logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
Horizon Scanning เปิดเรดาร์หาเทคโนโลยีด้านสุขภาพเกิดใหม่

เทคโนโลยีด้านสุขภาพ (health technologies) เกิดขึ้นใหม่มากมายจนเราตามเกือบไม่ทัน ยาใหม่ เครื่องมือผ่าตัดแบบใหม่ หรือวัคซีนตัวใหม่ เทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านี้ควรได้รับการประเมิน ควบคุมและติดตามเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมก่อนนำมาใช้ในระบบสุขภาพ

ในวงการวิชาการด้านการประเมินเทคโนโยด้านสุขภาพมีศาสตร์แขนงหนึ่งเรียกว่า “horizon scanning”คำนี้แปลเป็นภาษาไทยแบบตรงตัวได้ว่า “การกวาดสัญญาณในแนวราบ” หรือ “การกวาดสัญญาณการเปลี่ยนแปลงในแนวราบ” แต่คนส่วนใหญ่น่าจะคุ้นเคยกับคำว่า “horizon scanning” มากกว่า

horizon scanning เป็นกระบวนการการเฝ้าติดตามและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีด้านสุขภาพอย่างเป็นระบบว่า มีการใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพในปัจจุบันอย่างไร ข้อมูลจากการติดตามและวิเคราะห์นี้ จะนำไปสนับสนุนผู้วางแผนและผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในแง่ของความปลอดภัยและค่าใช้จ่าย ก่อนที่จะนำเทคโนโลยีด้านสุขภาพเหล่านั้นเข้าสู่ระบบสุขภาพ ส่งผลให้มีการติดตาม และควบคุมการใช้เทคโนโลยีทางด้านสุขภาพที่เข้ามาใหม่ ตลอดจนมีส่วนช่วยจัดลำดับความสำคัญ (prioritization) และจัดสรรปันส่วนทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงที่สุดโดยมีต้นทุนต่ำที่สุดได้อย่างเหมาะสม

ที่สำคัญข้อมูลจากการวิเคราะห์ horizon scanning ต้องกระชับ ครบถ้วน และทันสมัย

ทำไมต้องทำ Horizon Scanning

การทำ Horizon Scanning มีจุดมุ่งหมายที่หลากหลาย ได้แก่

  • วิเคราะห์ และประเมินคุณค่าของเทคโนโลยีใหม่ ที่มีอิทธิพลสูงต่อระบบสุขภาพ
  • มีส่วนช่วยควบคุมการใช้เทคโนโลยีในระบบสุขภาพ
  • ประเมินสถานการณ์ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการใช้เทคโนโลยี ตลอดจนพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้เทคโนโลยี
  • ประเมินเทคโนโลยีที่มีการใช้ต่ำ (under-used technologies)
  • ระบุและวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในวงกว้าง
  • คาดคะเนความต้องการในอนาคต  เพื่อวางแผนในระยะยาว

แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์

เมื่อมีการทำ Horizon Scanning ที่เกี่ยวกับข้องกับเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ทีมงานจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่อไปนี้

  • ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
  • แหล่งข้อมูลจากต่างประเทศที่มีการทำ horizon scanning
  • การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งจากวารสารทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ  การทดลอง ตลอดจนข้อมูลจากภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการผลิตและด้านเภสัชกรรม
  • กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงวิทยาลัยวิชาชีพ โดยเครือข่ายจะรวมทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

สำหรับในประเทศไทยที่ผ่านมามีการทำ horizon scanning ค่อนข้างน้อย แต่ต่างประเทศมีการทำอยู่บ้าง ยกตัวอย่างเช่น HealthPACT เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพในออสเตรเลีย ได้มีส่วนร่วมในการศึกษา horizon scanning เรื่องบทบาทของการตรวจสแกนเต้านมในการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม (The role of scintimammography in the diagnosis of breast cancer) โดยพบว่า เทคโนโลยีด้านสุขภาพใหม่ ๆ เช่น scintimammography (SMM) ยังไม่สามารถทดแทนวิธีมาตรฐานในการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมในปัจจุบันได้ เนื่องจาก SMM ยังให้ผลที่ไม่แม่นยำเพราะยังให้ผลลบลวงและบวกลวงมากเกินไป หากผู้อ่านสนใจการศึกษาดังกล่าวสามรถค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.horizonscanning.gov.au/internet/horizon/publishing.nsf/Content/horizon-scanning-reports-2

 

เขียนโดย

ภญ. พิมพรรณ ลาภเจริญ

นายกิตติพงษ์ ธิบูรณ์บุญ

10 พฤศจิกายน 2560

Next post > ผู้ป่วยเบาหวาน 1 ใน 3 ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรค คุณเป็นหนึ่งในนั้นหรือเปล่า

< Previous post วิจัยชี้ กม.สิทธิ์เลือกได้คนพิการ “ประกันสังคม – บัตรทอง” ทำไมต้องเลือกได้?

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ