การดำเนินการ QOF ในประเทศไทย
การดำเนินงานโครงการ QOF ในระยะแรกของ สปสช. คือการมุ่งพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพ ซึ่งแบ่งเป็นสองแบบ คือ ตัวชี้วัดกลาง พัฒนาโดย สธ. และ สปสช. และตัวชี้วัดพื้นที่พัฒนาโดยคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพเขต (อปสข.) จากนั้นเมื่อหน่วย บริการปฐมภูมิมีการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนจะทำการบันทึกข้อมูลการให้บริการตามตัวชี้วัดทั้งสองแบบและส่งต่อข้อมูลไป ที่ศูนย์ข้อมูลระดับอำเภอ จังหวัด เขตและกระทรวง สาธารณสุข ตามลำดับ เมื่อสปสช.ได้รับข้อมูลการให้บริการจะนำมาคำนวณคะแนน QOF และกันเงิน เหมาจ่ายรายหัวสำหรับการให้บริการผู้ป่วยนอกและ การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไว้ส่วนหนึ่งเพื่อ ใช้ในโครงการ QOF โดยจัดสรรงบประมาณให้แต่ละเขตตามจำนวนประชากร จากนั้น คณะทำงานระดับเขตจึงจัดสรรงบประมาณให้เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิตามเกณฑ์ QOF และเกณฑ์อื่น ๆ ประกอบ จากนั้นคณะทำงานระดับอำเภอจัดสรรงบประมาณ ให้หน่วยบริการปฐมภูมิตามข้อตกลงของแต่ละ CUP ต่อไป
QOF ก้าวแรก เส้นทางนี้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
ในระยะแรกมีเสียงคัดค้านเรื่องการดำเนินงานโครงการ QOF ในประเทศไทยอยู่ไม่น้อย ซึ่งเป็นผลมาจากการออกแบบนโยบาย ที่ยังไม่เหมาะสม เช่น การจัดสรรงบที่ไม่เหมาะสม เพราะเงินที่นำมาใช้เป็นงบ QOFเป็นการแบ่งเงินมาจากงบเหมาจ่ายรายหัว ซึ่ง เหมือนเป็นเงินคนละกระเป๋าไม่ควรนำมาใช้ปนกัน นอกจากนี้หลักเกณฑ์การจัดสรรเงินยังไม่สะท้อนคุณภาพผลงานอย่างแท้จริง และหน่วยบริการยังไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะดำเนินงานตามโครงการ QOF จนผู้ปฏิบัติงานมองว่าเป็นการเพิ่มภาระงานเอกสาร ทำให้ไม่มีเวลาให้บริการประชาชน จนนำไปสู่ข้อเรียกร้องที่ว่า “เอาหมอหน้าจอคืนไป เอาหมออนามัยคืนมา” การศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของโครงการ QOF พบว่า โครงการ QOF มีทั้งก่อให้เกิดประโยชน์ตามเป้าหมายและมีปัญหาที่อาจนำไปสู่ ความล้มเหลวของโครงการได้ ดังนี้
ติดตาม Blog ต่อไป เรื่องตัวชี้วัดคุณภาพ กลไกสำคัญที่ต้องพัฒนา
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม QOF ในจุลสารปีที่ 9 ฉบับที่ 28 กันยายน-ธันวาคม 2559: สร้างกลไกการเงินและตัวชี้วัดอย่างไรให้พัฒนาคุณภาพบริการปฐม ได้ที่ https://www.hitap.net/documents/167057
- โครงการพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพบริการปฐมภูมิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระยะที่ 2