logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

เป็นที่น่าตกใจ เมื่ออัตราจำนวนผู้เสียชีวิตจากมะเร็งช่องปากในประเทศ มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ในระยะที่ลุกลาม ยากต่อการรักษา หากมีการคัดกรองโรคมะเร็งช่องปากในระยะก่อนเป็นมะเร็งจะสามารถรักษาโรคให้หายขาดได้

การศึกษาในต่างประเทศพบว่าการมีโปรแกรมคัดกรองรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งช่องปากช่วยช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยเสียชีวิตได้ เช่น เช่นประเทศอินเดียเป็นพื้นที่ที่มีความชุกของโรคมะเร็งช่องปากสูง จึงทําให้โปรแกรมการคัดกรองฯ มี ประสิทธิผลและประเทศเนเธอร์แลนด์ มี โปรแกรมการคัดกรองรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งช่องปากด้วยสายตาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านช่องปาก ทำให้มีความคุ้มค่าทาง เศรษฐศาสตร์สูงสุดเมื่อเทียบกับการไม่มีโปรแกรมการคัดกรองฯ สํานักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขจึงสนใจที่จะนำการคัดกรองดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทย อย่างไรก็ตามเนื่องจากบุคลากรในประเทศไทยมีจำกัด สำนักทันตสาธารณสุข จึงได้ออกแบบ โดยให้ประชาชนและทันตาภิบาลเข้ามามีส่วนร่วมก่อนที่จะถึงมือทันตแพทย์ จากนั้นจึงให้ HITAP ทำการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของโปรแกรมการคัดกรอง ทั้งด้านประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำ

 รูปแบบโปรแกรมการคัดกรองรอยโรคมะเร็งช่องปาก

โปรแกรมการคัดกรองรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งช่องปากที่ทดลองใช้มีรูปแบบให้ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เริ่มคัดกรองมะเร็งช่องปากด้วยตัวเองโดยใช้แบบสอบถามประเมินความเสี่ยงและสังเกตรอยโรคในช่องปาก  หากพบความผิดปกติจึงให้ไปพบทันตาภิบาล และทันตแพทย์ เพื่อให้คัดกรองโรคซ้ำอีกครั้ง หากทันตแพทย์พบว่าเป็นรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งช่องปาก จะส่งต่อให้ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านช่องปากคัดกรองรอยโรค โดยการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย และทำการรักษา ตามรูปแบบดังภาพ

ขั้นตอนมากไม่คุ้มค่า

จากผลการศึกษาของ HITAP พบว่า รูปแบบการคัดกรองดังกล่าวยังไม่มีความคุ้มค่าสำหรับประเทศไทย เมื่อเทียบกับการไม่มีการคัดกรอง ฯ เพราะมีอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม (incremental cost-effectiveness ratio: ICER) เท่ากับ 313,391 บาทต่อปีสุขภาวะ สูงกว่าเกณฑ์ความคุ้มค่ากับการลงทุนนโยบายทางด้านสาธารณสุขของประเทศไทยที่ระดับ 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะ สาเหตุมาจากขั้นตอนมาก การลงทุนสูง วิธีการคัดกรองในบางขั้นตอนมีความแม่นยำน้อย ทำให้ผลลัพธ์ทางสุขภาพน้อยลง จึงมีข้อเสนอให้ปรับปรุงโปรแกรมการคัดกรองรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งช่องปาก 3 ทางเลือก ดังนี้

ทางเลือกที่1 ทำให้ประชาชนสามารถระบุว่าตนเองมีรอยโรคได้อย่างแม่นยำอย่างน้อย 60% จากเดิมประชาชนสามารถระบุว่าตนเองมีรอยโรคได้อย่างแม่นยำเพียง 20%  จึงควรจึงควรพัฒนาความสามารถของประชาชนผ่านวิธีการที่มี เนื่องจากความแม่นยำที่เพิ่มขึ้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลการคัดกรอง ให้โปรแกรมมีความคุ้มค่า มีค่า ICER =  149,724บาท/ปีสุขภาวะ

ทางเลือกที่ 2  ทำให้ทันตาภิบาลสามารถระบุรอยโรคได้แม่นยำอย่างน้อย 90% จากเดิม 44% โดยการพัฒนาหลักสูตรการฝึกการอบรมการคัดกรองมะเร็งในช่องปากให้ได้มาตรฐาน และมีประสิทธิภาพ ทางเลือกนี้มีค่า ICER = 158,219 บาท/ปีสุขภาวะ

ทางเลือกที่ 3 ลดขั้นตอนการคัดกรองด้วยสายตาโดยทันตาภิบาลลง ทำให้เกิดประสิทธิภาพต่อการลงทุนมากที่สุดคือมีค่า ICER = 74,698 บาท/ปีสุขภาวะ

 

การปรับโปรแกรมการคัดกรองรอยโรคก่อนเกิดมะเร็งในช่องปากสำหรับประชากรไทยที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ตามข้อเสนอแนะดังกล่าวจะทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดกรองรอยโรคได้มากขึ้น   อีกทั้งยังเกิดความคุ้มค่าต่อการลงทุนนโยบายด้านสาธารณสุขของประเทศ

สามารถติดตามการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการคัดกรองมะเร็งช่องปาก เพิ่มเติมได้ที่ https://www.hitap.net/research/82424 หรือ https://www.hitap.net/documents/166999  รู้เร็วมะเร็งร้ายในปากคุณ  https://www.hitap.net/166681

20 มีนาคม 2560

Next post > รู้เร็ว มะเร็งร้ายในปากคุณ

< Previous post HITAP Comics ตอนที่ 3 ข้อมูลเหลือเฟือจะเชื่อใครดี ภาค 2

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ