HTA ไม่ใช่แค่ประเมินความคุ้มค่า
คงไม่มีใครปฏิเสธความจริงที่ว่า ทุกประเทศกำลัง ประสบปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่สูงขึ้น ในขณะที่ งบประมาณด้านสุขภาพมีจำกัด อีกทั้งหลายประเทศ กำลังดำเนินนโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดังนั้นประเด็น การจัดดำดับความสำคัญด้านสุขภาพจึงกลายเป็นประเด็นที่ ทั่วโลกให้ความสนใจ การจัดลำดับความสำคัญเพื่อจัดสรรทรัพยากรทางสุขภาพที่ มีอยู่จำกัดของประเทศทำได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้ความ เห็นจากผู้เชี่ยวชาญ หรือการอ้างอิงข้อมูลทางวิชาการ หนึ่ง ในข้อมูลวิชาการที่ได้รับการยอมรับจากหลายประเทศเพื่อ ใช้ประกอบการจัดลำดับความสำคัญ คือ ข้อมูลการประเมิน เทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Health Technology Assessment) เรียกสั้น ๆ ว่า HTA โดยในระยะหลัง ข้อมูล HTA ถูกนำมาใช้ อย่างแพร่หลายและเป็นที่กล่าวถึงมากขึ้นในประเทศไทย คือ ข้อมูลการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข หรืออีกนัยหนึ่งคือข้อมูลจากแง่มุมทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อการ พัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติและชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หลายครั้งที่ฝ่ายนโยบายตัดสิน ใจบรรจุยาหรือไม่บรรจุยาชนิดนั้น ๆ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ หรือในชุดสิทธิประโยชน์ฯ โดยให้เหตุผลว่ายานั้นคุ้มค่าหรือไม่ คุ้มค่า ทำให้เกิดความสับสนว่าการประเมินความคุ้มค่า และ การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ เป็นสิ่งเดียวกัน ทั้งที่อันที่ จริง การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ กินความกว้างกว่าการ ประเมินความคุ้มค่ามาก และมีการนำมาใช้ในประเทศไทยเป็น ระยะเวลานานพอสมควรแล้วก่อนที่จะมีการใช้ข้อมูลความคุ้มค่า นอกจากความคุ้มค่าหรือประเด็นด้านเศรษฐศาสตร์แล้ว การ ประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ยังพิจารณาอีกหลายแง่มุมของ เทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ ได้แก่ ผลการรักษา ความ ปลอดภัย และผลกระทบทางสังคม กฎหมาย จริยธรรม และ การเมืองอันเกิดจากการใช้เทคโนโลยีหรือนโยบายด้านสุขภาพ นั้น ๆ โดยข้อมูลเหล่านี้ได้มาจากการศึกษาอย่างเป็นระบบโดย มักมีเป้าหมายเพื่อการนำไปใช้ในเชิงนโยบาย ประเภทของการ ศึกษาที่จัดเป็นการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพมีหลากหลาย ยกตัวอย่างดังต่อไปนี้
การประเมินความคุ้มค่าด้านสุขภาพ
เป็นการศึกษาที่เปรียบเทียบระหว่างเทคโนโลยีหรือนโยบายด้านสุขภาพที่สนใจ กับทางเลือกอื่น ๆ ที่อาจเป็นแนวทางปฏิบัติมาตรฐานหรือที่ต้องการเปรียบเทียบด้วย ในแง่ของต้นทุนที่ใช้ และผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ได้ โดยอาจเป็นผลจากการทดลองจริง หรือการจำลองผ่านแบบจำลองก็ได้
การทดลองทางคลินิกเพื่อศึกษาผลการรักษาของ เทคโนโลยีหรือนโยบายด้านสุขภาพ
การศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้เทคโนโลยีหรือนโยบายด้านสุขภาพในระบบสุขภาพ เป็นการศึกษาที่เปรียบเทียบระหว่างเทคโนโลยีหรือนโยบายด้านสุขภาพที่สนใจ กับทางเลือกอื่น ๆ ที่อาจเป็นแนวทางปฏิบัติ มาตรฐานหรือที่ต้องการเปรียบเทียบด้วย ในแง่ของต้นทุนที่ใช้ และผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ได้ โดยอาจเป็นผลจากการทดลอง จริง หรือการจำลองผ่านแบบจำลองก็ได้ เป็นการศึกษาผลของเทคโนโลยีหรือนโยบายนั้น ๆ ในมนุษย์ว่ามีผลดีหรือเสีย มากน้อยเพียงใด มีความปลอดภัยหรือไม่ เช่น การศึกษาประสิทธิผลของยาลด ความดันในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพื่อประเมินว่ายานั้นช่วยลดความดันได้ หรือไม่
การศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้เทคโนโลยีหรือนโยบายด้านสุขภาพในระบบสุขภาพ
เช่น การศึกษาการตรวจวัดสายตาเด็กประถมโดยครู เพื่อประเมินว่ามีความถูกต้องในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่ จะเห็นได้ว่าการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพนั้น ไม่ใช่เพียงการประเมินความคุ้มค่าเท่านั้น แต่ยังมีการ ประเมินอื่น ๆ อีกหลายด้าน โดยข้อมูลการประเมิน เทคโนโลยีด้านสุขภาพชนิดแรก ๆ ที่มีการนำมาใช้ในการตัดสินใจเชิงนโยบาย คือ ข้อมูลด้านความปลอดภัย และ ผลของการรักษา โดยใช้ทั้งในการพิจารณาอนุญาตให้ยา หรือเครื่องมือแพทย์ขึ้นทะเบียน และการพัฒนาบัญชียา หลักแห่งชาติ และชุดสิทธิประโยชน์ด้วยการประเมิน- เทคโนโลยีด้านสุขภาพเป็นการศึกษาผลจากการใช้เทคโนโลยีหรือนโยบายด้านสุขภาพอย่างเป็นระบบในแง่มุมหลากหลาย และรอบด้าน นอกจากความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข ยังมีข้อมูลอื่น ๆ เช่น ประเด็นด้านจริยธรรมและสังคม และประสิทธิผล เป็นต้น การตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพจะช่วยให้การจัดลำดับความสำคัญ ในระบบสุขภาพเป็นไปอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.hitap.net/documents/165655