logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ภาวะทุพโภชนาการมีส่วนทำให้ผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลทรุดหรือเสียชีวิตได้

ผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลหากมีภาวะทุพโภชนาการร่วมด้วยแล้ว จะทำให้ประสิทธิภาพของการรักษาโรคไม่ดี ผู้ป่วยหนักมีโอกาสเสียชีวิตและมีผลต่อค่ารักษาที่เพิ่มขึ้น

ผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลหากมีภาวะทุพโภชนาการร่วมด้วยแล้ว จะทำให้ประสิทธิภาพของการรักษาโรคไม่ดี ผู้ป่วยหนักมีโอกาสเสียชีวิตและมีผลต่อค่ารักษาที่เพิ่มขึ้น
ปัญหาภาวะทุพโภชนา มี 4 กลุ่ม ได้แก่
มาราสมัส (Marasmus) ภาวะที่ขาดทั้งโปรตีนและพลังงาน พบมากในประเทศที่ยากจนขาดแคลนอาหาร

ควาชิออร์กอร์ (Kwashiorkor) ภาวะขาดโปรตีนแต่ได้รับพลังงานจากอาหารที่ไม่ใช่โปรตีนทดแทนพอต่อการรับมือกับเจ็บป่วย อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยจะมีอาการบวมทั้งตัวจากภาวะไข่ขาวในเลือดต่ำ
Protein-calorie malnutrition (PCM) เป็นภาวะที่ร่างกายได้รับพลังงานและโปรตีนไม่สมดุลกับความต้องการ ทำให้ไขมันในร่างกายลดลงเรื่อย ๆ จนกล้ามเนื้อฝ่อลีบ
ภาวะอ้วน ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ซึ่งพบมากในผู้ป่วยสูงอายุ

 

ภาวะอ้วน ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ซึ่งพบมากในผู้ป่วยสูงอายุ

 

nutrition

การศึกษาในหลายประเทศพบว่า ภาวะทุพโภชนาการของผู้ป่วยที่นอนในโรงพยาบาลมักส่งผลให้ผู้ป่วยต้องนอนในโรงพยาบาลนานขึ้นประมาณ 1 สัปดาห์ ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับผู้ป่วยโรคเดียวกันที่มีภาวะโภชนาการปกติ และทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5 เป็น 12 ทั้งที่ภาวะโภชนาการของผู้ป่วยมีความสำคัญ แต่ระบบบริการปัจจุบันกลับมองข้ามไป นอกจากนี้ประเทศไทยมีเครื่องมือสำหรับการคัดกรองและประเมินภาวะทุพโภชนาการที่หลากหลายเกินไปจนไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้การวินิจฉัยผู้ป่วยไม่เป็นไปในทางเดียวกัน อยากทราบว่าการแก้ปัญหาทำได้อย่างไร ติดตามต่อตอนต่อไป

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.hitap.net/documents/167693

17 กุมภาพันธ์ 2560

Next post > ผู้ป่วย 30 บาทใช้เครื่อง hyperbaric oxygen chamber ได้ไหม ทำอะไรได้บ้าง

< Previous post เครื่องช่วยฟัง เบิกได้ฟรีมานานแล้ว แต่คนไม่รู้

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ