logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ตอนที่ 5 ตรวจอะไรได้ไม่คุ้มเสีย

หลังจากทราบเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพสำหรับโรคที่ควรตรวจคัดกรองกันไปแล้ว ต่อไปนี้จะเป็นการตรวจคัดกรองสุขภาพที่มีการระบุว่ามีโทษมากกว่ามีประโยชน์ เนื่องจากเมื่อตรวจแล้ว อาจเสี่ยงได้รับอันตรายจากการตรวจได้ ดังนี้

การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย Prostate-specific antigen หรือ PSA วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย PSA เป็นการตรวจคัดกรองที่ไม่ช่วยให้จำนวนผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็งชนิดนี้ลดลง เนื่องจากทำให้เกิดการวินิจฉัยและการรักษาเกินความจำเป็น ดังเช่น ผู้ป่วยที่มีค่า PSA ผิดปกติแพทย์มักตรวจชิ้นเนื้อเพิ่มเติม ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ อีกทั้งผลกระทบจากการวินิจฉัยและการรักษาอาจเกิดการหย่อนสมรรถภาพทางเพศหรือกลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้ จึงไม่แนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชาย

อัลตร้าซาวด์ช่องท้องบางส่วน การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบนหรือส่วนล่าง เป็นวิธีการตรวจร่างกายที่พบเห็นในชุดตรวจสุขภาพตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั้งที่ไม่เคยมีหลักฐานให้ใช้วิธีดังกล่าวในการตรวจคัดกรองสุขภาพสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่มีอาการหรือประวัติความเสี่ยงของโรค การอัลตร้าซาวด์ช่องท้องทั้งหมดนั้น ใช้สำหรับการตรวจคัดกรองเพื่อหาภาวะเส้นเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองก่อนที่จะเกิดการแตก ส่วนใหญ่แนะนำให้ผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปเท่านั้นที่ควรเข้ารับการอัลตร้าซาวด์ช่องท้องทั้งหมด ส่วนประชากรกลุ่มอื่น ๆ ไม่แนะนำให้ตรวจคัดกรองดังกล่าว

การเอ็กซเรย์ปอด การอ็กซเรย์ปอด เป็นวิธีหนึ่งที่ยอมรับในการวินิจฉัยวัณโรค เพราะโรคนี้มักเกิดขึ้นที่ปอด จึงทำให้คนทั่วไปคิดว่าการเอ็กซเรย์ปอดเป็นการตรวจคัดกรองวัณโรคที่เหมาะสม ทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีหลักฐานใยืนยันว่าการเอ็กซเรย์ปอดสำหรับคนทั่วไปจะมีประโยชน์ในการตรวจคัดกรองหรือลดความเสี่ยงของวัณโรคได้ อีกทั้ง การเอ็กซเรย์ปอดยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการได้รับรังสีเอ็กซ์แล้วก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายและสูญเสียเงินโดยไม่จำเป็น

การตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของอวัยวะต่างๆ การตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของอวัยวะต่างๆ ถือเป็นการคัดกรองแบบเหวี่ยงแหไม่สามารถระบุได้ว่าต้องการค้นหาความเสี่ยงหรือโรคใดเป็นการตรวจที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อตัวผู้ตรวจเอง แล้วยังอาจเพิ่มโทษจาการได้ผลตรวจที่ผิดพลาด ก่อให้เกิดความมั่นใจแบบผิดๆว่าตนเองไม่เป็นโรคหรือไม่มีความเสี่ยงใด ในทางกลับกันผลที่ได้อาจทำให้ท่านต้องตวจวินิจฉัยเพิ่มเติมและบางครั้งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้

การตรวจหาโรคหืดในผู้ที่ไม่มีอาการ การตรวจหาโรคหืดส่วนมากจะพบในเด็กเล็กที่มีอาการผิดปกติของทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมตีบ หายใจลำบาก มีเสียงหวีด และหอบเหนื่อย ผู้ปกครองควรรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาในระยะต่อไป สำหรับการตรวจหาโรคหืดในผู้ที่ไม่มีอาการ มักจะหาวิธีตรวจร่างกายเพื่อให้เจอโรคแต่เนิ่นๆ แม้การป้องกันและการรักษาโรคก่อนลุกลามเป็นหลักการที่ดีแต่ด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยีที่มีอยู่เป็นเหตุให้ การตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหาโรคหืดในคนทั่วไปจึงเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์และไม่คุ้มค่า

การตรวจค้นหาโรคไตอักเสบ นิ่วในไต การตรวจค้นหาโรคไตอักเสบ นิ่วในไต ด้วยการตรวจปัสสาวะและเลือดนั้นไม่มีประโยชน์สำหรับการตรวจหาโรคทั้งสองในคนปกติ เพราะการตรวจปัสสาวะและเลือด แนะนำเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงอันจะเป็นโรคไตอักเสบ อีกกลุ่มหนึ่งที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำซ้อนที่ซื้อยาทานเอง ผู้ที่กินยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (ยาบรรเทาอาการปาดข้อและกล้ามเนื้อ) หากท่านเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงก็ควรหยุดพฤติกรรมเสี่ยงและรีบไปพบแพทย์

การตรวจคัดกรองสุขภาพร่างกาย มีทั้งการตรวจที่เป็นประโยชน์ และการตรวจที่ให้โทษ จึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจเลือกตรวจพราะการตรวจบางโรคอาจนำมาซึ่งการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมทำให้เกิดความสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น แถมผลเสียกับร่างกายของท่านได้

 

สามารถอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ “หนังสือเช็คระยะสุขภาพ ตรวจดีได้ ตรวจร้ายเสีย”

https://www.hitap.net/documents/18970

https://www.hitap.net/research/17573

www.mycheckup.in.th

15 พฤศจิกายน 2559

Next post > อ่านผลตรวจสุขภาพประจำปีอย่างไร ให้เกิดประโยชน์

< Previous post ตอนที่ 4 ตรวจร่างกายเท่าที่จำเป็นสำหรับผู้ชาย

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ