logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
EE ทำไมต้องมี 2 หลักสูตร

นับวันความต้องการบริการสุขภาพของประชากรไทยจะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเรื่องๆ ทรัพยากรด้านสุขภาพที่มีอยู่อย่างจำกัดนี้ไม่เพียงพอต่อการให้บริการทางสุขภาพแก่ผู้ป่วยทุกคน โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา ดังนั้นการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพจึงถูกนำมาใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจสำหรับผู้บริหาร และผู้กำหนดนโยบาย ในการจัดสรรทรัพยากรด้านสุขภาพที่มีอย่างจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ

การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข (EE) เป็นวิธีการใช้สำหรับประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพในประเทศไทย ที่เริ่มมีการใช้ข้อมูลเหล่านี้จัดลำดับความสำคัญของเทคโนโลยีด้านสุขภาพให้มีความโปร่งใสชัดเจน เพื่อช่วยวิเคราะห์และสังเคราะห์ชุดข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจบรรจุยาเข้าบัญชียาหลักพิจารณาปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์และระบบบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยหลักสูตรการอบรม EE ครั้งนี้ จะอธิบายแง่มุมของวิธีการประเมินที่สำคัญทั้งหมดที่ผู้วิจัยอาจต้องเผชิญเมื่อทำการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ เพื่อลดความเสี่ยงของการใช้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือข้อมูลที่มีความโน้มเอียงหรืออคติ เนื้อหาหลักสูตรเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงครอบคลุมพื้นฐานในกระบวนการหลักการทำวิจัย พร้อมสอดแทรกการอธิบายโดยใช้ตัวอย่างจากงานวิจัย รวมถึงบอกแหล่งข้อมูลหรือเครื่องมือที่จะสามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม

การอบรมหลักสูตรเบื้องต้น ในวันที่ 7-8 สิงหาคมนี้
หลักสูตรเบื้องต้น เหมาะสำหรับนักวิชาการและนักวิจัยจากภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันวิจัย และสถาบันการศึกษาที่ไม่มีความรู้พื้นฐานด้านการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข หลักสูตรนี้เน้นการบรรยาย เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้ความสำคัญวิธีการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ ขั้นตอน ข้อจำกัด วิธีการค้นหาเอกสาร และงานตีพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง และสามารถนำผลการศึกษามาวิเคราะห์ วิจารณ์ และประยุกต์ใช้ได้ถูกต้องตลอดจนบทบาทของผลการประเมินต่อการตัดสินใจเชิงนโยบาย
การอบรมหลักสูตรปฏิบัติการ ในวันที่ 9-11 สิงหาคมนี้
หลักสูตรเชิงปฎิบัติการ ดัดแปลงจากหลักสูตรที่จัดขึ้นโดย Centre for Health Economics, University of York และ Health Economics Research Centre, University of Oxford โดยมุ่งหวังให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้ในการทำวิจัยเพื่อประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ให้ได้มาตรฐาน ทัดเทียมกับงานวิจัยในระดับนานาชาติ เหมาะสำหรับผู้ที่เคยผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรเบื้องต้น หรือผู้ที่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข หรือผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ใหม่เพื่อนำไปปรับใช้กับงานที่เกี่ยวข้อง หลักสูตรนี้เน้นการใช้โปรแกรมหรือแบบจำลองต่าง ๆ ในการวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากในปัจจุบันมี commercial software หลายชนิดที่สนับสนุนการสร้างแบบจำลองเพื่อประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ อย่างไรก็ดี แบบจำลองดังกล่าวมีราคาสูงและต้องเสียค่าใช้จ่ายในระยะยาว คณะผู้จัดจึงมุ่งหวังให้ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างแบบจำลองโดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel ซึ่งหาได้ง่าย สะดวกในการตรวจสอบ และสามารถประยุกต์ใช้ในการวิจัยอื่น ๆ ซึ่งผู้เข้าร่วมอบรมจำเป็นต้องนำคอมพิวเตอร์ส่วนตัวที่เป็นระบบปฏิบัติการ Window 7 ขึ้นไป และมีโปรแกรม Microsoft 2010 ขึ้นไป

การอบรมในครั้งนี้จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการเสริมสร้างศักยภาพด้านสาธารณสุขของประเทศ โดยการประยุกต์องค์ความรู้ในการประเมินคุณภาพงานวิจัย และนำผลงานวิจัยที่ผ่านมาไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพเชิงนโยบาย ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย รวมถึงมุ่งหวังให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการเสริมสร้างศักยภาพด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศ

สามารถสมัครการอบรมการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข (EE Training)ได้ที่ http://training.hitap.net/

29 มิถุนายน 2560

Next post > เรื่องเล่าจากแพทย์ฝึกหัด เขาเห็นอะไรที่ชายแดนความคุ้มค่าริมขอบสนามรบสาธารณสุข

< Previous post เคยสงสัยไหมว่า เขาใช้ข้อมูลอะไรประกอบการคัดเลือกมาตรการการคัดกรองโรคต่าง ๆ

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ