logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
4 คำถาม !? สงสัยอย่างไรให้ “พอดี” และ “หายป่วย”

ผู้ป่วยไม่ควรเชื่อทุกอย่างโดยไม่ตั้งข้อสงสัย แต่ก็ไม่ควรให้ความสงสัยเป็นอุปสรรคต่อการรักษา ถ้าอย่างนั้น สงสัยอย่างไรจึงจะ “พอดี” เรามีแนวทางง่าย ๆ ว่าผู้ป่วยควรสงสัยและถามอะไรบ้าง จากหนังสือ “Testing Treatments การรักษาต้องสงสัย”

 

1 ถ้าไม่ทำอะไรเลยจะเป็นอย่างไร ?

โรคหลายโรคสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา กระทั่งการคัดกรองเพื่อหาโรคก็ใช่ว่าจะมีประโยชน์กับทุกคนเสมอไป เพราะอาจ “ไม่พบ” โรคที่จำเป็นต้องรักษา กลับกันหาก “พบ” โรคที่ไม่จำเป็นต้องรักษาผู้ป่วยอาจต้องเผชิญกับการรักษาอีกมากมายโดยไม่ช่วยให้สุขภาพดีขึ้น ผู้ป่วยจึงควรหารือกับแพทย์ถึงความจำเป็นของสิ่งที่กำลังจะทำ แต่ก็ไม่ควรตั้งป้อมกับการรักษาหรือคัดกรองที่แพทย์แนะนำว่าควรทำเช่นกัน

 

2 คุณหมอมีวิธีการรักษาไหนแนะนำบ้าง

จากแนวคิด “การร่วมตัดสินใจ” ดังที่กล่าวไว้ใน BLOG การรักษาที่เราต้องสงสัย (2) : บอกสิ่งที่กังวล…และมาร่วมตัดสินใจกับหมอ https://www.hitap.net/172474 หมอกับผู้ป่วยจำเป็นจะต้องแลกเปลี่ยนและหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมร่วมกัน วิธีการรักษาสำหรับอาการแต่ละอาการอาจมีได้หลายวิธี ผู้ป่วยจึงควรสอบถามเพื่อให้เข้าใจทางเลือกต่าง ๆ ที่มี หากบทบาทของหมอคือผู้เขี่ยวชาญในการวินิจฉัยและแนะนำวิธีการรักษา บทบาทของผู้ป่วยก็คือผู้ใช้ข้อมูลเหล่านั้นมาพิจารณาและตัดสินใจต่อไป

 

3 วิธีการรักษาไหนที่เหมาะที่สุด

ผู้ป่วยบางคนเลือกที่จะฝากชีวิตไว้กับการตัดสินใจของแพทย์ทั้งหมด แต่การปรึกษาแพทย์ในอุคมคติ ไม่ใช่การฝ่ายหนึ่งเป็นผู้นำและอีกฝ่ายเป็นผู้ตาม แต่ควรปรึกษากันในฐานะคู่คิดที่เท่าเทียม ผู้ป่วยจึงควรนำรายละเอียดของโรคและการรักษาหรือการคัดกรองที่ได้ทราบจากแพทย์มาพิจารณาเพื่อตัดสินใจเลือกหนทางที่เหมาะสมร่วมกัน เพราะทางเลือกที่เหมาะกับผู้ป่วยคนหนึ่งอาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยอีกคน และหลายครั้งผู้ป่วยอาจมีเงื่อนไขส่วนตัวที่ส่งผลให้วิธีที่ดีที่สุดในความเห็นแพทย์ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยรายนั้น หรือกระทั่งอาจไม่สามารถใช้วิธีรักษานั้น ๆ เลยก็เป็นได้

 

4 การรักษาจะมีประโยชน์อย่างไร มีผลเสียอย่างไร

การแพทย์มีประโยชน์ก็จริง แต่ก็มีผลข้างเคียงเสมอ ไม่ว่าจะเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นทันที เกิดขึ้นในระยะยาว ผู้ป่วยจึงควรได้รู้ทั้งประโยชน์และผลเสียที่อาจเกิดจากการรักษา หรือการคัดกรองที่ตนจะได้รับ เพื่อที่จะได้นำไปเป็นข้อมูลในการตัดสินใจต่อไปว่าจะรับการรักษาด้วยวิธีไหน และกระทั่งว่าจะรับการรักษาหรือไม่ เพราะในบางกรณีและในผู้ป่วยบางราย ผลเสียอาจมีมากกว่าประโยชน์ จึงอาจไม่ควรรักษาหรือคัดกรองผู้ป่วยรายนั้น ๆ

 

ยังมีแนวคิดอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ให้คุณรู้เท่าทันการรักษา หากสนใจสามารถติดตามหนังสือ “Testing Treatments การรักษาต้องสงสัย” ที่จะเผยแพร่เป็นภาษาไทยให้อ่านฟรีทางเว็บไซต์ www.testingtreatments.org เร็ว ๆ นี้ หรือสั่งซื้อฉบับเล่มราคา 265 บาท (รวมค่าจัดส่ง) คลิก https://goo.gl/8DJSN1  , รู้จักหนังสือ Testing Treatments การรักษาต้องสงสัย สามารถอ่านได้ที่นี่ https://www.hitap.net/172314

16 สิงหาคม 2561

Next post > ย้อนบทเรียน “ผ่าเต้านม เลาะซี่โครง ตัดต่อมน้ำเหลือง” เพื่อรักษามะเร็งเต้านม

< Previous post ย้อนอดีต “น้ำส้มสายชู – กรดกำมะถัน” รักษา “ลักปิดลักเปิด”!? เหตุใดจึงต้องสงสัยการรักษา

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ