logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
เที่ยวสิ้นปี เช็ครถอย่าลืมเช็คคนขับ วิจัยชี้ ตรวจสุขภาพอย่างไรห่างไกลอุบัติเหตุ

คนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนถึงปีละ 1.5 หมื่นคน ยิ่งในช่วงเทศกาลตัวเลขยิ่งสูงขึ้น เป็นปกติที่เราจะตรวจเช็คสภาพรถเพื่อให้พร้อมสำหรับเดินทาง ทว่าการตรวจเช็คสุขภาพของคนขับก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน

แล้วตรวจสุขภาพอย่างไรจึงจะห่างไกลอุบัติเหตุ?

จากบทความวิชาการ “ประสิทธิผลและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของมาตรการคัดกรองสุขภาพเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนน” ที่ตีพิมพ์ลงวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม 2556 โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เผยถึงการศึกษามาตรการด้านสุขภาพเพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ด้านการคัดกรองทางสุขภาพระดับประชากรในประเทศไทย” โดยมีการศึกษาจากต่างประเทศเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในประเทศไทยพบการตรวจสุขภาพพบว่า มีการคัดกรองสุขภาพและโรคหลายแบบเพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุบทท้องถนนแบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยดังนี้

1 การคัดกรองสุขภาพหรือโรค ประกอบด้วย

การทดสอบสายตา มีการคัดกรองความชัดเจนในการมองเห็น (visual acuity) การทดสอบลานสายตาทางกว้าง (horizontal field) การแยกความแตกต่างของความมืดสว่าง (contrast sensitivity) และความไวจากการมองเห็นแสงจ้าและแสงสะท้อน (glare sensitivity)

การทดสอบการรับรู้ มีการทดสอบเพื่อทำนายการมีส่วนร่วมในการเกิดอุบัติเหตุ จำนวนอุบัติในอนาคต และพฤติกรรมที่เป็นข้อจำกัดในการขับขี่ (useful field of view หรือ UFOV) การทดสอบเพื่อวัดผลการค้นหาของสายตาและการลำดับภาพ ความไวในการรับรู้ การแยกแยะจุดสนใจและการจัดการที่เหมาะสม (Trial B test) การประเมินสุขภาพจิตอย่างย่อ (Mini – mental state examination)

การตรวจสอบสมรรถนะของร่างกายต่อการขับขี่ มีการตรวจร่างกายทั่วไปและการตรวจสายตา

การทดสอบความเหนื่อยล้า ใช้การตรวจม่านตา (pupillary activity) และการเปลี่ยนทิศทางการมองอย่างรวดเร็ว (saccade velocity)

2 การคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยง ประกอบด้วย

การตรวจผู้ขับขี่ขณะมึนเมา ใช้การตรวจวัดระดับแอลกอฮอร์ในกระแสเลือดควบคู่กับการใช้เครื่องวัดระดับแอลกอฮอร์ล็อคสตาร์ทเครื่องยนต์

ส่วนในประเทศไทยนั้นจากงานวิจัยพบว่า การคัดกรองทางสุขภาพเพื่อควบคุมและป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนนในระดับประชากรที่มีประสิทธิผลสำหรับประเทศไทย ได้แก่ การทดสอบสายตาในผู้สูงอายุ การทดสอบความเหนื่อยล้าในกลุ่มผู้ขับขี่รถสาธารณะ และการคัดกรองผู้ขับขี่ขณะมึนเมาสุรา ทั้งนี้มาตรการในการลดอุบัติเหตุบนท้องถนนนั้นมีหลากหลายซึ่งต้องมีการทำควบคู่กันเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ ซึ่งในประเทศไทยเหตุร้ายบนท้องถนนมักเกิดกับกลุ่มรถจักยนตร์และเกิดในกลุ่มผู้ขับขี่วัยรุ่นทำให้มาตรการด้านสุขภาพไม่ส่งผลถึงกลุ่มนี้โดยตรง

อย่างไรก็ตาม ในมุมของประชาชนทั่วไปแล้วอาจพิจารณาถึงมาตรการคัดกรองสุขภาพในไทยรวมถึงต่างประเทศอาจมีส่วนช่วยในการตัดสินใจตรวจเช็คตัวเองเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนนได้

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของบทความวิชาการ “ประสิทธิผลและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของมาตรการคัดกรองสุขภาพเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนน” ได้ที่นี่ https://www.hitap.net/documents/18712 การตรวจคัดกรองสุขภาพยังมีอีกมากมายเพื่อช่วยให้ประเทศไทยมีระบบสาธาณสุขที่ดียิ่งขึ้น สามารถติดตามรายละเอียดของ “โครงการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ด้านการคัดกรองทางสุขภาพระดับประชากรในประเทศไทย” ได้ที่นี่https://www.hitap.net/research/17573

 

เรื่องโดย อธิเจต มงคลโสฬศ

18 ธันวาคม 2560

Next post > “แก่นกำเนิดของยาแผนไทย” คุณค่าภูมิปัญญาที่ประเมินค่าไม่ได้

< Previous post วันหลักประกันสุขภาพถ้วนโลก ที่ปรึกษา HITAP ย้ำชัด “สุขภาพดีคือสิทธิ ต้องทั่วถึง เท่าเทียมและยั่งยืน”

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ