logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
โศกนาฏกรรมเมื่อเด็กทารกนอนคว่ำ

ทารกแรกเกิดถือเป็นช่วงวัยสำคัญ ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตของเด็กตั้งแต่อาหารการกิน พัฒนาการต่าง ๆ กระทั่งท่านอนขึ้นอยู่กับการเอาใจใส่เลี้ยงดูของพ่อแม่ ดังนั้นหากพ่อแม่ได้รับคำแนะนำที่ผิด ผลที่ตามมาอาจเป็นโศกนาฏกรรมดังตัวอย่างที่ปรากฏในหนังสือ “Testing Treatments การรักษาต้องสงสัย” ก็เป็นได้

คงเป็นเรื่องปกติที่พ่อแม่ที่รักลูกจะศึกษาหาความรู้เพื่อให้ได้เคล็ดลับการดูแลลูกที่ดีที่สุด

และคงเป็นเรื่องปกที่พ่อแม่ที่รักลูกจะเชื่อกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลเด็ก

แต่เรื่องปกติเหล่านี้เองที่ส่งผลให้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร เมื่อพบจำนวนทารกที่เสียชีวิตขณะหลับเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติหลายหมื่นคน จากจุดเริ่มต้นเพียงแค่การแนะนำให้เด็กทารกนอนหลับในท่า “นอนคว่ำ”

เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นในช่วงปีค.ศ. 1956 – 1970 นายแพทย์เบนจามิน สป็อก แพทย์ชาวอเมริกันผู้เชี่ยวชาญการดูแลเด็ก และเป็นผู้เขียนหนังสือขายดีชื่อ การดูแลเด็กและทารก (Baby and child care) ซึ่งเป็นเสมือนคำภีร์ของทั้งผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพรวมไปถึงพ่อแม่ โดยในหนังสือเล่มดังกล่าว ประกอบไปด้วยคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลเด็กมากมาย ทว่ามีข้อแนะนำหนึ่งที่ผิดพลาดซึ่งระบุไว้ในหนังสือว่า การให้ทารกนอนหลับในท่านอนหงายมีข้อเสีย 2 ประการคือ ถ้าเด็กอาเจียนจะมีโอกาสสำลักอาเจียน และเด็กอาจตะแคงศีรษะไปข้างเดียวทำให้ศีรษะข้างที่ถูกทับแบนได้ ทารกจึงควรถูกจัดให้นอนคว่ำตั้งแต่เด็ก

สิ่งที่เกิดขึ้นคือการจับทารกนอนหลับในท่านอนคว่ำกลายเป็นแนวปฏิบัติมาตรฐานในโรงพยาบาล พ่อแม่หลายล้านคนเชื่อแนวทางปฏิบัตินี้และนำกลับมาใช้ที่บ้าน! และโศกนาฏกรรมก็เริ่มขึ้น…

ไม่นานเกิดกรณีเด็กทารกเสียชีวิตขณะหลับโดยไม่ทราบสาเหตุเพิ่มมากขึ้นหลายหมื่นคน แม้ ณ ขณะนั้นจะยังไม่สามารถโทษว่าการเสียชีวิตในลักษณะดังกล่าวทั้งหมดเกิดจากการแนะนำผิด ๆ นี้ แต่เมื่อมีการยกเลิกแนวปฏิบัติในการให้ทารกนอนคว่ำและแทนที่ด้วยการประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้เด็กนอนหงาย จำนวนทารกไหลตายก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด

กระทั่งหลายปีต่อมาในข่วงทศวรรษที่ 1980 มีการศึกษาวิจัยอีกหลายครั้งรวมถึงการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบจึงได้พบหลักฐานชัดเจนของผลเสียจากการนอนคว่ำ แพทย์และสื่อต่างเตือนถึงอันตรายและเริ่มโครงการ “กลับมานอนหงาย” หรือ back to sleep ซึ่งต้องใช้เวลาอีกหลายปีถึงจะสามารถขุดรากถอนโคนอิทธิพลของคำแนะนำที่ผิดพลาดของนายแพทย์สป็อก

โศกนาฏกรรมทั้งหมดมิได้สูญเปล่า หากแต่ได้ทิ้งบทเรียนสำคัญยิ่งคือ ไม่ว่าทฤษฎีหรือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ก็ไม่ใช่แนวทางที่เชื่อถือได้ในการเลือกวิธีการรักษาที่ปลอดภัยและได้ผล ถึงทุกวันนี้ยังมีการแนะนำให้จับลูกนอนคว่ำอยู่ แต่เป็นเฉพาะในขณะที่ตื่นอยู่เท่านั้นและให้นอนหงายขณะนอนหลับ

ยังมีกรณีการรักษาต้องสงสัยอีกมากมายหากท่านผู้อ่านสนใจสามารถสั่งพรีออเดอร์หนังสือ Testing Treatments การรักษาต้องสงสัย ได้ที่นี่ https://goo.gl/JLkTnB รู้จักหนังสือ Testing Treatments การรักษาต้องสงสัย สามารถอ่านได้ที่นี่ https://www.hitap.net/172314

19 มิถุนายน 2561

Next post > เปิดงานวิจัยช่วยคนไทยใช้ยารักษา “มะเร็งต่อมลูกหมาก” ไม่ต้อง “ตัดทิ้ง” ฟรี

< Previous post การรักษาที่เราต้องสงสัย (1) : เพราะยาใหม่ไม่ได้ดีกว่าเสมอไป

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ