logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
โครงการ QOF ในประเทศไทย เกิดขึ้นได้อย่างไร

QOF  หรือ โครงการงบจ่ายตามตัวชี้วัดเกณฑ์คุณภาพและผลงาน บริการปฐมภูมิ  ภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของ (สปสช.) เริ่มขึ้นตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557  จากการทบทวนรูปแบบกลไกด้าน P4P จากประเทศต่างๆ แล้วพบว่า อังกฤษและเวลส์นำกลไกP4P ไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิในเวชปฏิบัติครอบครัว (family practice) เรียกว่า โครงการ (Quality and Outcomes Framework (QOF) ผลการดำเนินโครงการประสบความสำเร็จ ทางสปสช.เล็งเห็นว่า รูปแบบนี้อาจจะนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับระบบบริการสุขภาพของไทย เพื่อเพิ่ม ผลิตภาพ ประสิทธิภาพและคุณภาพบริการ

ประยุกต์กลไกจ่ายเงินค่าตอบแทน กระตุ้นให้เกิดคุณภาพบริการ

โครงการ QOF ที่ใช้อยู่ในอังกฤษและเวลส์ เริ่มขึ้นเมื่อปี 2547 ดำเนินงานด้วยการกำหนดตัวชี้วัดคุณภาพของบริการปฐมภูมิ ให้คะแนนตามเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ และนำคะแนนไปคำนวณผลตอบแทนในรูปของตัวเงิน โครงการมีการปรับปรุงการดำเนินงานมาตลอดโดยอาศัยหลักฐานทางวิชาการ และมีการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สปสช. จึงประยุกต์หลักการและแนวทางของ QOF ในอังกฤษและเวลส์มาใช้กับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

สปสช. มีนโยบายที่จะดำเนินโครงการ QOF ในประเทศไทยโดยจะใช้ตัวชี้วัดแต่ละชุดเป็นเป็นเวลาอย่างน้อยสามปี เพื่อให้สถานพยาบาลที่เป็นผู้ให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิได้พัฒนาคุณภาพและการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและเห็นผลในระดับหนึ่ง แม้ในช่วงแรกของการดำเนินโครงการ QOF พบปัญหาหลายประการ เช่น ปัญหาการรายงานผลงาน ฐาน ข้อมูลและการประสานความร่วมมือในระดับนโยบาย เนื่องจาก งานบริการปฐมภูมิอยู่ในความรับผิดชอบของทั้งสองหน่วย งานที่มีความสัมพันธ์ไม่ราบรื่นนัก โดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นเจ้าของหน่วยบริการ แต่ สปสช. เป็นผู้ดำเนินงาน โครงการ อย่างไรก็ดีผลจากการดำเนินโครงการในช่วงแรก นับ ได้ว่าเป็นการพัฒนาการดำเนินงานของโครงการ เช่น เป็นการ สร้างการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของสถานพยาบาลและหน่วย งานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้หน่วยงานเหล่านั้นสามารถกำหนด ข้อตกลงหลักเกณฑ์ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและ แก้ไขปัญหาได้ในระดับเขต จังหวัดและพื้นที่ เนื่องจากโครงการนี้ ใช้งบประมาณจำนวนมาก เช่น ใน ปีงบประมาณ 2558 สปสช. ได้จัดสรรงบประมาณถึงร้อยละ 3 ของงบประมาณทั้งหมดที่ใช้ในโครงการหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า (มากกว่า 3.2 พันล้านบาท) จึงต้องสามารถชี้แจง กับประชาชน ได้ว่าเงินดังกล่าวถูกใช้ไปอย่างเหมาะสมหรือไม่ สปสช. จึงมอบหมายให้ HITAP ประเมิน QOF เพื่อนำผลการ ศึกษาที่ได้ไปปรับปรุงการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ติดตามต่อกับ QOF ในประเทศไทยดำเนินการ อย่างไร และมีอุปสรรคอย่างไร

22 พฤษภาคม 2560

Next post > การดำเนินการ QOF ในประเทศไทย

< Previous post กระทะโคเรียคิงกับ HTA ทั้งสองอย่างนี้เกี่ยวอะไรกัน

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ