logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ทุกครั้งที่คุณหยิบบุหรี่มาสูบอายุคุณจะสั้นลง

เป็นที่ทราบกันดี การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ก่อให้เกิดโรคและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญลำดับต้นๆของประเทศไทย ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจจํานวนมหาศาล ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีมาตรการสนับสนุนการเลิกสูบบุหรี่ แต่ประชากรไทยกว่าร้อยละ 20 ยังคงสูบบุหรี่

ประเทศไทยมียอดจำนวนผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละประมาณ 52,000 คน เฉลี่ยวันละ 142 คน ชั่วโมงละ 6 คน โดยสูบบุหรี่จากโรงงานอย่างเดียวมากที่สุด 5.1 ล้านคน รองลงมาคือบุหรี่มวนเอง 4.7 ล้านคน อีกทั้งผู้ที่สูบบุหรี่ยังต้องเผชิญกับปัญหาการเจ็บป่วยที่ตามมาเช่น มะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง ผลจากรายงานวิจัยเรื่องการประเมินผลลัพธ์ของการดำเนินมาตรการสร้างเสริมสุขภาพ: การประเมินความเต็มใจจ่ายของครัวเรือนต่อมาตรการสร้างเสริมสุขภาพของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ชี้ให้เห็นผลการวิเคราะห์ต้นทุนความเจ็บป่วย ที่มีผลต่อต้นทุนทางเศรษฐกิจต่อนักสูบหน้าใหม่

ในเพศชาย มีต้นทุนต่อนักสูบหน้าใหม่ 1 คน มีค่าประมาณ 158,000 บาท  (แบ่งเป็นต้นทุนจากการสูญเสียชีวิตก่อนวัยอันควร = 96,000 บาท และต้นทุนจากการสูญเสียผลิตภาพในการทําางาน = 62,000 บาท)

ในขณะที่ผู้สูบุหรี่จะมีอายุสั้นลง = 4.6 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับเพศหญิงพบว่า ต้นทุนต่อนักสูบหน้าใหม่ 1 คนจะมีค่าประมาณ 85,000 บาท (แบ่งเป็นต้นทุนจากการสูญเสียชีวิตก่อนวัยอันควร = 32,000 บาท และต้นทุนจากการสูญเสียผลิตภาพในการทําางาน = 53,000 บาท)ในขณะที่ผู้สูบจะมีอายุสั้นลง = 3.4 ปี

นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ถ้าเลิกสูบได้เร็วเท่าไรยิ่งทําให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเอง และความสูญเสียทางเศรษฐกิจได้มากเท่านั้น  ถ้าเพศชายที่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ที่อายุ 30 35 และ 40 ปี จะทำให้มีอายุสั้นน้อยลง 1.4 1.7 และ 2 ปีตามลําดับ และสามารถช่วยประหยัดต้นทุนได้ถึง 71,000 บาท 55,000 บาท และ 42,000 บาท ตามลําดับ  ในขณะที่เพศหญิงที่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ที่อายุ 30 35 และ 40 ปี จะทำให้มีอายุสั้นน้อยลง 0.6 0.8 และ 1 ปีตามลําดับ สามารถช่วยประหยัดต้นทุนได้ถึง 40,00 บาท 31,000 บาท และ 23,000 บาท ตามลําดับดับ

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการป้องกันไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ 1 ราย และการเลิกสูบบุหรี่ได้ สามารถช่วยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจได้เป็นจำนวนมาก ดังนั้น มาตรการหรือนโยบายที่ช่วยป้องกันนักสูบหน้าใหม่และการเลิกสูบบุหรี่  ทั้งนี้จากผลการศึกษายังชี้ให้เห็นด้วยว่าการสูบบุหรี่ส่งผลกระทบจากการสูญเสียผลิตภาพในการทำงานคิดเป็นสัดส่วนที่สำคัญของการสูญเสียทั้งหมด เพราะฉะนั้นหน่วยงานทั้งในภาครัฐและเอกชนควรให้ความสำคัญกับการทำกิจกรรมรณรงค์และการออกมาตรการเพื่อลดผลกระทบดังกล่าวจากในสถานประกอบการให้มากขึ้นด้วยเช่นกัน

เนื่องในวันงดสูบหรี่โลก 2560  HITAP ขอเชิญท่านที่มีความต้องการเลิกสูบบุหรี่ร่วมโครงการ iCanQuit (โครงการวิจัยเรื่อง “การทดสอบประสิทธิผลของการส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือต่อการรับบริการเลิกบุหรี่และการตัดสินใจเลิกบุหรี่”)  โดยผู้เข้าร่วมโครงการมีสิทธิ์ลุ้นการจับฉลากรายชื่อผู้โชคดี รับ IPhone 7 แทนคำขอบคุณที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยนี้ สนใจสมัครคลิกเลย https://leeds.onlinesurveys.ac.uk/icanquitbaseline

Print

31 พฤษภาคม 2560

Next post > เรื่องเล่าการพัฒนา QOF ในประเทศอังกฤษ โดย Dr. Paramjit Gill

< Previous post ประเทศไทยควรดำเนินโครงการ QOF ต่อไปหรือไม่?

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ