น่าตกใจทีเดียว

ผลการศึกษาพบว่าในปี 2549 ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่สังคมไทยต้องแบกรับจากการดื่มสูงถึง 156,105 ล้านบาท! เฉลี่ยต่อประชากรแล้วจะได้เท่ากับ 2,319 บาทต่อคน

และจากต้นทุนทั้งหมดพบว่า มีต้นทุนทางอ้อมสูงถึง 149,592 ล้านบาท หรือก็คือ 95.8 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด โดยในจำนวนนี้ต้นทุนที่มากที่สุดก็คือ ต้นทุนการสูญเสียผลิตภาพจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 104,128 ล้านบาท (65.7 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนทั้งหมด) ซึ่งคำนวณมาจากรายได้ที่คนคนนั้นควรจะทำได้ตลอดชีวิตที่เหลืออยู่ แต่กลับเสียชีวิตไปก่อนนั่นเอง อาจจะเป็นจากการประสบอุบัติเหตุ ป่วยติดสุราเป็นโรคจนเสียชีวิต

อันดับสองที่มากถึง 45,465 ล้านบาท (คิดเป็น 30.1 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนทั้งหมด) ก็คือต้นทุนที่สูญเสียจากการขาดงาน ขาดประสิทธิภาพขณะทำงาน อาจมาจากการเมาหรือบาดเจ็บประสบอุบัติเหตุแต่ไม่ถึงแก่ชีวิต แต่ต้องรักษาพยาบาลหรือพิการจนทำงานได้น้อยลง

จากงานวิจัยชิ้นจะเห็นได้ว่า การดื่มเหล้าส่งผลกระทบในวงกว้างและมหาศาลมากในระดับประเทศ

(ดูข้อมูลเพิ่มเติมใน รายงานวิจัย “การประเมินต้นทุนทางสังคม และเศรษฐกิจของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย” คลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.hitap.net/documents/18907)

16 เมษายน 2562

Next post > ก่อนมีลูกต้องตรวจ “ธาลัสซีเมียในเด็กเกิดใหม่” ป้องกันได้

< Previous post “การประเมินความคุ้มค่าระดับโรงพยาบาล” เครื่องมือช่วยบริหารงบประมาณให้ได้ประโยชน์สูงสุด

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ