logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
เปิดงานวิจัยช่วยคนไทยใช้ยารักษา “มะเร็งต่อมลูกหมาก” ไม่ต้อง “ตัดทิ้ง” ฟรี

ชายคนหนึ่งพบว่าตนเองต้องลุกขึ้นไปเข้าห้องน้ำยามค่ำคืนบ่อยครั้ง มีอาการแสบขัดขณะปัสสาวะ และยังมีอาการปัสสาวะไม่สุดและต้องใช้เวลาเบ่งนานขึ้นกว่าแต่ก่อนอย่างเห็นได้ชัด เขาเริ่มกังวลว่าตัวเองมีความผิดปกติบางอย่าง และเมื่อไปพบแพทย์ เขาก็ได้รู้คำตอบว่าตนเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก เมื่อได้ยินผลวินิจฉัย

เขาหน้าซีดเมื่อนึกถึงวิธีการรักษามะเร็งชนิดนี้ ที่เคยได้ยินว่า “ต้องตัดอัณฑะ”

การเป็นโรคอาจนำไปสู่ความตาย แต่หลายครั้งสิ่งที่น่ากลัวคือความเจ็บปวดทรมานก่อนความตายจะมาเยือนและบ่อยครั้งในการรักษาโรคมะเร็งผู้ป่วยต้องเผชิญกับความเจ็บปวดรุนแรงถึงขั้นต้องตัดอวัยวะ สิ่งนี้สำหรับผู้ป่วยหลายคนอาจน่ากลัวกว่าการปล่อยให้โรคลุกลามกัดกินชีวิต หนึ่งในโรคที่มีวิธีการรักษาที่ผู้ป่วยเห็นว่าน่ากลัวนี้ คือมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งหนึ่งในวิธีการรักษาคือการตัดลูกอัณฑะซึ่งเป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนเพศชายทิ้ง เพื่อไม่ให้มีฮอร์โมนที่เป็นเหมือนอาหารซึ่งหล่อเลี้ยงการลุกลามของมะเร็งที่ต่อมลูกหมาก ความเจ็บปวดนี้อาจหลีกเลี่ยงได้ด้วย LHRH analogues ซึ่งเป็นยารักษามะเร็งต่อมลูกหมากชนิดใหม่ ซึ่งอาจทำให้ไม่ต้องตัดอัณฑะของผู้ป่วยทิ้ง และทำให้ผู้ป่วยยินดีเผชิญหน้ากับการรักษาโรคนี้มากขึ้น

HITAP เคยทำวิจัยเรื่องยากลุ่มนี้ในปี 2556 ในโครงการ “การประเมินความคุ้มค่าและผลกระทบด้านงบประมาณของยากลุ่ม Luteinizing hormone releasing hormone (LHRH) analogues ในข้อบ่งใช้สำหรับโรคมะเร็งต่อมลูกหมากใน Adjuvant therapy และระยะ Metastatic disease” จำนวนชายไทยที่ป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถิติในปี 2552 พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งต่อมลูกหมากถึง 1,993 ราย (ซึ่งเพิ่มเป็น ถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญสาเหตุหนึ่งของประชากรชายไทย ในตอนนั้นการรักษามะเร็งโดยใช้ยากลุ่ม LHRH analogues เริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นเนื่องจากมีแนวทางการรักษาดังกล่าวและการศึกษาในต่างประเทศ แต่เนื่องจากยากลุ่มดังกล่าวยังมีราคาที่แพงและไม่ได้รับการบรรจุเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ นั่นคือไม่ได้อยู่ในรายการยาที่ระบบประกันสุขภาพของภาครัฐให้ผู้ป่วยใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจึงไม่มีโอกาสได้ใช้ยากลุ่มนี้

ด้วยเหตุนี้ จึงมีการศึกษาเพื่อทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มตามความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำหลังจากได้รับการรักษา ได้แก่ 1 ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำ 2 ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงปานกลาง 3 ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง 4 ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงมาก 5 ระยะแพร่กระจาย ซึ่งการแบ่งผู้ป่วยดังนี้ส่งผลต่อการเลือกวิธีการรักษา โดยทางเลือกที่ศึกษาในการศึกษาเรื่องนี้ ได้แก่ ยากลุ่ม LHRH analogues เสริมร่วมกับการรังสีรักษานาน 6 เดือน – 2 ปี ขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยง เทียบกับการใช้รังสีรักษาเท่านั้น ขณะที่ในกลุ่มผู้ป่วยระยะแพร่กระจาย ใช้ยากลุ่ม LHRH analogues เป็นยารักษาเดี่ยวนานตลอดชีวิตเทียบกับการตัดอัณฑะ

ผลจากการศึกษาพบว่ายากลุ่มนี้สามารถยืดชีวิตให้กับผู้ป่วยขึ้น 2 ในด้านความคุ้มค่าพบว่า การรักษาด้วยยากลุ่ม LHRH analogues ในกลุ่มผู้ป่วยความเสี่ยงปานกลางและความเสี่ยงสูงถึงสูงมากนั้น “คุ้มค่า” ในบริบทของประเทศไทย ไม่เกินเพดานที่ประเทศยินดีจ่ายเมื่อเทียบกับระยะเวลาของชีวิตที่มีคุณภาพที่คนไทยจะได้รับ เมื่อพิจารณาผลด้านภาระงบประมาณรวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ร่วมกันแล้ว ในเวลาต่อมาคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติภายใต้คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติจึงได้มีมติให้ Leuprorelin acetate ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม LHRH analogues บรรจุเข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติปี 2560 เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้ป่วยที่อยู่ในระบบประกันสุขภาพทุกสิทธิเข้าถึงยาดังกล่าวได้ฟรี ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากมีทางเลือกในการรักษาและอาจไม่ต้องตัดต่อมลูกหมากหรืออัณฑะทิ้ง   HITAP ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนนโยบายด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยมีทางเลือกในการรักษาที่ดีขึ้นและเหมาะสมในบริบทของประเทศไทยสืบไป

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย “LHRH analogues ยาใหม่ รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ไม่ต้องตัดทิ้ง” ได้ที่นี่ https://www.hitap.net/documents/22606 สามารถอ่านรายละเอียดงานวิจัยโครงการ “การประเมินความคุ้มค่าและผลกระทบด้านงบประมาณของยากลุ่ม LHRH analogues ในข้อบ่งใช้สำหรับโรคมะเร็งต่อมลูกหมากใน adjuvant therapy และระยะ metastatic disease” ได้ที่นี่ https://www.hitap.net/research/17764

21 มิถุนายน 2561

Next post > 5 เหตุผลที่คุณควรอ่าน “การรักษาต้องสงสัย” ในยุค 4.0

< Previous post โศกนาฏกรรมเมื่อเด็กทารกนอนคว่ำ

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ