logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ตัวชี้วัดคุณภาพ กลไกสำคัญที่ต้องพัฒนา

ในการดำเนินงานโครงการ QOF ให้ประสบความสำร็จ จะต้องมีตัวกำหนดมาตรฐานของคุณภาพ ซึ่งกล่าวได้ว่าตัวชี้วัดคุณภาพบริการปฐมภูมิ คือเครื่องมือวัดระดับคุณภาพของบริการปฐมภูมิ ระหว่างหน่วยบริการว่ามีคุณภาพดีมากน้อยต่างกันเท่าใด เพื่อวัดระดับคุณภาพบริการและติดตามประเมินคุณภาพของบริการ อีกทั้งผลที่ได้จากตัวชี้วัดจะเป็นกลไกทางการเงินในการจ่ายค่าตอบแทนจูงใจให้กับบุคลากรในการให้บริการปฐมภูมิที่มีคุณภาพ

ตัวชี้วัดทำหน้าที่อะไร

ส่งสัญญานให้หน่วยให้หน่วยบริการปรับปรุงกิจกรรมบริการ

บ่งชี้ทิศทางนโยบายสุขภาพของประเทศ

โครงการ QOF ใช้ผลการปฏิบัติงานโดยดูจากตัวชี้วัดเป็นตัวกำหนดผล ตอบแทนเป็นตัวเงินที่หน่วยงานจะได้รับ

Capture3

ตัวชี้วัดคุณภาพบริการปฐมภูมิที่ดีสำหรับประเทศไทยเป็นอย่างไร

ตัวชี้วัดต้องใช้กระบวนการที่น่าเชื่อถือ เช่นการใช้หลักฐานทางวิชาการ การมีส่วนได้ส่วนเสียในทุกฝ่าย และเมื่อผู้ปฏิบัติงานดำเนินการตามตัวชี้วัดฯจะช่วยให้เกิดคุณภาพบริการจริง โดยที่ตัวชี้วัดจะสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการการทำงานและผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ประเมินผลได้ภายใน 1 ปี เป็นตัวชี้ทิศทางให้หน่วยบริการด่านหน้าทราบว่าต้องทำอะไรเพื่อใช้ในการจัดสรรทรัพยากรและวางแผนจัดบริการได้ทันท่วงที

ดังนั้น ตัวชี้วัดป็นเหมือนการกำหนดเป้าหมายหารดำเนินงานเพื่อให้บริการมีคุณภาพและประชนชนมีสุขภาพดีขึ้น โดยมีเงิน QOF เป็นแรงจูงใจที่หน่วยบริการจะได้รับ โดยคำนวณจากผลงานของหน่วยบริการซึ่งประเมินจากตัวชี้วัดปรับด้วยค่าความชุกของปัญหาสุขภาพ เพื่อให้ทุกพื้นที่ไม่เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ หากมีความชุกของปัญหาสุขภาพต่างกัน

QOF blog

จากรูปแบบการดำเนินงานโครงการ QOF จะเห็นได้ว่าตัวชี้วัดเป็นตัวกำหนดคุณภาพที่สำคัญมาก ตัวชี้วัด QOF ในประเทศไทย มีหน้าที่หลักสามประการ คือ เป็นเครื่องมือวัดระดับคุณภาพบริการ ส่งสัญญาณให้หน่วยบริการปรับปรุงบริการและกำหนดทิศทางนโยบายของประเทศ หากมองเป็นมิติ ตัวชี้วัดคุณภาพบริการปฐมภูมิมีด้วยกันทั้งหมดสี่ด้าน คือ กำหนดให้หน่วยบริการต้องมีคุณภาพและมีผลงานด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้

  1. การจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (เช่น การผากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์และร้อยละของการตรวจมะเร็งปากมดลูกในหญิงอายุ 30-60 ปี ภายใน 5 ปี
  2. การจัดบริการปฐมภูมิ (เช่นสัดส่วนบริการผู้ป่วยนอกในหน่วยบริการปฐมภูมิกับโรงพยาบาล)
  3. ด้านการพัฒนาองค์กร การเชื่อมบริการ ระบบส่งต่อและการบริหารระบบ (เช่น ร้อยละหน่วยบริการปฐมภูมิที่ผ่านเกณฑ์ขึ้นทะเบียน)
  4. บริการที่จำเป็นตอบสนองปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่และบริการเสริมในพื้นที่ (การให้บริการลดปัณหาสุขภาพเฉพาะในพื้นที่นั้นเท่าใด

ผลการศึกษาพบว่า ตัวชี้วัดบางตัวที่กำหนดไว้ในช่วงแรก ขาดหลักฐานวิชาการสนับสนุน และผู้ปฏิบัติงานประสบปัญหาในการ ทำงานเพื่อได้ตามเป้าหมายในแต่ละตัวชี้วัด การศึกษาเรื่องการพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพบริการปฐมภูมิจึงมีข้อเสนอแนะว่า

  • ก่อนนำตัวชี้วัดไปใช้ สปสช. และสธ. ควรร่วมกันจัดอบรมชี้แจงนโยบายพร้อมจัดทำคู่มือตัวชี้วัดเพื่อสื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • สนับสนุนให้หน่วยบริการพัฒนาศักยภาพทั้งด้านวิชาการ อุปกรณ์และบุคลากรให้พร้อมกับการให้บริการตามตัวชี้วัดด้วย
  • สปสช. ควรติดตามและประเมินรายตัวชี้วัดเป็นระยะเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติตามตัวชี้วัดได้
  • ควรมีระบบสะท้อนข้อมูลกลับไปยังหน่วยบริการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการบริการ
  • ควรพัฒนาตัวชี้วัดด้วยกระบวนการที่เป็นระบบ มีหลักฐานวิชาการรองรับและมีการทดสอบก่อนใช้จริง

สามารถติดตาม Blog ต่อไปเรื่อง ประเทศไทยควรดำเนินโครงการ QOF ต่อไปหรือไม่ หรือตามตามโครงการพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพบริการปฐมภูมิ ได้ที่https://www.hitap.net/documents/167057

26 พฤษภาคม 2560

Next post > ประเทศไทยควรดำเนินโครงการ QOF ต่อไปหรือไม่?

< Previous post การดำเนินการ QOF ในประเทศไทย

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ