logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
วันหลักประกันสุขภาพถ้วนโลก ที่ปรึกษา HITAP ย้ำชัด “สุขภาพดีคือสิทธิ ต้องทั่วถึง เท่าเทียมและยั่งยืน”

หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากลายเป็นสิทธิอย่างหนึ่งที่ทั่วโลกเริ่มตื่นตัว ขณะที่ประเทศไทยมีระบบดังกล่าวอยู่แล้วแต่ก็ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง พัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

วันที่ 12 ธันวาคม ถูกกำหนดให้เป็นวันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโลก (Universal Health Coverage Day) โดยองค์กรสหประชาชาติ (UN) มุ่งผลักดันให้เกิดระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าขึ้นในทุกประเทศสมาชิกองค์กรสหประชาชาติอย่างมั่นคงและยั่งยืนก่อนปี 2573 ประเด็นสำหรับรณรงค์วันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโลกในปี 2560 นี้ก็คือ “Rise for our Right” เพื่อให้ประชากรโลกได้ตระหนักถึงสิทธิ์ในการมีหลักประกันสุขภาพ ในส่วนของประเทศไทยนั้นก็มุ่งผลักดันให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ดำเนินการต่อเนื่องมาจาก 3 ทศวรรษให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ย้ำจุดยืนร่วมสนับสนุนการพัฒนานโยบายระดับชาติโดยสนับสนุนการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และการใช้การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Health Technology Assessment – HTA) เพื่อให้เกิดการลงทุนด้านสุขภาพที่คุ้มค่า เพิ่มการเข้าถึงยาและบริการต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

ภญ. เนตรนภิส สุชนวนิช ในฐานะที่ปรึกษา HITAP เผยถึงความสำคัญของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และเป้าหมายในการขับเคลื่อนของ HITAP ต่อรัฐบาลเพื่อพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทยให้มั่นคงยั่งยืนเท่าเทียมกันมากยิ่งขึ้น

“เรื่องของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปัจจุบันได้ถูกมองว่าเป็นสิทธิของประชาชนในประเทศ การที่รัฐจะช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพดีไม่ใช่ภาระของรัฐบาล แต่เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสุขภาพดีทำให้ผลผลิตของประเทศดีขึ้น และเศรษฐกิจของประเทศก็จะดีขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้จะต้องมีการเปลี่ยนมุมมองของผู้บริหารในการมองปัญหาในเรื่องของสุขภาพเป็นการลงทุนในเรื่องของสาธารณะที่ช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี แต่การคัดเลือกว่าเรื่องใดเป็นเรื่องที่รัฐควรจะลงทุนนั้นควรจะมีการคัดเลือกโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ การประเมินทางด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้การลงทุนของภาครัฐมีหลักฐานและมีการลงทุนอย่างชาญฉลาดมากขึ้น และคาดว่าในการลงทุนด้านสุขภาพนี้จะช่วยให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่จำเป็นทั่วถึงและเท่าเทียมตลอดไป”

12 ธันวาคม 2560

Next post > เที่ยวสิ้นปี เช็ครถอย่าลืมเช็คคนขับ วิจัยชี้ ตรวจสุขภาพอย่างไรห่างไกลอุบัติเหตุ

< Previous post ตรวจสุขภาพทำใบขับขี่ วิจัยชี้ควรตรวจอะไรบ้าง?

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ