logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ใครเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม

เดือนสิงหาคม เดือนแห่งวันแม่นี้ เราก็มีเรื่องสุขภาพใกล้ตัวผู้หญิงมาฝากกันค่ะ เป็นที่ทราบกันดีกว่ามะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของหญิงไทย การหมั่นดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง และการตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะมีโอกาสหายขาดมากขึ้น เมื่อเทียบกับการตรวจพบก้อนมะเร็งที่มีขนาดใหญ่ หรือกระจายไปยังส่วนอื่น

 

ใครเสี่ยง มะเร็งเต้านม
ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมีหลายปัจจัย แต่มีผลงานวิจัยในประเทศไทยระบุว่า ผู้หญิงอายุเกิน 60 ปี เคยทานยาคุมกำเนิดหรือกำลังใช้อยู่ มีน้ำหนักตัว BMI เกิน 24 โดยประมาณ นั้นมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม

อาการบ่งบอกการเป็นมะเร็งเต้านม  มีก้อนในเต้านมหรือใต้วงแขน เต้านมมีผื่น แดง ร้อน ประกอบกับมีผื่นขรุขระคล้ายผิวส้ม ส่วนบริเวณหัวนมมีลักษณะบุ๋ม มีน้ำเหลืองไหลหรือซึมออกมา

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในปัจจุบัน มีอยู่ 3 วิธี

1. การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง

2. การตรวจเต้านมโดยแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรม

3. การตรวจด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านม เมมโมแกรม (mammography :MM)

ข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบพบว่า การตรวจเต้านมด้วยตัวเองหรือการตรวจเต้านมโดยแพทย์ ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่มาสนับสนุนได้ว่าสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมได้ อย่างไรก็ดี วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมจะทำให้ผู้หญิงมีความตระหนักถึงอาการของมะเร็งเต้านมมากขึ้น ทั้งนี้แนวทางการคัดกรองที่มีหลักฐานยืนยันว่าสามารถลดอัตราการตายจากมะเร็งเต้านมได้ คือวิธีการตรวจด้วยเครื่องเมมโมแกรม เหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีปัจจัยความเสี่ยงสูง หรือมีอายุมากกว่า 40-55 ปี ตรวจทุก 1-2 ปี

สามารถติดตามรายละเอียดโครงการได้ที่ www.hitap.net/research/17542

16 สิงหาคม 2559

Next post > ตอนที่ 1 ตรวจสุขภาพประจำปี ที่แท้จริงหมายถึงอะไร ตรวจไปเพื่ออะไร

< Previous post เมื่อการสนับสนุนเครื่องช่วยฟัง ไม่ใช่แค่ “ให้” เครื่อง

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ