logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ทำไมต้องใช้ ม44 ปลดล็อก อย.

 

ปัญหาหยุ่งเหยิงภายใน อย. มีมากแค่ไหน ทำไม่ต้องใช้ ม.44 จัดการแก้ไข แล้วกฎหมายจะช่วยปลดล็อกการทำงานได้อย่างไร

อย. ติดล็อกอะไรมีผลอย่างไรกับผู้บริโภค

อย. เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งมานานกว่า 40 ปี มีหน้าที่ตรวจสอบและขึ้นทะเบียน 8 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1. ยา 2.ยาเสพติด 3. สารระเหย 4. เครื่องมือแพทย์ 5. อาหาร 6. เครื่องสำอาง 7. วัตถุอันตราย 8. การควบคุมการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย ทว่าในอดีตผลิตภัณฑ์ที่มายื่นขอขึ้นทะเบียนยังมีน้อย อีกทั้งผลิตภัณฑ์ ยา อาหาร เครื่องสำอาง ก็มีเอกสารที่ต้องทบทวนในการพิจารณาไม่ยากนักเมื่อเทียบกับปัจจุบันที่มีจำนวนผู้มายื่นขอจดทะเบียนเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว เจ้าหน้าที่ทำงานไม่ทันและไม่สามารถจ้างผู้เชี่ยวชาญจากแหล่งต่าง ๆ มาประเมินผลิตภัณฑ์ได้ จึงเกิดเป็นปัญหาติดล็อกของ อย. นายแพทย์วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการอย. กล่าวว่า “ ปัญหาดังกล่าวเหมือนคอขวด 3 ประการ ว่าด้วย อัตรากำลังคนไม่พอ อัตราค่าตอบแทนไม่สูงพอ และแหล่งเงินที่ใช้มีไม่เพียงพอ ทำให้ให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคเดือดร้อน เพราะ อย. ทำงานช้าในกระบวนการพิจารณาใบอนุญาต อีกทั้งกระบวนการพิจารณาต้องอาศัยเกณฑ์และการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญในการยืนยันว่า ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคก่อน จึงไม่สามารถออกใบอนุญาตให้รวดเร็วตามความต้องการของผู้ประกอบการได้ทุกรายทันเวลา”

จากผลการวิจัยของ HITAP เข้าไปพัฒนาข้อเสนอการทำงานใน อย. ภายใต้ โครงการพัฒนาข้อเสนอเกี่ยวกับระบบและโครงสร้างการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศไทยในอนาคต พบว่า ข้อจำกัดและปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นใน อย. ได้แก่ กำลังคนไม่เพียงพอ กฎหมายล้าสมัย กฎระเบียบในระบบราชการ งบประมาณไม่เพียงพอ

fda pic blog

จากการจัดประชุมระดมสมองผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คณะผู้วิจัยเสนอแนวทางในการแก้ไชปัญหา 4 ทางเลือกซึ่งแต่ละทางเลือกมีความยากง่ายในการปฏิบัติแตกต่างกัน และส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาในระดับที่ต่างกัน

Fda pic blog policy

หากปัญหาเหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข คาดว่าในอนาคตคนไทยจำนวนมากจะเสียชีวิต หรือเจ็บป่วยจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ด้อยคุณภาพและเป็นอันตรายต่อชีวิต อีกทั้งยังทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นใน อย. และประเทศไทยจะต้องสูญเสียตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์ให้กับคู่แข่งในอาเซียน

ม. 44 จะมาช่วยปลดล็อกอะไรบ้าง

1. อัตราบุคลากรไม่พอ ทำให้กระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพเกิดความล่าช้า
ม.44 ขยายอำนาจให้สามารถทำการจ้างบุคคลภายนอก ในรูปแบบของบุคคล ปัจเจกบุคคล คณะบุคคลทั้งในประเทศและต่างประเทศได้
2. อัตราตอบแทนไม่สูงพอ ส่งผลให้ขาดผู้เชี่ยวชาญที่มีความชำนาญในการทบทวนเอกสาร
ม.44 ให้ อย. สามารถเพิ่มอัตราค่าตอบแทนตามความสามารถ ความยาก ง่าย ในการตรวจเอกสารวิชาการ ประกอบกับการทำการตกลงกัยผู้ประกอบการถึงค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการยินดีจ่ายเพิ่ม ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์เป็นเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ ต้องอาศัยการจ้างผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศในการพิจารณา
3. เงินงบประมาณที่ได้ไม่เพียงพอ ซึ่งสามารถใช้ได้แต่งบประมาณที่ถูกตั้งไว้ตามระเบียบ
ม.44 ให้ อย. สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ เพื่อมาชดเชยค่าตอบแทนผู้เชี่ยวชาญที่ทาง อย. จ้าง และสามารถจัดเก็บเงินไว้ได้เพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการในหน่วยงาน
เมื่อมีกฎหมายมาช่วยกำกับการทำงานให้มีประสิทธิภาพจะทำให้ การบริหารจัดการภายใน อย. มีการดำเนินงานอย่างเป็นอิสระและคล่องตัวในการบริหารงานด้านบุคลากรและงบประมาณ สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เป็นธรรมและตรวจสอบได้ อีกทั้งสามารถนำรายได้มาพัฒนาองค์กรและบุคลากรได้เอง ท่านสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โครงการพัฒนาข้อเสนอเกี่ยวกับระบบและโครงสร้างการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศไทยในอนาคต

สามารถอ่านรายงานวิจัยได้ที่ https://www.hitap.net/research/82343 หรืออ่าน policy brief อนาคต อย. อนาคตผู้บริโภคไทย

10 กุมภาพันธ์ 2560

Next post > อดอาหารหลอกหมอวันเดียวไม่ได้หรอก เพราะเค้าตรวจค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม

< Previous post ทำไมบางประเทศถึงไม่แนะนำการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย PSA

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ