logo
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
กระทะโคเรียคิงกับ HTA ทั้งสองอย่างนี้เกี่ยวอะไรกัน

สรรพคุณที่พิสูจน์ไม่ได้ อาจจนำมาซึ่งความเคลือบแคลง และการตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ

กระทะที่กำลังมีปัญหาเรื่องการโฆษณาเกินจริงนั้นเกี่ยวข้องอะไรกับงานวิจัยด้าน HTA ที่ทำการประเมินพวกยา เครื่องมือแพทย์และวัคซีน (เรียกรวมว่า ๆ เทคโนโลยีด้านสุขภาพ) เพื่อพิจารณาบรรจุเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติและเพิ่มเป็นสิทธิประโยชน์ในระบบประกันสุขภาพ? คำตอบคือเกี่ยวกันตรงที่่ทั้งสองสิ่ง ควรมีหลักฐานเชิงวิชาการมาประกอบการตัดสินใจซื้อ-ขายนั่นเอง ผู้ซื้อกระทะโคเรียงคือประชาชนทั่วไป ส่วนผู้ซื้อในกรณี HTA คือ สำนักงานประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สปสช.) ที่่ต้องจัดซื้อยา เครื่องมือแพทย์และวัคซีน ให้ประชาชนได้ใช้ในระบบประกันสุขภาพนั่นเอง

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรงมีคำสั่งระงับการโฆษณากระทะโคเรียคิงทุกช่องสื่อเพราะพบว่า ไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่น่าเชื่อถือมายืนยันสรรพคุณที่่ใช้ในการโฆษณา ทั้งการเคลือบ 8 ชั้น การลื่น 300% อีกทั้งยังใช้กลยุทธทางการตลาดที่ไม่เหมาะสม คือ สร้างราคาที่่สูงเกินจริง (fake original price) เพื่อเมื่อทำการลดราคาแล้วจะทำให้ผู้บริโภครู้สึกยิ่งคุ้มค่า  สรรพคุณเหนือชั้น แต่ราคาเหมือนกระทะเทฟล่อนทั่วไป จึงเท่ากับว่าเป็นความคุ้มค่าทางความรู้สึกเท่านั้น การระงับการโฆษณานี้เป็นไปเพื่อให้มีการแก้ไขข้อมูลที่ใช้ในโฆษณา ถ้าแก้แล้วก็กลับมาโฆษณาใหม่ได้ เพราะการโฆษณาทำการตลาดนั้นไม่ผิด แต่ควรทำอย่างเหมาะสม

ส่วนการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพหรือ HTA นั้น เป็นเครื่องมือช่วยวิเคราะห์ความคุ้มค่าอย่างเป็นระบบ โดยเปรียบเทียบประสิทธิผลของยา เครื่องมือแพทย์ และวัคซีนที่จะจัดซื้อกับเงินที่สังคมต้องจ่ายเพื่อให้ประชาชนได้ใช้สิ่งเหล่านั้นผ่านบัญชียาหลักแห่งชาติและระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ด้วยกระบวนการการวิจัยที่มีมาตรฐานโดยบุคคลหรือหน่วยงานที่่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเทคโนโลยีด้านสุขภาพนั้น ๆ จึงเป็นความคุ้มค่าแบบไม่เข้าใครออกใคร ว่ากันไปตามหลักฐานที่่พบ อย่างไรก็ตาม HTA ก็ไม่ได้ดูที่ความคุ้มค่าอย่างเดียว ยังมีเรื่องจริยธรรมและอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อ่านเพิ่มเติมได้ที่   HTA ไม่ใช่แค่ประเมินความคุ้มค่า 

เช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อมีการเรียกร้องให้มีการตรวจสอบสรรพคุณของกระทะโคเรียคิงตามที่่ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายโฆษณาไว้ จึงต้องให้สถาบันวิทยาศษสตร์ 3 แห่งช่วยตรวจสอบ ส่วนเรื่องราคาจะมีการพิสูจน์อย่างไรนั้น ยังเป็นเรื่องที่น่าติดตาม ส่วนเรื่องเกณฑ์ความคุ้มค่าของกระทะ คงเป็นเรื่องส่วนบุคคลเพรากระทะโคเรียคิงเป็นอุปกรณ์ตามบ้าน วิจารณญาณคงเป็นของเจ้าของบ้าน เป็นเงินในกระเป๋าส่วนบุคคล แต่เทคโนโลยีด้านสุขภาพในระบบประกันสุขภาพนั้นเป็นเรื่องของส่วนรวม เงินที่ใช้จัดซื้อก็เป็นเงินภาษีของประชาชนทุกคน การตัดสินใจแต่ละครั้งจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ รอบด้านผ่านกระบวนการที่โปร่งใส ซึ่งสุดท้ายแล้วการจัดซื้อแต่ละครั้งอาจไม่ถูกใจใครไปทั้งหมด แต่ก็จัดว่าให้ทุกคนได้รับสิ่งที่เหมาะสมในเวลานั้น ๆ นั่นเอง

19 พฤษภาคม 2560

Next post > โครงการ QOF ในประเทศไทย เกิดขึ้นได้อย่างไร

< Previous post จ่ายเงินซื้อคุณภาพบริการปฐมภูมิ แล้วประชาชนได้อะไร

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ