“MIDAS Medical Innovation Hackathon 2025” เวทีขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ สู่สิทธิประโยชน์ของคนไทย

การตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันอาจเป็นเรื่องดีสำหรับคนรักสุขภาพ ทว่าบางครั้งการตรวจคัดกรองที่ไม่เหมาะสมก็ก่อผลเสียตามมา “ซีรีส์เรื่องที่คุณไม่รู้เกี่ยวกับการรักษา” ขอเสนอการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก “PSA” การตรวจที่ให้โทษมากกว่าการรักษา
PSA หรือ Prostate-specific antigen เป็นเอ็นไซม์ชนิดหนึ่งที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของมะเร็งต่อมลูกหมาก จึงถูกนำมาใช้ในการวางแผนและติดตามประเมินผลการรักษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
ต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ได้มีการใช้ PSA สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก จนกระทั่งในภายหลังพบว่า ถึงแม้การตรวจคัดกรองด้วย PSA จะช่วยเพิ่มการวินิจฉัยมะเร็งระยะแรกอย่างชัดเจนส่งผลให้มีผู้ป่วยได้รับการรักษาเพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป แต่จำนวนผู้เสียชีวิตจากมะเร็งชนิดนี้กลับไม่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งนี้ เพราะการคัดกรองทำให้เกิดการวินิจฉัยและรักษาคนไข้เกินความจำเป็น! เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากโดยทั่วไปเป็นมะเร็งที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยหลายรายจะไม่เสียชีวิตจากมะเร็งชนิดนี้ การรักษาจึงไม่ได้ประโยชน์ ในทางตรงกันข้ามกลับเกิดโทษจากการวินิจฉัยเพิ่มเติมและการรักษา
นอกจากนี้ การตรวจคัดกรองด้วย PSA ไม่มีความจำเพาะต่อมะเร็งต่อมลูกหมาก เอ็นไซม์ดังกล่าวอาจสูงขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ต่อมลูกหมากอักเสบ มีการหลั่งน้ำอสุจิ เป็นต้น ซึ่งหากผู้ป่วยมีค่า PSA ผิดปกติแพทย์มักตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ด้วยการตรวจชิ้นเนื้อ ส่งผลให้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ จากการวิจัยสรุปข้อเสียของการคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย PSA ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้
จากข้อมูลทั้งหมดนี้ส่งผลให้ระบบประกันสุขภาพและสมาคมแพทย์เกือบทั้งหมดทั่วโลกไม่แนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากอีกต่อไป แต่เราก็ยังไม่วาย เห็นโรงพยาบาลในประเทศไทยเสนอบริการคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากให้ชาย ไทยอย่างดาษดื่น
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ “เช็คระยะสุขภาพ : ตรวจดีได้ ตรวจร้ายเสีย” คลิ๊ก https://www.hitap.net/documents/18970