logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
คุณลืมดูแลหัวใจของคุณหรือเปล่า

หัวใจถือเป็นอวัยวะส่วนที่สำคัญที่สุดของร่างกายที่ต้องทำงานควบคู่ไปกับเราตลอดเวลา ในขณะเดียวกันการดำเนินชีวิตแบบของคุณอาจทำให้หัวใจทำงานหนักเกินความจำเป็นจนนำไปสู่โรค ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยในลำดับต้น ๆ

ปัจจุบันยังไม่มีการคัดกรองโรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดโดยตรง จึงเกิดแนวคิดเรื่องการตรวจสุขภาพ เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงของโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีทั้งปัจจัยที่ปรับเปลี่ยนได้ กับปัจจัยที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ โดยมีการประเมินความเสี่ยงโดยรวมที่เรียกว่า global risk score เป็นเครื่องมือช่วยประเมินปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยพร้อม ๆ กัน ว่าเรามีโอกาสเป็นโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดมากน้อยเพียงใด

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่

  • ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับไม่ได้ เช่น อายุ ประวัติครอบครัว และเชื้อชาติ

  • ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับได้ เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันชนิดโคเลสเตอรอลรงมสูง ระดับไขมันชนิดเอชดีแอล (ไขมันดี) ต่ำ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง โรคอ้วน และการสูบบุหรี่ ทั้งนี้การเป็นโรคร่วมดังต่อไปนี้ ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้เช่นกัน ได้แก่ โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Fibrillation โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายโต

นอกจากนี้ คุณสามารถประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดด้วยการ โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อทดสอบอายุหัวใจของคุณ โดยการกรอกข้อมูล เครื่องจะคำนวณอายุหัวใจให้อัตโนมัติ

Capture 1

หากคุณได้ผลว่า หัวใจมีอายุมากกว่าอายุจริง แปลว่า คุณมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือด ยิ่งอายุมากกว่าอายุหัวใจของคุณเท่าไร ก็มีความเสี่ยงมากเท่านั้น จึงควรปรับพฤติกรรม ตามคำแนะนำด้วยการบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และเลิกสูบบุหรี่ จะทำให้หัวใจของคุณกลับมามีอายุเท่ากับอายุจริง ๆ ได้

การประเมินความเสี่ยง ไม่ได้หมายถึง ถ้าคุณไม่เสี่ยงจะไม่มีโอกาสเป็น และ ไม่ใช่การวินิจฉัยโรค ดังนั้น ถ้าคุณมีอายุมากกว่า 35 ปี ขึ้นไป ควรพบแพทย์เพื่อคัดกรองปัจจัยเสี่ยงเป็นประจำทุกๆ 5 ปี แต่หากคุณมีประวัติครอบครัว ที่เคยเกิดภาวะเจ็บหน้าอก หรือหัวใจวายสามารถตรวจคัดกรองได้ถี่ขึ้น อีกทั้งหากคุณมีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปควรตรวจคัดกรองหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Fibrillation ตามสถานพยาบาล ถ้าคุณพบเห็นคนรอบข้างมีสัญญาณ ได้แก่ เจ็บหน้าอก ใจสั่น เหนื่อยง่ายและมีเหงื่อออก เป็นลมหรือหมดสติ ซี่งเป็นอาการของภาวะหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน ให้โทรแจ้งบริการแพทย์ฉุกเฉิน สายด่วน 1669 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่เสียค่าใช่จ่าย สามารถเข้ามาเช็คอายุหัวใจของคุณได้ที่ http://www.mycheckup.in.th/

27 มกราคม 2560

Next post > ทำไมบางประเทศถึงไม่แนะนำการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย PSA

< Previous post รู้หรือไม่ ผลตรวจสุขภาพไม่ได้แม่นยำเสมอไป

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ