logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
โรคสมองเสื่อมใคร ๆ ก็เป็นได้

คนอายุน้อยก็เสี่ยงสมองเสื่อมได้ หากติดเชื้อในสมอง ขาดสารอาหาร  เมตาโบลิกแปรปรวน สมองบอบช้ำ เนื้องอกในสมอง หรือสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง

สมองเสื่อมต่างกับอัลไซเมอร์อย่างไร

ภาวะสมองเสื่อมเป็นความผิดปกติของสมอง ส่วนอัลไซเมอร์เป็นชนิดของภาวะสมองเสื่อม ซึ่งเรียกว่าภาวะสมองเสมื่อมชนิดอัลไซเมอร์  ในประเทศไทยมักพบภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปีขึ้นไป 11.4% ) และความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า (45.6%) เมื่ออายุ 80 ปีขึ้นไป แม้ปัจจัยเรื่องอายุจะนับเป็นตัวแปรสำคัญของการเกิดภาวะสมองเสื่อมแต่ในคนอายุน้อยอาจเกิดภาวะสมองเสื่อมได้เช่นกัน โดยอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในสมอง ขาดสารอาหาร  ความแปรปวนของเมตาโบลิกในร่างกาย (ทำงานผิดปกติของต่อมไร้ท่อบางชนิดจากการหลั่งสารมากไป หรือน้อยไป ทำให้สมองไม่สามารถสั่งการได้ตามปกติ)สมองได้รับการกระทบกระเทือน เนื้องอกในสมอง หรือสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง  เห็นว่าโรคสมองเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนทุกเพศทุกวัย

ภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองส่งผลให้สารสื่อประสาทที่ช่วยในการจดจำสิ่งต่าง ๆ มีปริมาณลดน้อยลง  จุดที่เกิดความเสื่อมของสมองคือ
ส่วนฮิปโปแคมปัส ที่ทำหน้าที่จดจำข้อมูลต่าง ๆ ส่งผลให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมจำอะไรไม่ได้เลย ผู้ป่วยจำนวนมากจึงมักจะมีอาการความจำสั้นกว่าคนปกติ โดยบางรายเริ่มต้นด้วยการพูดหรือถามอะไรซ้ำ ๆ  บางรายอาจแสดงออกด้วยอารมณ์ที่แปรปรวน หรือมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม จนทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติทั้งทางอาชีพการงาน การเข้าสังคม เมื่อมีอาการมากขึ้นจะรุนแรงจนไม่สามารถช่วยตัวเองได้

นอกจากนี้ การใช้ชีวิตและพฤติกรรมบางประเภทก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมได้ เช่น การมีกิจกรรมทางกายน้อย ภาวะอ้วน (ดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 กิโลกรัมต่ตารางเมตรขึ้นไป) อย่างไรก็ตาม ภาวะสมองเสื่อมถ้าเป็นแล้วก็ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ ยาที่ใช้ในในปัจจุบันทำได้เพียงชะลอความเสื่อมของสมองให้ช้าลงเท่านั้น ดังนั้น การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อมจึงสำคัญกว่าการที่เป็นแล้วและค่อยรักษา จากการวิจัยพบว่า มีวิธีที่ง่ายสามารถเพิ่มการทำงานของสมองให้มีประสิทธิภาพด้วยการ ออกกำลังกาย จะทำให้สามารชะลอภาวะสมองเสื่อม

สามารถอ่านเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ https://www.hitap.net/documents/163303   หรือ การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเรื่องมาตรการการป้องกันการพลัดตกหกล้มและโรคสมองเสื่อมสำหรับผู้สูงอายุไทย https://www.hitap.net/research/24183

4 สิงหาคม 2560

Next post > ป้องกันไข้หวัดใหญ่ระบาด เด็กคือตัวแปรสำคัญของแนวทางป้องกันในอนาคต

< Previous post เรื่องเล่าจากแพทย์ฝึกหัด เขาเห็นอะไรที่ชายแดนความคุ้มค่าริมขอบสนามรบสาธารณสุข

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ