HITAP Foundation รับรางวัลเกียรติยศ “5 ทศวรรษ ระบบยาประเทศไทย” พร้อมร่วมเสวนาทิศทางบัญชียาหลักแห่งชาติ

อย่างไรก็ตามแม้จะมีอุปสรรคดังที่กล่าวมาแต่ผลการดำเนินงานโครงการ QOF ก็มุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน เพราะการดำเนินงานตามโครงการ QOF นอกจากจะเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนถึงความสำคัญของงานบริการปฐมภูมิ ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของการบรรลุเป้าหมายประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดระบบธรรมาภิบาลของการใช้ทรัพยากรด้านสุขภาพเพราะทำให้เกิดการวัดผลงานอย่างจริงจังทั้งระบบตั้งแต่ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลลัพธ์ และผลกระทบด้านสุขภาพที่ถึงแม้จะวัดยากและต้องอาศัยระยะเวลาในการติดตามวัดมากกว่านี้ก็ตาม
นอกจากนี้การดำเนินงานตามโครงการ QOF ยังตอบสนองต่อเป้าหมายด้านสุขภาพระดับชาติที่เน้นให้สถานพยาบาลที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดสามารถให้บริการอย่างมีคุณภาพมีมาตรฐานใกล้เคียงกันในทุกส่วนของประเทศ ดังนั้นหากจะดำเนินโครงการ QOF ต่อไปควรปรับปรุงเรื่องต่อไปนี้• พัฒนาการสื่อสารระหว่างหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ สร้างความตระหนักและความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ QOF ว่าเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ให้บริการ ผู้รับบริการและสังคมโดยรวมอย่างไร จนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการให้บริการ
บริการปฐมภูมิ แท้จริงแล้วมีความสำคัญกับสุขภาพของคนไทยมากกว่าที่ใคร ๆ เข้าใจว่าเป็นเพียงสถานพยาบาลท้องถิ่นที่มีบริการพื้น ๆ ไม่หรูหราล้ำหน้าเหมือนโรงพยาบาลขนาดใหญ่ แต่ความจริงแล้ว ยิ่งจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาลขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นเท่าใด ยิ่งสะท้อนว่าการบริการด้านสุขภาพในระบบสาธารณสุขของไทยยังไม่ดีพอ กลับกันหากจำนวนผู้รับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิมีมากขึ้นและคุณภาพการให้บริการก็ดียิ่งขึ้น จะเป็นตัวสะท้อนว่า การดูแลสุขภาพคนไทยในระบบสาธารณสุขนั้นพัฒนาแล้ว โครงการ QOF จึงเป็นอีกความพยายามหนึ่งที่จะสร้างแรงกระทบที่ระดับพื้น ๆ แต่ได้ผลกระทบที่ระดับยอดเขา คือ สุขภาพของคนไทยและความยั่งยืนของทรัพยากรด้านสุขภาพนั่นเอง
สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.hitap.net/documents/167057