logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
เครื่องมือคัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการฉบับปรับปรุง ใช้งานง่าย ไม่เพิ่มภาระงาน

จากปัญหาภาวะทุพโภชนาการของผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาล สู่แนวทางการคัดกรองและประเมินผู้ป่วยในคนไทย

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่บุคลากรทางการแพทย์จะประเมินปัญหาทุพโภชนาะการด้วยตาเปล่า ในผู้ป่วยที่กำลังนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลผลเสียจึงตกกับผู้ป่วยเพราะภาวะทุพโภชนาการจะยิ่งทำให้อาการทรุดลงหรืออาจเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามเครื่องคัดกรองและประเมินภาวะโภชนากรใน รพ. มีมากมาย ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงทำให้ยิ่งยากในการปฏิบัติ แต่ตอนนี้มีการพัฒนาแนวทางการคัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการที่เหมาะสมกับคนไทยแล้ว

คำถาม 4 ข้อและตามด้วยแบบประเมิน NT หรือ NAF ก็ได้ ใช้ได้ดีทั้งคู่

ผลจากการศึกษาเรื่อง  การพัฒนาเครื่องมือการคัดกรองและประเมินภาวะความเสียงด้านโภชนาการในโรงพยาบาลที่เหมาะสมกับคนไทย  ทำให้ได้แนวทางคัดกรองและการประเมินภาวะทุพโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับคนไทย ซึซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ง่าย ไม่เพิ่มภาระงานสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ โดยประกอบด้วยคำถาม 4 ข้อ เมื่อมีความผิดปกติอย่างน้อย 2 ข้อ จะทำการประเมินต่อด้วยแบบ Nutrition Triage (NT) และNutrition Alert Form (NAF) และ ดำเนินการดูแลผู้ป่วยตามความเสี่ยง (ดังรูป)  การศึกษานี้ยังได้พยายามแก้ปัญหาเรื่องเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะทุพโภชนาการซึ่งเดิมมีข้อจำกัดและชวนสับสนด้วยการปรับปรุงจากเกณฑ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันจนได้ เกณฑ์ใหม่  ICD-10 code ที่สอดคล้องกับเครื่องมือข้างต้น อย่างไรก็ตาม งคงต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับความสอดคล้องและผลจากการใช้เครื่องมือดังกล่าวในอนาคต

nutrition pic

nt2

เกณฑ์ ICD Code ที่ใช้สำหรับการวินิจฉัยภาวะทุพโภชนาการ

NT3

การศึกษานี้เสนอให้แก้ปัญหาการคัดกรองและประเมินภาวะทุพโภชชนาการใน รพ. ดังนี้
1. ผู้บริหารโรงพยาบาลควรจัดให้มีการคัดกรองและการประเมินภาวะโภชนาการในโรงพยาบาลโดยเครื่องมือที่แนะนำ
2. ผู้บริหารโรงพยาบาลสนับสนุนการจัดตั้งทีมสหวิชาชีพกำหนดบทบาทและภาระงานให้กับทีม
3. ปรับเกณฑ์ในการวินิจฉัยภาวะทุพโภชนาการสำหรับการเบิกจ่ายโดยระบบประกันสุขภาพให้เหมาะสม
4. กำหนดกลุ่มแพทย์ให้มีหน้าที่สำหรับสั่งอาหารเฉพาะโรคหรือสารอาหารทางหลอดเลือดดำเพื่อลดการใช้อย่างไม่เหมาะสม

สามารถติดตามแนวทางการคัดกรองและการประเมินภาวะโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยได้ที่ https://www.hitap.net/research/165294

24 กุมภาพันธ์ 2560

Next post > บทบาทของการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย ในการตัดสินใจเชิงนโยบาย

< Previous post ผู้ป่วย 30 บาทใช้เครื่อง hyperbaric oxygen chamber ได้ไหม ทำอะไรได้บ้าง

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ