logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
HTA เครื่องมือหนึ่งสำหรับการจัดลำดับความสำคัญ ในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า โครงการหนึ่งที่รัฐ ทำให้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพของตนเอง สามารถใช้บริการทางสุขภาพได้ตามที่สิทธิ์ที่รัฐบาลสนับสนุน ทว่าด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณและทรัพยากรทั้งในแง่เครื่องมือเครื่องใช้และบุคลากร ทำให้รัฐต้องตัดสินใจเว่าสิ่งใดสำคัญที่สุด

กระบวนการในการพิจารณาคัดเลือก

กระบวนการนี้ เรียกว่า การจัดลำดับความสำคัญนั่นเอง  โดยสิ่งที่อยู่ในความสำคัญลำดับต้นจะเป็นสิ่งที่จะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐต่อไป เช่น การบรรจุอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ โดยมีกระบวนการและหลักเกณฑ์ในการจัดลำดับใช้เพื่อกำหนดความสำคัญแตกต่างกันไป ทำได้ 2 วิธีดังนี้
1.กระบวนการและหลักเกณฑ์ในการจัดลำดับอย่างชัดเจน  2.กระบวนการและหลักเกณฑ์ในการจัดลำดับอย่างไม่ชัดเจน  ในกรณีที่มีหลักเกณฑ์ชัดเจน เกณฑ์ที่ใช้เพื่อกำหนดความสำคัญจะใช้ข้อมูลประกอบในการตัดสินใจพิจารณาเรื่องผลการรักษา ที่ได้จากบริการทางสุขภาพนั้น ๆ  ทั้งนี้บางประเทศมีการพิจารณาเรื่องความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ประกอบกันด้วย ดังนั้น เครื่องมือหนึ่งที่มักนำมาใช้ช่วยในการจัดลำดับความสำคัญคือ การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Health Technology Assessment – HTA)

HTA มาช่วยจัดลำดับได้อย่างไร

HTA เป็นการประเมินอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับคุณลักษณะ ผลลัพธ์ หรือผลกระทบอันเกิดจากการใช้เทคโนโลยีหรือนโยบายด้านสุขภาพ ส่วนใหญ่เป็นการพิจารณาและศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิผลความปลอดภัยและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ รวมถึงการพิจารณาในเชิงสังคม กฎหมาย และจริยธรรมด้วย โดยที่มีเป้าหมายหลักเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเชิงนโยบาย

ผลลัพธ์จากการใช้ HTA

เมื่อมีการทำ HTA  ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ผลการศึกษาที่เป็นระบบที่ช่วยให้ข้อมูลกับผู้ตัดสินใจเชิงนโยบายได้ว่า เทคโนโลยีหรือนโยบายด้านสุขภาพนั้น ๆ มีประสิทธิผลดีหรือไม่มีความปลอดภัยหรือไม่ และ/หรือมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์หรือไม่ เนื่องจากการทำ HTA นั้นมีหลายแง่มุมที่สามารถประเมินทุกแง่มุมในคราวเดียวหรือแยกกันขึ้นอยู่กับข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการพิจารณ  งาน HTA บางชิ้นจึงอาจเป็นการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เพียงอย่างเดียว บางชิ้นศึกษาเฉพาะประสิทธิผล และบางชิ้นศึกษาครบทุกมุมมอง ตั้งแต่ประสิทธิผล ความปลอดภัย ความคุ้มค่า รวมไปถึงประเด็นเชิงจริยธรรม แต่จุดร่วมของงาน HTA ทุกชิ้นคือจะให้ข้อมูลว่า เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์แล้ว ภาครัฐควรเลือกสนับสนุนบริการทางสุขภาพใดต่อไป

28 เมษายน 2560

Next post > บริการปฐมภูมิ สำคัญอย่างไรจึงต้องมีการควบคุมคุณภาพ

< Previous post ครั้งหนึ่งเราเคยมีการประกาศใช้ CL ยาท่ามกลางความขัดแย้งมากมาย

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ