“MIDAS Medical Innovation Hackathon 2025” เวทีขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ สู่สิทธิประโยชน์ของคนไทย

คนในครอบครัวของคุณที่ป่วยเป็นเบาหวานชอบคุมอาหารอย่างเข้มงวด 3-7 วัน ก่อนคุณหมอนัดตรวจติดตามโรคเบาหวานหรือไม่ ถ้ามีพฤติกรรมแบบนี้บอกท่านได้เลยว่าเสียเวลาเปล่า
ตรวจติดตามน้ำตาลในเลือดวิธีไหนดี
การตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดในปัจจุบันที่น่าเชื่อถือที่สุดคือวิธี การตรวจวัดระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดหรือ (HbA10) เนื่องจากเป็นการวัดระดับน้ำตาลที่สะสมเป็นเวลา 3 เดือน และเป็นวิธีที่ต่างประเทศให้การยอมรับในการวินิจฉัยโรคเบาหวาน ส่วนในประเทศไทนมีการบรรจุการตรวจวัดระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในสถานพยาบาลบางแห่งด้วย
วิธีอื่นก็ใช้ได้ แต่…
การตรวจโรคเบาหวานที่ใช้ในปัจจุบันมีหลากหลากวิธี วิธีที่สะดวกและง่าย สามารถหาได้ทั่วไปตามร้านขายยา คือการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง (SMBG) คือการเจาะเลือดที่บริเวณปลายนิ้วและทราบผลได้ทันที ทว่าการตรวจแบบนี้สามารถเกิดผลที่ผิดพลาดได้ ซึ่งวิธีมาตรฐานที่ใช้กันในปัจจุบันตามสถานพยาบาลต่าง ๆ คือการตรวจระดับน้ำตาลโดยการเจาะเลือด ภายหลังจากการงดอาหาร จำเป็น 8 ชม. ( FPG) โดยใช้เกณฑ์ระดับน้ำตาลในเลือดมีค่า มากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dl) แต่ระดับน้ำตาลในเลือดที่เจาะภายหลังการงดอาหารนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับการควบคุมอาหารเมื่อเวลาใกล้เจาะเลือด
รู้แบบนี้แล้ว เลิกทำดีกว่า
การโกหกตัวเองโดยการการงดแป้ง อาหารหวาน ๆ ช่วงก่อนตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ก่อนการตรวจประเภทนี้ อาจส่งผลร้ายต่อท่าน เนื่องจากเป็นการสร้างความมั่นใจผิด ๆ ทำให้การตรวจคัดกรองนั้นไม่มีประโยชน์เลย
ถ้าท่านไม่พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตของท่าน โดยการทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ