logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
เรื่องเล่าการพัฒนา QOF  ในประเทศอังกฤษ โดย Dr. Paramjit Gill

หลังจากที่ประเทศไทยได้นำรูปแบบ QOF จากสหราชอาณาจักรมาใช้ เพื่อประเมินคุณภาพการทำงานของหน่วยบริการปฐมภูมิ และค่าตอบแทนหน่วยบริการที่ปฏิบัติงานดีด้วยการให้งบประมาณเพิ่ม โดยคำนวณเป็นคะแนนการทำงานที่มีคุณภาพนำคะแนนนั้นคิดเป็นงบประมาณ หรือ อธิบายง่าย ๆ ว่า เป็นการจ่ายเงินซื้อคุณภาพนั้นเอง ทำให้การพัฒนาบริการปฐมภูมิผ่านระบบตัวชี้วัดเกณฑ์คุณภาพโครงการพัฒนาตัวชี้วัดในไทย กลายแนวคิดเของจุดเปลี่ยน จุดยืนและเป้าหมายในการปฏิบัติจากแนวความคิดเมื่อก่อน คือการจัดงบประมาณแบบทำเท่าไรจ่ายเท่านั้น  QOF เปลี่ยนเป้าหมายของการดำเนินงานเป็นการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ซึ่งไม่ใช่แต่ฝั่งผู้ให้บริการ แต่รวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพบริการที่ผู้ป่วยจะได้รับ

ที่ผ่านมา กระแสหลักของระบบบริการสุขภาพ ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีขั้นสูง พัฒนาโรงพยาบาลขนาดใหญ่ และสร้างแพทย์เฉพาะทาง คนทั่วไปก็มองว่า หากเจ็บป่วยโรงพยาบาลขนาดใหญ่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ระบบสุขภาพที่ดี ไม่ได้ ขึ้นอยู่กับการมีสถานพยาบาลขนาดใหญ่ หรือการเน้นพัฒนาแพทย์เฉพาะทางเพียงอย่างเดียว หากต้องสามารถสร้างสมดุลระหว่างหน่วยบริการระดับสูงกับหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ ซึ่งเป็นหน่วยที่ใกล้ชิดผู้ป่วยมากที่สุด เพื่อให้การส่งต่อผู้ป่วยเข้าสู่การรักษามีประสิทธิภาพเมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว สหราชอาณาจักร ประสบปัญหาเช่นเดียวกับประเทศไทย ที่หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิประสบปัญหาคุณภาพการให้บริการ จำนวนแพทย์ทั่วไปในขณะนั้นไม่เพียงพอต่อการให้บริการปฐมภูมิ เพราะท่ามกลางการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ หน้าที่ “แพทย์ทั่วไป” ถูกมองว่าไม่ก้าวหน้า ทำให้แพทย์ส่วนมากเลือกเรียนต่อแพทย์เฉพาะทาง และทำงานในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ อีกทั้งยังพบปัญหาความแตกต่างของการให้บริการปฐมภูมิในแต่ละพื้นที่ จึงเป็นที่มาของการริเริ่มโครงการQuality and Outcome Framework (QOF) ในปี พ.ศ. 2547
ของสหราชอาณาจักร  Dr. Paramjit Gill แพทย์ทั่วไปและผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพ จาก Institute of Applied Health Research Reader in Primary Care Research, Universityof Birmingham เล่าเรื่องการพัฒนาโครงการ QOF ในสหราชอาณาจักรให้เราฟังว่า

Capture

Dr. Praramjit Gill: การพัฒนาระบบ QOF ของสหราชอาณาจักร เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาความแตกต่างในทางปฏิบัติของการรักษาผู้ป่วยในสถานบริการปฐมภูมิต่าง ๆ ทั่วประเทศ เนื่องจากความแตกต่างของการรักษาส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของผู้ป่วย การพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพบริการปฐมภูมิเกิดขึ้นเพื่อสร้างมาตรฐานของการให้บริการเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ในช่วงต้นของการพัฒนาตัวชี้วัด ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ เช่นแพทย์ทั่วไป และนักวิชาการ ใช้วิธีการหาหลักฐานที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในขณะนั้นมาประกอบการพัฒนาตัวชี้วัด จนในปี พ.ศ.2552 มีการใช้ข้อมูลสนับสนุนจาก National Institute for Health and Care Excellent (NICE) guideline เพื่อนำไปพัฒนาตัวชี้วัด

การพัฒนาโครงการระยะแรกพบปัญหาอะไรบ้าง และมีวิธีแก้ไขอย่างไร ?

Dr. Praramjit Gill: การพัฒนาตัวชี้วัดอาจประสบปัญหาได้ เช่น ตัวชี้วัดไม่เหมาะสมกับการนำไปใช้จริง หรือไปเพิ่มภาระงานให้ผู้ปฏิบัติ การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในขั้นตอนการพัฒนาตัวชี้วัดจึงสำคัญอย่างยิ่ง
ดังนั้นคณะ กรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาตัวชี้วัดจึงประกอบไปด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายภาคส่วน นอกจากนี้การทดลองใช้ตัวชี้วัดในโครงการนำร่อง อาจใช้เวลาเกือบหนึ่งปี แต่เป็นขั้นตอนที่จำเป็น เพื่อให้ได้ตัวชี้วัดที่ใช้ได้จริง

ประเทศไทย นำแนวคิดการพัฒนาตัวชี้วัดมาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 แต่พบว่ายังมีปัญหาหลายประการ หากประเทศไทยต้องการให้ระบบนี้สำเร็จใช้ได้จริง ต้องพิจารณาเรื่องใดบ้าง?

Dr. Praramjit Gill:  หากประเทศไทยต้องการพัฒนาเรื่องนี้ สิ่งแรกที่ต้องคำนึง คือการวางระบบและการให้ความสำคัญของบริการปฐมภูมิ โดยบริการปฐมภูมิไม่ได้หมายถึงแพทย์อย่างเดียว แต่หมายถึงทีมบริการปฐมภูมิที่รวมถึงพยาบาล เภสัชกร และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องทำงานร่วมกัน ปัจจุบันประเทศไทยยังมีปัญหาเรื่องแนวคิดเหมือนกับที่สหราชอาณาจักรประสบเมื่อ 30 ปีที่แล้ว คือ คนมองว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่ดีที่สุด ส่วนสถานพยาบาลปฐมภูมิถูกมองว่าด้อยคุณภาพ การแก้ปัญหาดังกล่าวต้องอาศัยการวางระบบให้เกิดสมดุลของการให้บริการในระดับต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้เวลาในการดำเนินการ เราโชคดีที่ผ่านกระบวนการการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิมาแล้ว ประเทศไทยกำลังก้าวผ่านจุดนี้ไป ผมมั่นใจว่าต้องดีขึ้น เพราะการพัฒนาตัวชี้วัดในครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนจุดยืนและเป้าหมาย แทนที่จะเริ่มต้นแนวคิดการจัดงบประมาณแบบทำเท่าไร จ่ายเท่านั้นอย่างที่ผ่านมา เราเปลี่ยนเป้าหมายของการดำเนินงานเป็นการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ซึ่งไม่ใช่แต่ฝั่งผู้ให้บริการ แต่รวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพบริการที่ผู้ป่วยจะได้รับ ประเทศไทย เป็นประเทศลำดับต้น ๆ ในประเทศกำลังพัฒนาที่เริ่มพัฒนาระบบตัวชี้วัดคุณภาพ ซึ่งจะสามารถเป็นต้นแบบและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้กับประเทศที่มีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งน่าจะดีกว่าการนำข้อมูลจากประเทศพัฒนาแล้วมาใช้

สามารถอ่านรายละเอียด QOF เพิ่มเติมได้ที่ https://www.hitap.net/documents/167057

5 มิถุนายน 2560

Next post > หยิบข่าวมาเล่า: “มะเร็งปากมดลูก” คร่าชีวิตพุ่งเหตุตรวจคัดกรองต่ำ HITAP เผยงานวิจัยชี้คัดกรองด้วย VIA ร่วมกับ pap smear ที่อายุ 30 ปีขึ้นไปมีความคุ้มค่ามากที่สุด

< Previous post ทุกครั้งที่คุณหยิบบุหรี่มาสูบอายุคุณจะสั้นลง

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ